การเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วนผสม ระบบจัดสรรปันส่วนผสม ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เลือกตั้ง เลือกตั้ง62 ใช้สิทธิเลือกตั้ง

ไขข้อสงสัย! การคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตีลิสต์

การเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วนผสม ขณะนี้ตัวเลขเกี่ยวกับการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ได้ออกมาให้เราได้เห็น ส่งผลให้เรายังไม่สามารถทราบได้ว่า พรรคการเมืองพรรคใดจะได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตีลิสต์ไปกี่ที่นั่ง แม้จะยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน แต่ก็มีสื่อหลายสำนักคาดการเกี่ยวกับจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคน่าจะได้ไปมานำเสนอให้เราได้เห็นกันบ้าง และมีผู้คนจำนวนไม่น้อยสงสัยว่า เหตุใดพรรคการเมืองพรรคใหญ่อย่าง พรรคเพื่อไทยถึงไม่ได้ปาร์ตีลิสต์เลย เรามาดูกันว่า…

Home / NEWS / ไขข้อสงสัย! การคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตีลิสต์

การเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วนผสม

ขณะนี้ตัวเลขเกี่ยวกับการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ได้ออกมาให้เราได้เห็น ส่งผลให้เรายังไม่สามารถทราบได้ว่า พรรคการเมืองพรรคใดจะได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตีลิสต์ไปกี่ที่นั่ง แม้จะยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน

แต่ก็มีสื่อหลายสำนักคาดการเกี่ยวกับจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคน่าจะได้ไปมานำเสนอให้เราได้เห็นกันบ้าง และมีผู้คนจำนวนไม่น้อยสงสัยว่า เหตุใดพรรคการเมืองพรรคใหญ่อย่าง พรรคเพื่อไทยถึงไม่ได้ปาร์ตีลิสต์เลย เรามาดูกันว่า ระบบการคิดหรือการสรรหาสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นยังไง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีกี่ประเภท ประเภทละกี่คน

รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้การเลือกตั้งแบบใหม่ใช้ระบบที่เรียกว่า ‘ระบบจัดสรรปันส่วนผสม’ (Mixed Member Apportionment System: MMA) มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 ประเภท ได้แก่ สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 150 คน รวม 500 คน

I.

ส.ส. แบบแบ่งเขต

ส.ส. ที่มาจากเขตเลือกตั้งโดยการแบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศออกเป็น 350 เขต ในแต่ละเขตเลือกตั้งมี ส.ส. ได้ 1 คน ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด และมีคะแนนสูงกว่าคะแนนเสียงไม่เลือกผู้ใด (Vote No) จะเป็นผู้ได้รับเลือกเป็น ส.ส. สำหรับกรณีไม่มีใครได้คะแนนมากกว่าคะแนน Vote No ให้จัดเลือกตั้งในเขตนั้นใหม่ ส่วนกรณีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้จับสลากต่อหน้า กกต. ประจำเขตเลือกตั้ง

*ทั้งนี้ มิให้นับคะแนนที่ผู้สมัครฯ เดิมแต่ละคนได้รับไปใช้ในการคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ โดยผู้สมัครฯ เดิมทุกรายไม่มีสิทธิสมัครฯ ในการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นใหม่นั้น

II

ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตีลิสต์ (party list)

จำนวน  มีจำนวน 150 คน เป็นบัญชีเดียวกันทั้งประเทศ โดยพรรคการเมืองจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อพรรคละหนึ่งบัญชี ซึ่งรายชื่อไม่ซ้ำกับรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ส่งให้กรรมการการเลือกตั้ง ก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

การลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวกันกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยหนึ่งคะแนนที่เราเลือกผู้สมัครในเขตของตัวเอง จะถูกนับเป็นหนึ่งคะแนนในการคิดที่นั่ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ให้กับพรรคการเมืองที่ผู้สมัครคนนั้นๆ สังกัดอยู่

การคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตีลิสต์ (party list)

(1) นำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตหารด้วย 500 (ซึ่งเป็นจำนวนทั้งหมดของ ส.ส.ทั้งสภา)

(2) นำผลลัพธ์ตาม (1) ไปหารจำนวนคะแนนรวมทั้งประเทศ ของแต่ละพรรคการเมืองที่ได้รับจากการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตทุกเขต จำนวนที่ได้รับจะเป็นจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองจะมีได้

(3) นำจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองจะมีได้ ลบด้วยจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นได้รับ ผลลัพธ์คือจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับ

(4) ถ้าพรรคการเมืองใดได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต เท่ากับหรือสูงกว่าจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองนั้นจะมีได้ ให้พรรคนั้นมี ส.ส.ตามจำนวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และไม่มีสิทธิได้รับการจัดสรร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ

และให้นำจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งต่ำกว่าจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองนั้นจะมีได้ตามอัตราส่วน แต่ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดมี ส.ส.เกินจำนวนที่จะมีได้

ตัวอย่างการคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตีลิสต์)

– ขั้นตอนที่ 1 หลังจากเราได้ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงไปแล้ว หีบจะถูกปิดและเปลี่ยนเป็นการนับคะแนน จากนั้นจะประกาศชื่อผู้ชนะ ส.ส.ในแต่ละเขต (เรียกว่า ส.ส.เขต)

– ขั้นตอนที่ 2 เอาคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต หารด้วย ส.ส.ทั้งสภาฯ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 500 คน จะได้ผลคะแนนโดยประมาณต่อ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 1 คน

ยกตัวอย่างเช่น จำนวนคะแนนรวมทั้งประเทศของทุกพรรคการเมือง หรือบัตรดีมีจำนวน 40,000,000 เสียง นำ 40,000,000 ÷ 500 = 80,000 และ 80,000 นี้ หมายถึง ส.ส. ในพรรคนั้นๆ จะต้องมีฐานเสียง 80,000 เสียง ถึงจะมีสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของ ส.ส.บัญชีรายชื่อหรือปาร์ตีลิสต์

– ขั้นตอน 3 เอา 80,000 มาหารกับคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคได้มา เพื่อคิดโควต้าว่า ส.ส. แต่ละพรรคจะได้ที่นั่งในสภาฯ กี่ที่นั่งเช่นพรรค ก ได้คะแนนรวมทั่วประเทศ 20,000,000 เมื่อหาร 80,000 จะได้ 250 ที่นั่ง (หรือที่เขาเรียกกันว่า ส.ส.ที่แต่ละพรรคพึงมี) ฉะนั้นพรรค ก จะได้โควตา ในสภาฯ 250 ที่นั่ง

– ขั้นตอน 4 กรณีที่พรรคการเมืองมี ส.ส.เขต ต้องเอาโควตา 250 ที่นั่ง ลบจำนวน ส.ส.เขต ที่พรรค ก ชนะมา เช่น พรรค ก มี ส.ส.เขต 100 คน ก็นำ 250 – 100  = 150

ดังนั้น พรรค ก จะเหลือ จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (party list) อยู่ที่ 150 ที่นั่ง และกรณีพรรคที่ไม่ชนะ ส.ส.เขตเลย ก็จะได้จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อตามจริงจาก ส.ส.พึงมี

  • แต่ละพรรคจะมีการยื่น ส.ส. บัญชีรายชื่อกันอยู่แล้ว โดยมีการเรียงลำดับ ซึ่งจากกรณีตัวอย่างของพรรค ก บัญชีรายชื่อ 150 คนแรกของพรรค จะมีสิทธิ์ได้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตีลิสต์

* ทั้งนี้ แม้พรรคเมืองที่เป็นพรรคใหญ่ๆ พรรคที่มีมานาน อาจจะไม่ได้จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อหรือปาร์ตีลิสต์ก็ได้ หากโควตาของพรรคหมดไปตั้งแต่ ส.ส.เขต

ยกตัวอย่างเช่น พรรคขนาดใหญ่ พรรค ข มี ส.ส.เขตที่ชนะจำนวน 180 คน หรือมี ส.ส. เขต 180 คน คะแนน ส.ส. รวมทั้งประเทศของพรรค ข ได้มากถึง 12,500,000 คะแนน หาร 80,000 = 156 คน  156 คนนี้เป็นโควตา ส.ส. พึงจะมีของพรรค ข  

เมื่อนำ ส.ส. พึงจะมี (156 คน) ลบด้วย ส.ส. เขต (180 คน) = – 24 และนี่หมายความว่าพรรค ข นี้จะไม่ได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อเลยแม้แต่คนเดียว และได้ที่นั่งเพียง ส.ส.เขตเท่านั้น

นอกจากนี้ กรณีของพรรค ข นั้น พรรคไม่ได้รับสิทธิ ส.ส. บัญชีรายชื่อ แต่ในส่วนของโควตาที่เกินมา ตามสูตรจะนำจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งต่ำกว่าจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองนั้นจะมีได้ตามอัตราส่วน แต่ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดมี ส.ส.เกินจำนวนที่จะมีได้

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก iLaw