พุทธศาสนิกชน หลั่งไหลทำบุญตักบาตรที่พุทธมณฑลฯ ในวันวิสาขบูชา
วันนี้ (18 พ.ค. 62) ที่ ลานองค์พระประธานพุทธมณฑล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม พุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาพร้อมใจกันนุ่งขาวห่มขาวทำกิจกรรมทางศาสนา โดยร่วมกันทำบุญตักบาตร สวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา พร้อมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2562
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ประกอบพิธี พิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเวียนเทียนประทักษิณรอบองค์พระประธานพุทธมณฑลในเวลา 17.00 น. บริเวณ รอบองค์พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์
ทั้งนี้ วันวิสาขบูชา 2562 ตรงกับวันที่ 18 พ.ค. 62 วันหยุดราชการ ประวัติ หลักธรรม และกิจกรรมการเวียนเทียน อีกทั้งยังมี 3 เหตุการณ์สำคัญคือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า โดยมีหลักอริยสัจ 4 ให้ยึดถือปฏิบัติ ร่วมทำบุญ ตักบาตร หนึ่งในหน้าที่พุทธศาสนิกชนที่พึงกระทำเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบต่อไป
สำหรับ วันวิสาขบูชา 2562 ตรงกับวันที่ 18 พฤษภาคม (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) ประวัติความเป็นมาในไทยเริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. 420 ได้รับอิทธิพลมาจากลังกาโดยมีพระสงฆ์ที่เดินทางมาเผยแพร่ศาสนา และพิธีกรรม มีการจุดประทีปโคมไฟเพื่อบูชาพระรัตนตรัยทั่วพระนคร ฝ่ายกษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นผู้นำในการบำเพ็ญกุศล ทรงเวียนเทียนที่พระอารมหลวงรอบพระประธาน เช่นเดียวกับประชาชนจะตักบาตร ทำบุญ และรักษาศีลตลอดวัน
ประวัติ วันวิสาขบูชา กับความเชื่อเหตุการณ์สำคัญ 3 แบบที่ควรรู้ เริ่มจาก
1. เป็นวันประสูติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ขณะที่พระนางสิริมหามายา ทรงแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ขณะประทับพรมแดนกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ประสูติพระโอรสนามว่า “เจ้าชายสิทธัตถะ” ใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน
2. วันที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ตรงกับเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา โดยหลักธรรมที่บรรลุคือ อริยสัจ 4 หรือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ซึ่งถือเป็นหลักธรรมสำคัญที่ยึดถือในวันวิสาขบูชา
3. ประวัติ วันวิสาขบูชา คือวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า หลังตรัสรู้ 45 ปี ขณะเดินทางไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ก็เกิดพระประชวรอย่างหนัก และในคืนที่พำนัก ณ ป่าสาละ เมืองกุสินารา ทรงประทานปัจฉิมโอวาทสุดท้ายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด” และเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
อย่างไรก็ตาม วันวิสาขบูชากำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้ร่วมทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียน เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา รวมถึงเป็นการระลึกถึงวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งหลักธรรมสำคัญอย่าง อริยสัจ 4 แนวทางปฏิบัติของพระพุทธเจ้าที่ใช้เป็นหนทางแห่งการตรัสรู้
หลักธรรมในวันวิสาขบูชา “อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ”
ทุกข์ – ความเป็นไปของชีวิตพื้นฐาน การเกิด แก่ ตาย คือสิ่งที่มนุษย์ต้องเผชิญ และ “ทุกข์จร” คือสิ่งที่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน อาทิ ความจน อุบัติเหตุ หรือความสุญเสีย
สมุทัย – ต้นเหตุของปัญหา ทำสิ่งใดย่อมได้สิ่งนั้น เป็นผลของการกระทำโดยมีต้นเหตุมาจาก “ตัณหา” ความต้องการ อยากได้ อยากมี ไม่มีที่สิ้นสุด
นิโรธ – ภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาการหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา
มรรค – หนทางไปสู่การดับทุกข์ ประกอบด้วยแนวทาง 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ