กล้าพันธุ์อ้อย อ้อยปลอดโรคใบขาว เกษตรกร โรคใบขาว

สกสว. ร่วม ม.เกษตร ส่งมอบกล้าพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาว ให้เกษตรกรเพาะปลูก

สกสว.ร่วมกับคณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ ส่งมอบกล้าพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวที่ผลิตโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แก่ผู้แทน 6 โรงงานเพื่อนำไปแจกจ่ายเกษตรกรในพื้นที่ หวังแก้ไขปัญหาโรคระบาดสำคัญอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมด้วย ผศ.…

Home / NEWS / สกสว. ร่วม ม.เกษตร ส่งมอบกล้าพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาว ให้เกษตรกรเพาะปลูก

สกสว.ร่วมกับคณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ ส่งมอบกล้าพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวที่ผลิตโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แก่ผู้แทน 6 โรงงานเพื่อนำไปแจกจ่ายเกษตรกรในพื้นที่ หวังแก้ไขปัญหาโรคระบาดสำคัญอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมด้วย ผศ. ดร.สุดเขตต์ นาคะเสถียร คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมอบกล้าพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวคือ พันธุ์ขอนแก่น 3 และพันธุ์ LK92-11 จำนวนทั้งสิ้น 100,000 ต้น แก่คณะผู้แทนจากโรงงานน้ำตาลต่าง ๆ รวม 6 โรงงาน เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในพื้นที่

สำหรับกล้าพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อกระจายพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวให้กับเกษตรกร และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอ้อยปลอดโรคใบขาว รวมถึงชี้แจงแนวปฏิบัติของเกษตรกรที่จะรับต้นพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวที่ผลิตได้จากโครงการฯ เพื่อนำไปปลูกในแปลงพันธุ์ขยาย ลดการระบาดของโรคใบขาวในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น

โดย สกสว. ได้บริหารจัดการงานวิจัยกลุ่มเรื่องอ้อยและน้ำตาลตั้งแต่ปี 2556 มีจำนวนโครงการ 166 โครงการ งบประมาณรวม 400 ล้านบาท ซึ่งก่อให้เกิดผลงานวิจัยที่มีศักยภาพและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ เชิงสังคมและชุมชน เชิงนโยบาย รวมถึงเป็นองค์ความรู้ต่อยอดงานวิจัย

โรคใบขาวอ้อยเป็นโรคที่มีความสำคัญอันดับหนึ่งของการผลิตอ้อยในประเทศไทย และมีการระบาดอย่างต่อเนื่องปีละไม่น้อยกว่า 200,000 ไร่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท สาเหตุโรคเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมาซึ่งแพร่กระจายโดยการถ่ายทอดติดไปกับท่อนพันธุ์จากต้นหรือตอที่เป็นโรคใบขาว และสามารถถ่ายทอดเชื้อได้โดยมีแมลงปากดูดพวกเพลี้ยจักจั่นเป็นแมลงพาหะ

คณะนักวิจัยนำโดย ผศ. ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ เริ่มทำการวิจัยตั้งแต่ปี 2559 และการส่งเสริมและติดตามเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวแบบประณีตแนวใหม่สำหรับเกษตรกร จนถึงปัจจุบันได้ส่งมอบต้นพันธุ์เป็นจำนวนทั้งสิ้น 700,000 ต้น