หัวเว่ย

งานเข้าครั้งใหญ่! arm หยุดการทำธุรกิจร่วมกับหัวเว่ย

โดย BBC ได้รายงานว่า arm ยักษ์ใหญ่แห่งวงการได้ส่งจดหมายแจ้งเป็นการภายในว่า จะหยุดดำเนินธุรกิจกับหัวเว่ย ในทุกด้าน ตามคำสั่งของสหรัฐฯ ที่ขึ้นบัญชีดำหัวเว่ยไม่ให้บริษัทของสหรัฐฯ ดำเนินธุรกิจด้วย ซึ่งแม้ว่าปัจจุบัน arm หรือ arm holding…

Home / NEWS / งานเข้าครั้งใหญ่! arm หยุดการทำธุรกิจร่วมกับหัวเว่ย

ประเด็นน่าสนใจ

  • BBC รายงานว่า arm ได้แจ้งเป็นการภายในว่าจะหยุดทำธุรกิจร่วมกับหัวเว่ย
  • arm เป็นเจ้าของสถาปัตยกรรม CPU บนมือถือ-อุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ รายใหญ่ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
  • การบอกเลิกในครั้งนี้ ถือว่า กระทบหนักกว่าการที่ Google บอกยุติการทำธุรกิจในครั้งก่อนเสียอีก

โดย BBC ได้รายงานว่า arm ยักษ์ใหญ่แห่งวงการได้ส่งจดหมายแจ้งเป็นการภายในว่า จะหยุดดำเนินธุรกิจกับหัวเว่ย ในทุกด้าน ตามคำสั่งของสหรัฐฯ ที่ขึ้นบัญชีดำหัวเว่ยไม่ให้บริษัทของสหรัฐฯ ดำเนินธุรกิจด้วย

ซึ่งแม้ว่าปัจจุบัน arm หรือ arm holding นั้นจะเป็นบริษัทที่มี Softbank จากประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในกิจการก็ตาม แต่ในเอกสารแจ้งภายในของ arm ที่ได้แจ้งแก่พนักงานระบุข้อความว่า “US Origin technology” หรือเป็นการระงับในส่วนของที่เป็นเทคโนโลยีที่มีต้นกำเนิดจากสหรัฐฯ

การที่ Softbank ตัดสินใจซื้อ arm นั้นเนื่องด้วยส่วนแบ่งตลาดของ CPU บนมือถือเกือบ 95% นั้นเป็นของ arm เรียกได้ว่า มือถือแทบทุกค่ายใช้สถาปัตยกรรมของ CPU จาก arm แทบทั้งสิ้น เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง กินไฟน้อย นอกจาก arm เป็นบริษัทที่ขายสถาปัตยกรรมของ CPU เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการผู้ที่ซื้อสถาปัตยกรรมของ arm ไป สามารถไปเลือกโรงงานผลิต วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ได้เอง ทำให้สามารถจัดการต้นทุนได้ต่ำกว่า ในราคาที่ตนเองต้องการได้ เนื่องจากได้ซื้อ “พิมพ์เขียว” ของการสร้าง CPU จาก arm มาแล้วนั่นเอง

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับหัวเว่ย

แน่นอนว่า หัวเว่ยเอง ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ซื้อสถาปัตยกรรมของ arm มาใช้ในสายพานการผลิตมือถือของหัวเว่ยเองด้วย ดังนั้นการถูกระงับการทำธุรกิจดังกล่าว ทำให้หัวเว่ยไม่สามารถนำ CPU ที่เป็นเทคโนโลยีของ arm มาใช้ได้ ซึ่ง CPU นั้นไม่ต่างอะไรกับเครื่องยนต์ของรถยนต์ ดังนั้นแม้ว่าหัวเว่ยจะสามารถผลิตรถยนต์ได้ แต่ไม่สามารถบรรจุเครื่องยนต์ลงไปในรถได้นั่นเอง ซึ่งปัจจุบันหัวเว่ยมี บริษัทผู้ผลิตอย่าง HiSilicon เป็นสายพานการผลิตชิปเป็นของตัวเอง แต่ HiSilicon ก็ยังคงใช้สถาปัตยกรรมของ arm

ต่างจากกรณีของกูเกิ้ลที่ระบบปฏิบัติการ Android นั้นเป็นรูปแบบของ Open Source อยู่ ที่ยังมีช่องทางเปิดให้สามารถนำมาพัฒนาใช้งานต่อได้

ดังนั้น สิ่งที่จะต้องดูกันต่อไปคือ ชิปอย่าง Kirin 985 ของ HiSilicon ที่ได้ซื้อก่อนหน้าที่จะถูกขึ้นบัญชีดำนั้น จะสามารถ “ยีดอายุ” การงานต่อไปได้นานมากน้อยแค่ไหน แม้ว่าในช่วงนี้ หัวเว่ย จะยังคงสามารถใช้ “สิทธิ์” ที่ได้ซื้อ “พิมพ์เขียว” มาก่อนหน้านี้ ในการผลิต CPU ใช้งานสำหรับมือถือของหัวเว่ยไปต่อได้อีกระยะหนึ่งก็ตาม แต่การออกแบบ-ผลิต CPU ใช้งานเองนั้น ไม่ง่ายอย่างแน่นอน

arm เสือนอนกินแห่งวงการไอที

arm แล้วเป็นบริษัทที่สร้างสถาปัตยกรรมของ CPU โดยเป็นการขาย “สิทธิบัตร” การออกแบบ CPU เหล่านั้นให้กับบริษัทคู่ค้าเป็นหลัก ไม่ได้เป็นผู้ผลิตชิป- CPU เองแต่อย่างใด โดย arm จะคิด สร้างสรรค์ ออกแบบ สถาปัตยกรรมของ CPU ออกมา ก่อนที่จะขาย “พิมพ์เขียว” ของรูปแบบการผลิต CPU ให้แก่คู่ค้า โดยที่ตนเอง “ไม่ต้องผลิต” ออกมาจำหน่ายแต่อย่างใด

โดยสถาปัตยกรรมของ arm นั้นได้รับการยอมรับในแง่ของประสิทธิภาพที่สูง กินพลังงานน้อย เหมาะกับการใช้งานกับอุปกรณ์อย่างโทรศัพท์มือถือนั่นเอง

แม้ว่า ในตลาดของ CPU บนมือถือนั้น จะยังมีอีกหลายค่าย แต่ก็ยังคงมีการใช้งาน “สิทธิบัตร”, “สถาปัตยกรรม” ของ arm อยู่ด้วยนั่นเอง