ประเด็นน่าสนใจ
- ในขณะขับขี่ ต้องมีใบขับขี่อยู่กับตัว สามารถแสดงให้กับจนท.ได้ โดยอาจเป็นใบขับขี่ตัวจริง ใบขับขี่ดิจิทัล หรือสำเนาภาพถ่ายใบขับขี่
- จนท. สามารถยึดใบขับขี่ หรือระงับการรถการชั่วคราวได้ หากผู้ขับขี่อยู่ในสภาพไม่พร้อม หากขับขี่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่คนหรือทรัพย์สินผู้อื่น
- ทำผิด ถูกตัดแต้ม แน่นอน หากแต้มต่ำกว่าที่กำหนด อาจถูกเพิกถอนใบขับขี่ชั่วคราว ไม่เกิน 90 วัน
- ทำผิดซ้ำ ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี หลังจากการถูกเพิกถอนใบขับขี่ อาจถูกแจ้งเพิกถอนเพิ่มเติมได้อีก
- หลังถูกเพิกถอนใบขับขี่ ต้องเข้ารับการอบรมด้วย หากมีค่าใช้จ่ายในการอบรมต้องดำเนินการชำระเอง
วานนี้ (22 พ.ค. 2562) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศ พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 12 ) โดยได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ขับขี่ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนน ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร อีกทั้งกฎ-ข้อบังคับต่างๆ นั้นบังคับใช้มาเป็นเวลานานแล้ว จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้สามารถควบคุมและบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
สรุปประเด็นสำคัญของการแก้ไข-ปรับปรุง พ.ร.บ. จราจร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562
I. ในขณะขับขี่ ผู้ขับต้องมีใบขับขี่อยู่กับตัว พร้อมแสดงให้แก่เจ้าหน้าที่ โดยเป็นใบขับขี่ตัวจริง หรือใบขับขี่ดิจิทัล หรือสำเนาภาพถ่ายใบขับขี่ ดังนั้นสำเนาภาพถ่ายใช้ได้ หรือใช้ใบขับขี่ดิจิทัลใช้ได้แล้วนั่นเอง
ซึ่งไม่ว่า จะแสดงให้กับเจ้าหน้าที่ในรูปแบบของตัวจริง ดิจิทัล หรือ สำเนาภาพถ่าย ก็ถือได้ว่า ผู้ขับขี่มีใบอนุญาตอยู่กับตัวแล้ว
II. กรณีทำผิดตามกฎหมายจราจร โดยเป็นความผิดที่มีโทษปรับเพียงอย่างเดียว หรือจำคุกไม่เกิน 2 เดือนและมี โทษปรับ จนท. สามารถตักเตือน หรือออกในสั่งแทนได้
โดยในการออกใบสั่งนั้น หากพบการกระทำผิด แต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้จนท.สามารถแปะ-ห้อย-ติดใบสั่งไว้ที่รถได้ โดยถือว่า เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถได้รับใบสั่งแล้ว
III. หากผู้ขับขี่ไม่อยู่ในสภาพที่สามารถขับขี่ต่อไปได้ หรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่น ให้ จนท. สามารถยึดใบขับขี่, ระงับการใช้รถชั่วคราวได้
แต่หากผู้ขับขี่อยู่ในสภาพที่สามารถขับขี่ต่อไปได้ ให้จนท.คืนใบขับขี่, อนุญาตให้ขับขี่ต่อไปได้ เมื่อผู้ขับขี่อยู่ในสภาพพร้อมขับขี่ ไม่เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นแล้ว
กรณีเจ้าหน้าที่พบว่า ผู้ขับขี่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการได้รับใบอนุญาตขับขี่ ให้เจ้าหน้าที่สามารถยึดใบขับขี่ โดยแจ้งสั่งยึดพร้อมเหตุผลให้ผู้ขับขี่ทราบ และมอบหลักฐานการยึดไว้กับผู้ขับขี่ไว้เป็นหลักฐานด้วย และแจ้งต่อนายทะเบียนดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
IV. ให้ สตง. จัดทำระบบบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับขี่รถ โดยหากผู้ขับขี่ถูกตัดแต้มจนหมดตามที่กำหนดไว้แล้ว ให้พักใบขับขี่ 90 วัน และเข้าอบรมตามหลักสูตร หากมีค่าใช้จ่ายต้องออกเอง
กรณีผู้ขับขี่ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรง หรือหลบหนี ให้เพิกถอนใบขับขี่ได้ไม่เกิน 90 วัน และถ้าถูกพักใบขับขี่ เกิน 2ครั้งในรอบ 3 ปี และ จนท. เห็นว่า ควรพักใบขับขี่เดิน 90 วัน ก็สามารถแจ้งขนส่งยึดใบขับขี่เพิ่มเติมได้
กรณีทำผิดซ้ำในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และ เจ้าหน้าที่มีความเห็นว่า ควรเพิกถอนใบขับขี่ ก็สามารถแจ้งขนส่งเพิกถอนได้
โดยในการแจ้งเพิกถอนใบขับขี่เพิ่มเติมนั้น จะต้องเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้บัญชาการหรือเทียบเท่าที่ได้รับมอบหมายจาก ผบ. ตร. เป็นผู้ดำเนินการแจ้งนายทะเบียนดำเนินการ
V. กรณีที่เจ้าของรถที่กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล หากตัวแทนของนิติบุคคลไม่แจ้งว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำผิด หรือดำเนินการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องระวังโทษปรับในอัตรา 5 เท่าของค่าปรับสูงสุด
ลิ้งดาวโหลด http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/P…/2562/A/067/T_0067.PDF