ข่าวสดวันนี้ จุฑามาศ ศิริวรรณ ผู้ว่า ททท.

ย้อนไทม์ไลน์ คดี ‘จุฑามาศ’ อดีตผู้ว่า ททท. ติดสินบนข้ามชาติ

จากกรณีที่ นางจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ นางสาวจิตติโสภา ศิริวรรณ บุตรสาว เป็นผู้ต้องหาคดีรับสินบนจำนวน 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ กว่า 60…

Home / NEWS / ย้อนไทม์ไลน์ คดี ‘จุฑามาศ’ อดีตผู้ว่า ททท. ติดสินบนข้ามชาติ

จากกรณีที่ นางจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ นางสาวจิตติโสภา ศิริวรรณ บุตรสาว เป็นผู้ต้องหาคดีรับสินบนจำนวน 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ กว่า 60 ล้านบาท จากนักธุรกิจชาวสหรัฐฯ ขอจัดเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ กลายเป็นคดีอื้อฉาวข้ามชาติที่ได้รับความสนใจอย่างมาก และใช้เวลาตัดสินลากยาวนานหลายปี ซึ่งล่าสุดวานนี้ทั้งคู่ถูกศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ตัดสินจำคุก 50 ปี

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2545 ต้นตอทำให้เกิดคดีดัง ขณะนั้น นางจุฑามาศ นั่งตำแหน่งผู้ว่า ททท. ซึ่งได้ทำการฮั้วประมูลและรับสินบน จำนวน 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ กว่า 60 ล้านบาท จากนายเจอรัลด์ กรีน และนางแพทริเซีย กรีน สองสามีภรรยาชาวสหรัฐฯ เพื่อให้ได้สิทธิ์จัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ (Bangkok film festival) ในปี 2545-2550

ในปี 2553 ศาลสหรัฐและเอฟบีไอ ได้สืบทราบเรื่องดังกล่าว ตัดสินให้จำคุกนายเจอรัลด์ และนางแพทริเซีย กรีน ชาวสหรัฐ คนละ 6 เดือน กักบริเวณอีก 6 เดือน พร้อมปรับเงิน 2.5 แสนเหรียญสหรัฐ หรือราว 8 ล้านบาท ข้อหาให้สินบนกับนางจุฑามาศ โดยมีการเผยว่าทั้งคู่ทำรายได้กว่า 13.5 ล้านดอลลาร์ ราว 429 ล้านบาท

จากการจ่ายฮั้วประมูล 1.8 ล้านดอลลาร์ จนได้จัดเทศกาลภาพยนตร์ครั้งนี้ นอกจากนี้ ทางการสหรัฐยังตั้งข้อกล่าวหากับนางจุฑามาศ และบุตรสาว ฐานฟอกเงิน เนื่องจากพบว่าสองสามีชาวสหรัฐได้จัดตั้งบริษัทบังหน้า เพื่อจ่ายเงินสินบนให้นางจุฑามาศ

โดยโอนเงินผ่านบัญชีของบุตรสาวนางจุฑามาศ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงนำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณา จนชี้มูลความผิดอาญากับนางจุฑามาศ เมื่อปี 2554 และส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดส่งฟ้องศาลอาญา

กระทั่งปี 2557 ทางการสหรัฐฯ ได้ตั้งข้อกล่าวหา นางจุฑามาศ กับ น.ส.จิตติโสภา ศิริวรรณ บุตรสาว ฐานฟอกเงิน หลังพบว่า นายเจอรัลด์ และนางแพทริเซีย ได้จัดตั้งบริษัทบังหน้า เพื่อจ่ายเงินค่าฮั้วประมูลให้นางจุฑามาศ โดยโอนเงินผ่านบัญชี น.ส.จิตติโสภา กับเพื่อนอีกคนหนึ่ง ที่เปิดไว้ในหลายประเทศ

ก่อนที่ ป.ป.ช. จะได้ชี้มูลความผิด นางจุฑามาศและบุตรสาว พร้อมส่งสำนวนและความเห็นให้กับอัยการสูงสุด ลากยาวมาถึงปี 2558 อัยการสูงสุด มีความเห็นสั่งฟ้องนางจุฑามาศและบุตรสาวต่อศาลอาญา ฐานเป็นพนักงานเรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดสำหรับตนเอง เป็นพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

คดีลากยาวยันปี 2560 ศาลอาญา ได้สั่งจำคุกนางจุฑามาศ ในคดีดังกล่าวเป็นเวลา 66 ปี ส่วน น.ส.จิตติโสภา ถูกจำคุก 44 ปี พร้อมสั่งริบทรัพย์สินซึ่งเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดรวมกว่า 62 ล้านบาท และได้ประสานสหรัฐฯ อายัดเงินที่ นางจุฑามาศ ฝากไว้ในหลายประเทศกลับมาสู่ไทย ให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์

จนได้ที่ยุติสิ้นสุดคดีเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2562 เมื่อศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้วเห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้นบางส่วนในประเด็นที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 บุตรสาว มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียกรับเงินฯ จึงพิพากษาแก้โทษจำคุก คงเหลือจำคุก 40 ปี ส่วนโทษจำคุกจำเลยที่ 1 นางจุฑามาศ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาชั้นต้น จำคุก 66 ปี แต่นับโทษคงจำคุกสูงสุด 50 ปี

ส่วนประเด็นการริบทรัพย์โดยมิชอบนั้น ศาลเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น เนื่องจากคดีนี้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลริบทรัพย์ อีกทั้งเป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 ที่กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบทรัพย์คดีทุจริตได้ไม่ว่าโจทก์จะร้องขอหรือไม่ จะมีผลบังคับใช้ ดังนั้นจึงให้ยึดถือตามกฎหมายเดิม ยกคำสั่งที่ให้ริบทรัพย์เงินจำนวน 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ