ข่าวจังหวัดเชียงใหม่ ข่าวสดวันนี้ อุโมงค์ส่งน้ำ แม่น้ำปิง

เปิดภาพ อุโมงค์ส่งน้ำ แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำลุ่มน้ำปิง

กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำเป็นต้องดำเนินการโครงการผันน้ำจากแม่แตง (ปตร.แม่ตะมาน) ไปสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล และอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนแม่กวง ได้เฉลี่ยอีกปีละประมาณ 160 ล้าน ลบ.ม. ตามโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ณ บริเวณบ้านป่าเลา ต.แม่หอพระ…

Home / NEWS / เปิดภาพ อุโมงค์ส่งน้ำ แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำลุ่มน้ำปิง

ประเด็นน่าสนใจ

  • แม่น้ำปิง เป็นแม่น้ำที่ไหลมาจากทางภาคเหนือ ก่อนจะมารวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ปัจจุบันได้เผชิญกับภาวะแห้งแล้งจนบางช่วงเหลือเพียงตะกอนดิน ไร้ซึ่งธารน้ำไหลผ่าน

กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำเป็นต้องดำเนินการโครงการผันน้ำจากแม่แตง (ปตร.แม่ตะมาน) ไปสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล และอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนแม่กวง ได้เฉลี่ยอีกปีละประมาณ 160 ล้าน ลบ.ม. ตามโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ณ บริเวณบ้านป่าเลา ต.แม่หอพระ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำแม่กวง ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

สภาพแม่น้ำปิงในปัจจุบัน

นายจิตะพล รอดพลอย ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2528 งานก่อสร้างเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล และระบบส่งน้ำชลประทาน ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ งบประมาณรวมทั้งสิ้น 1,140 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่รับน้ำฝน 1,281 ตร.กม. มีความจุอ่างเก็บน้ำ 265 ล้าน ลบ.ม. ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานรวม 188,000 ไร่

และปี พ.ศ.2536 งานก่อสร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธารา และระบบส่งน้ำชลประทาน ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 4,863.80 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่รับน้ำฝน 569 ตร.กม. มีความจุอ่างเก็บน้ำ 263 ล้าน ลบ.ม. ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานรวม 175,000 ไร่ จากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล มีปริมาณน้ำเพียงพอในการรองรับความต้องการของน้ำด้านท้ายเขื่อน

โดยมีปริมาณน้ำบางส่วนที่ต้องระบายออกจากอ่างเก็บน้ำ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ประกอบกับอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธาราซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวในลุ่มแม่น้ำแม่กวงและพื้นที่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดลำพูน

มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม และการขยายตัวของชุมชน ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่โครงการแม่กวง และพื้นที่โดยรอบ ส่งผลกระทบต่อการใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรและการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างมาก

เป็นเหตุให้มีความต้องการใช้น้ำเป็นปริมาณสูงกว่าปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บ น้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการน้ำให้มี ประสิทธิภาพเป็นธรรมและยั่งยืน

นายจิตะพล กล่าวอีกว่าส่วนความก้าวหน้าของงานจ้างก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำ และอาคารประกอบ พร้อมส่วนประกอบอื่น อุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง – แม่งัด สัญญาที่ 1 รับผิดชอบโดยบริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด งานอุโมงค์เข้า-ออก หมายเลข 1 ความยาว 974.023 เมตร

งานอุโมงค์เข้า-ออก หมายเลข 2 ความยาว 252.95 เมตร และ อุโมงค์ส่งน้ำ ความยาว 13,600 เมตร ขณะนี้ความก้าวหน้าของการขุดเจาะอุโมงค์ส่งน้ำทั้งหมดสามารถดำเนินการไปได้แล้วประมาณ 4,565.040 เมตร คิดเป็นร้อยละ 33.566

ความก้าวหน้าของงานจ้างก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำและอาคารประกอบ พร้อมส่วนประกอบอื่น อุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง-แม่งัดสัญญาที่ 2 รับผิดชอบโดยบริษัทสยามพันธุ์วัฒนา จำกัด (มหาชน) ขณะนี้ความก้าวหน้าของการขุดเจาะอุโมงค์ส่งนํ้าทั้งหมดความยาว 12,024,000 เมตร สามารถดำเนินการไปได้แล้วประมาณ 1,564,124 เมตร คิดเป็นร้อยละ 13.008

ความก้าวหน้าของงานจ้างก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำและอาคารประกอบ พร้อมส่วนประกอบอื่น อุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด – แม่กวง สัญญาที่ 1 รับผิดชอบโดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) งานเจาะอุโมงค์ด้วยวิธีการเจาะและระเบิด (Drilling & Blasting : D&B) ความยาวทั้งหมด 12,500 เมตร

ขณะนี้ความก้าวหน้าของการขุดเจาะอุโมงค์ส่งน้ำทั้งหมดสามารถดำเนินการไปได้แล้วประมาณ 1,789.500 เมตร คิดเป็น ร้อยละ 14.316 สำหรับความก้าวหน้าของงานจ้างก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำและอาคารประกอบ พร้อมส่วนประกอบอื่น อุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด – แม่กวง

สัญญาที่ 2 รับผิดชอบโดยบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) งานเจาะอุโมงค์ด้วยวิธี D&B ความยาว 17.896 เมตร และ งานเจาะอุโมงค์ด้วยเครื่องเจาะ Tunnel Boing Machine ความยาว 10,454.787 เมตร ความยาวรวมทั้งหมด 10,472.683 เมตร

และขณะนี้ความก้าวหน้า ของการขุดเจาะอุโมงค์ส่งนํ้าทั้งหมด สามารถดำเนินการไปได้แล้วประมาณ 6,715.124 เมตร คิดเป็นร้อยละ 64.120 นายจิตะพล กล่าว.