ฝนตก

​นักวิชาการชี้ ปีนี้ไทยเจอภาวะฝนทิ้งช่วง มิ.ย.-ก.ค.

นักวิชาการระบุ ปีนี้ประเทศไทยมีโอกาสเจอภาวะฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนิญโย่ พร้อมเตือนเกษตรกรไม่ควรทำนาปีเนื่องจากปริมาณฝนมีน้อยกว่าปีที่แล้ว รองศาสตราจารย์เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ เปิดเผยถึงสถานการณ์การเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย ว่ามีการคาดการณ์ไป 6 เดือนข้างหน้าด้วยแบบจำลอง 40 กว่าแบบ พบว่าสถานการณ์ของประเทศไทยมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันคือ อิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนิญโญจะทำให้ปริมาณฝนในเดือนพฤษภาคมจะมีปริมาณน้อยกว่าปีที่แล้วร้อยละ10…

Home / NEWS / ​นักวิชาการชี้ ปีนี้ไทยเจอภาวะฝนทิ้งช่วง มิ.ย.-ก.ค.

นักวิชาการระบุ ปีนี้ประเทศไทยมีโอกาสเจอภาวะฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนิญโย่ พร้อมเตือนเกษตรกรไม่ควรทำนาปีเนื่องจากปริมาณฝนมีน้อยกว่าปีที่แล้ว

รองศาสตราจารย์เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ เปิดเผยถึงสถานการณ์การเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย ว่ามีการคาดการณ์ไป 6 เดือนข้างหน้าด้วยแบบจำลอง 40 กว่าแบบ พบว่าสถานการณ์ของประเทศไทยมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันคือ อิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนิญโญจะทำให้ปริมาณฝนในเดือนพฤษภาคมจะมีปริมาณน้อยกว่าปีที่แล้วร้อยละ10 – 20 จากนั้นฝนจะทิ้งช่วงไป 2 เดือนเต็มในเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม จากนั้นฝนจะตกหนักกว่าปกติในช่วงเดือนสิงหาคม และจะเริ่มแผ่วลงอีกในเดือนกันยายนเป็นต้นไป

ในส่วนของโอกาสที่ประเทศไทยจะเจอพายุลูกใหญ่หรือไม่นั้น รองศาสตราจารย์เสรีกล่าวว่า โดยปกติไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าระยะยาวได้ จะรู้ได้เพียง1 – 2 สัปดาห์ก่อนเกิดพายุ แต่ถ้าดูจากเดือนสิงหาคมที่จะมีปริมาณฝนมากกว่าปกติก็สามารถบอกได้คร่าวๆว่าก่อนหน้านั้นอาจจะมีพายุนำ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้ในหลายพื้นที่ เช่น ภาคตะวันออกบริเวณลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรี ภาคตะวันตกในจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์บริเวณบางสะพาน รวมถึงกรุงเทพมหานครที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้

ขณะเดียวกันก็มีความกังวลในส่วนของภาคการเกษตร เนื่องจากที่ผ่านมา เกษตรกรต้องเผชิญปัญหาภัยแล้งมาอย่างยาวนาน ประกอบกับปริมาณฝนในปีนี้น้อยกว่าปกติ แต่จะมีมากในช่วงเดือนสิงหาคมเพียงเดือนเดียว เพราะฉะนั้นภาครัฐจะต้องทำการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ ส่วนเกษตรกรเองอาจต้องประเมินสถานการณ์น้ำด้วยว่าน้ำต้นทุนที่มี มีเท่าไหร่และเพียงพอต่อการทำเกษตรหรือทำนาหรือไม่ โดยพื้นที่ที่มีแนวโน้มขาดแคลนน้ำต่อการเกษตร คือพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันเฉียงเหนือ แต่สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้นในช่วงปลายปี