ทางเดินหายใจ สธ. สิ่งของติดคอ

สธ. แนะ หากสิ่งแปลกปลอมติดทางเดินหายใจเด็ก ห้ามใช้นิ้วล้วง-จับห้อยศีรษะ

สธ. เผยหากสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจเด็ก ห้ามใช้นิ้วล้วง-จับห้อยศีรษะ-ตบหลัง เป็นอันขาด ให้รีบโทรขอความช่วยเหลือ 1669 นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ช่วงนี้เป็นฤดูกาลที่มีผลไม้หลายชนิด อาทิ เงาะ ลำไย…

Home / NEWS / สธ. แนะ หากสิ่งแปลกปลอมติดทางเดินหายใจเด็ก ห้ามใช้นิ้วล้วง-จับห้อยศีรษะ

สธ. เผยหากสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจเด็ก ห้ามใช้นิ้วล้วง-จับห้อยศีรษะ-ตบหลัง เป็นอันขาด ให้รีบโทรขอความช่วยเหลือ 1669

นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ช่วงนี้เป็นฤดูกาลที่มีผลไม้หลายชนิด อาทิ เงาะ ลำไย กระท้อน แตงโม น้อยหน่า ละมุด ลองกองมังคุด ลางสาด มะขามเป็นต้น หลายชนิดมีเมล็ดที่อาจหลุดเข้าทางเดินหายใจได้โดยเฉพาะในเด็ก

ผู้ปกครองจึงควรระมัดระวังการให้บุตรหลานรับประทานผลไม้ ขอให้แกะเมล็ดออกก่อน ไม่ป้อนอาหารขณะเด็กกำลังวิ่งเล่น สอนเด็กเคี้ยวอาหารช้าๆ ให้ละเอียดก่อนกลืน หากสำลักอาจทำให้เนื้อหรือเมล็ดผลไม้หลุดเข้าทางเดินหายใจและถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

นายแพทย์ไพศาล กล่าวต่อว่า หากเมล็ดผลไม้มีขนาดใหญ่มักติดค้างที่กล่องเสียงซึ่งเป็นตำแหน่งแคบที่สุดของทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอุดกั้นอย่างสมบูรณ์และเฉียบพลัน เด็กจะมีอาการสำลักไออย่างรุนแรง เอามือจับบริเวณคอ พูดไม่ได้ หายใจหอบ หายใจไม่ออก ริมฝีปากเขียวคล้ำ

ขอให้รีบโทรสายด่วน 1669 ห้ามใช้นิ้วมือล้วงช่องปากหรือจับเด็กห้อยศีรษะและตบหลังเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้เศษอาหารหรือสิ่งของตกมาอุดที่กล่องเสียงจนขาดอากาศหายใจได้ หากเด็กยังรู้สึกตัว ให้พยายามไอแรง ๆ จนสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา

สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากสิ่งแปลกปลอมไม่หลุดออกมา ให้ยืนด้านหลังของเด็กแล้วสอดแขนทั้งสองข้างไว้ใต้แขนของผู้ป่วย กำมือข้างที่ถนัดกดตรงกลางท้องบริเวณกึ่งกลางระหว่างกระดูกลิ้นปี่กับสะดือ แล้วใช้มืออีกข้างจับไว้ให้แน่น จากนั้นออกแรงกระตุกเข้าหาตัวพร้อม ๆ กับดันขึ้นด้านบน

เพื่อให้เกิดแรงดันในช่องท้องดันเข้าใต้กระบังลมผ่านไปยังช่องทรวงอก ดันสิ่งแปลกปลอมให้หลุดออกจากกล่องเสียง ทำเป็นจังหวะสม่ำเสมอ จนกว่าจะเริ่มสำลักหรือไอจนสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา หรือจนกว่าเด็กจะหายใจเองได้ จากนั้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาล หรือให้นอนตะแคงรอทีมปฏิบัติการทางการแพทย์

สำหรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ให้จับนอนคว่ำและตบหลังบริเวณระหว่างกระดูกสะบักจนสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา และพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ กรณีสิ่งของที่อุดกั้นทางเดินหายใจมีขนาดเล็ก อาการอาจไม่ชัดเจน และเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ หอบหืด ตามมาหลังสำลักนานเป็นวันถึงสัปดาห์ได้