เหมืองทองคำ

กพร. แจงกรณีเหมืองทองคำ ยังไม่มีการตัดสินชี้ขาด ย้ำไม่มีการยึดที่ดินชาวบ้านให้นายทุนทำเหมือง

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงกรณีข้อพิพาทเหมืองทองคำ อยู่ระหว่างต่อสู้ในชั้นอนุญาโตตุลาการ ยันไม่มีล้มมวย ย้ำชัดไม่มีการยึดที่ดินชาวบ้านให้นายทุนทำเหมือง นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ชี้แจงว่า ตามที่มีความพยายามสร้างประเด็นในสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับกรณีข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด  ล่าสุดมีประเด็นในสื่อสังคมออนไลน์อีกครั้งว่า…

Home / NEWS / กพร. แจงกรณีเหมืองทองคำ ยังไม่มีการตัดสินชี้ขาด ย้ำไม่มีการยึดที่ดินชาวบ้านให้นายทุนทำเหมือง

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงกรณีข้อพิพาทเหมืองทองคำ อยู่ระหว่างต่อสู้ในชั้นอนุญาโตตุลาการ ยันไม่มีล้มมวย ย้ำชัดไม่มีการยึดที่ดินชาวบ้านให้นายทุนทำเหมือง

นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ชี้แจงว่า ตามที่มีความพยายามสร้างประเด็นในสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับกรณีข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด  ล่าสุดมีประเด็นในสื่อสังคมออนไลน์อีกครั้งว่า ส่อแววล้มมวยเรื่องค่าโง่เหมืองทองคำ และมีการไล่ยึดที่ดินทำกินชาวบ้านให้นายทุนทำเหมืองแร่นั้น  ขอย้ำว่า ประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคล  ขณะนี้ ประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด โดยอยู่ระหว่างการต่อสู้ในชั้นอนุญาโตตุลาการ คาดว่าจะรู้ผลการพิจารณาภายใน 2 ปี

ส่วนประเด็นการไล่ยึดที่ดินทำกินชาวบ้านให้นายทุนทำเหมืองแร่ ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน ประเด็นดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินการตามนโยบายทวงคืนผืนป่ากำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านป้องกันและปราบปรามทรัพยากรป่าไม้ ดำเนินมาตรการหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้  สำหรับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทุกชนิดแร่ พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 กำหนดให้การอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ได้เฉพาะในพื้นที่ที่เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองซึ่งเป็นการกำหนดเขตพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการทำเหมืองภายใต้วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรแร่อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยการยื่นขอประทานบัตรในพื้นที่ใดต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน  หรือหากเป็นที่ดินที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานรัฐก็ต้องได้รับอนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์เพื่อการทำเหมืองในพื้นที่นั้น ๆ จากหน่วยงานของรัฐเจ้าของพื้นที่ก่อน