ประเด็นน่าสนใจ
- จับตาโค้งสุดท้ายเลือกตั้ง ปธน. สหรัฐฯ ระหว่างทรัมป์ – ไบเดน
- เลือกตั้งล่วงหน้า คึกคักกว่า ปี 2559 อย่างมาก
- หลายโพลล์ระบุ ไบเดน มีสิทธิ์
- ทั้งสองฝ่ายต่างเร่งหาเสียงใน Swing States
- ไม่ว่าใครได้เป็น ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อไทย-โลก
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เข้าสู่โค้งสุดท้ายแล้ว โดยการเลือกตั้งจะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 3 พ.ย. ที่จะถึงนี้ ทำให้ทั้งทรัมป์ และ ไบเดน ต่างเร่งหาเสียงในรัฐที่เป็น Swing State อย่างต่อเนื่อง
เลือกตั้งล่วงหน้าสุดคึกคัก
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ในการเลือกตั้งล่วงหน้าของสหรัฐฯ โดยในปีนี้ พบว่า มีประชาชนออกมาใช้สิทธิ์แล้วกว่า 92 ล้านคน หรือเกือบ 70% ของผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งเมื่อปี 2559
โดยเฉพาะในเท็กซัส จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า สูงกว่า 9 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งเมื่อปี 2559 ที่มีผู้มาใช้สิทธิ์ ไม่ถึง 9 ล้านคน ในขณะที่อีกกว่า 10 รัฐ มีประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าเกินครึ่ง
ซึ่งในจำนวนของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าเกินครึ่งเป็นการเลือกใช้สิทธิ์ผ่านทางไปรษณีย์ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น
◾️ทรัมป์ – ไบเดน เร่งหาเสียงใน Swing States
ในการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์โควิด-19 คะแนนเสียงของทรัมป์ค่อนข้างดีกว่า ไบเดน แต่หลังจากปัญหาต่าง ๆ ในสหรัฐฯ ในช่วงปี 2020 นี้ ไม่ว่าจะเป็น การระบาดของโควิด-19, ปัญหาเรื่องเชื้อชาติ-สีผิว, เศรษฐกิจ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับนานาชาติ จากท่าทีอันขึงขังของทรัมป์ ทำให้ไบเดนมีคะแนนเสียงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ยิ่งใกล้โค้งสุดท้าย ยิ่งทำให้ทั้งสองต้องเร่งลงพื้นที่หาเสียงอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเน้นในรัฐที่เป็น Swing States
Swing States : รัฐที่ยังคะแนนเสียงของประชาชนในรัฐ ยังไม่มีตัดสินใจเลือกใคร หรือยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกใครดี ทำให้ในพื้นที่เหล่านี้ จะเป็นโอกาสในการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้มาก หากสามารถเก็บคะแนน Electoral Votes ในการเลือกคณะผู้เลือกตั้ง เพื่อลงเลือกปธน.อีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งสถานการณ์การเลือกตั้งของสหรัฐฯ ในขณะนี้ โพลล์หลายสำนักระบุว่า ไบเดน มีแนวโน้มที่จะได้คะแนนเสียงเสียงสนับสนุนมากกว่าทรัมป์ ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปีนี้
แต่ในขณะเดียวกัน ตัวเลขคาดการณ์ต่าง ๆ พบว่า ไบเดนเองก็ไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะสามารถชนะได้อย่างขาดลอย ซึ่งสถานการณ์คล้ายกับในการเลือกตั้งเมื่อปี 2559 ที่โพลล์หลายที่ระบุว่า ทรัมป์จะพ่ายแพ้ แต่ในผลการเลือกตั้งจริง ในช่วงโค้งสุดท้าย กลับเป็นทรัมป์ที่ได้รับตำแหน่ง ปธน. ในที่สุด
ทำให้การหาเสียงในโค้งสุดท้ายค่อนข้างดุเดือดมาก โดยเมื่อวานนี้ ทรัมป์ ได้เดินทางหาเสียงถึง 5 รัฐ โดยเน้นหนักในรัฐเพนซิลเวเนีย ที่ทีมหาเสียงของทรัมมป์ระบุว่า หากชนะในเพนซิลวาเนียก็จะส่งผลต่อภาพรวมทั้งประเทศ ( ซึ่งแผนการหาเสียงใน Swing States ทั้งห้าของทรัมป์ เคยประสบผลสำเร็จมาแล้วในปี 2559 )
ซึ่งทรัมป์วางแผนในการเดินสายหาเสียงในวันอาทิตย์ ไปทั้งหมด 5 รัฐ คือ Michigan, Iowa, North Carolina, Georgia และ Florida และในวันที่ North Carolina, Pennsylvania, Wisconsin และปิดท้ายที่ Michigan
◾️ประเด็นการหาเสียง
ในการหาเสียงในโค้งสุดท้าย ไบเดนยังคงมุ่งเป้าไปที่จุดอ่อนของทรัมป์ คือ ปัญหาการระบาดของโควิด-19 ที่มีการระบาดหนักขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้ ว่าเป็นการบริหารงานที่ผิดพลาดของทรัมป์ โดยอาศัยทั้งแนวทางการพูดปราศรัยบนเวที รวมถึงรูปแบบการจัดงานแบบ New Normal ในบางจุด เพื่อสะท้อนปัญหาดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังคงเน้นที่ปัญหาความชัดแย้งภายในประเทศจากเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง Black live matters ที่เกิดขึ้นในประเทศ
ทางด้านของทรัมป์ ใช้ประเด็นการเน้นการหาเสียงกับกลุ่มผู้สนับสนุนเช่นเดิม ยังคงเพิ่มประเด็นการโจมตีไบเดน ด้วยการระบุว่า ไบเดน เคยพูดถึงชาวผิวสีว่าเป็น Super predators
◾️สองขั้วทางการเมืองกระทบทั่วโลก
สถานการณ์การเลือกตั้ง ปธน. ของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ หลาย ๆ ฝ่ายต่างจับตาอย่างยิ่ง เนื่องจากแนวทางของทั้งทรัมป์และไบเดน มีแนวทางที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ทรัมป์ แสดงท่าทีที่แข็งกร้าวกับหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะกับจีน ที่ทำให้สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ – จีน เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งร้อนถึงบริเวณทะเลจีนใต้ ทั้งไต้หวัน – ฮ่องกง อีกด้วย
ในขณะที่ปมของเกาหลีเหนือมีแนวทางที่ขัดแย้งไป เนื่องจากทรัมป์และคิม จอง อึน ดูดีกว่า ปธน.คนอื่น ๆ ของสหรัฐฯ อย่างมาก ซึ่งทรัมป์ถือเป็น ปธน. สหรัฐฯ คนแรกที่อยู่ในตำแหน่งที่ได้เดินทางเหยียบแผ่นดินเกาหลีเหนือและพบปะผู้นำเกาหลีเหนือ แม้จะเป็นในพื้นที่เขตปลอดทหารก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้เห็นภาพดังกล่าวในตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
ซึ่งในประเด็นเกาหลีเหนือ ไบเดนกลับมีท่าทีที่แข็งกว่าชัดเจน โดยระบุตรงไปตรงมาว่า เกาหลีเหนือต้องปลอดอาวุธนิวเคลียร์
ในด้านที่กระทบกับไทยนั้น น่าจะต้องเฝ้าติดตามเช่นกัน เนื่องจากล่าสุด สหรัฐฯ ได้ประกาศตัดสิทธิ์ GSP สินค้าไทยกว่า 200 รายการ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
และก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนเมษายน 2563 ไทยก็โดนตัด GSP สินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ กว่า 500 รายการ ดังนั้นหากไบเดนได้เป็น ปธน. อาจจะส่งผลต่อการเจรจารอบใหม่ ในเรื่องนี้ก็เป็นได้
นอกจากนี้ ค่าเงินสหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากหลายฝ่ายยังไม่มั่นใจในผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนเลือกที่จะนำพักและถือดอลลาห์เอาไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัย
ส่วนหนึ่งหากยังจำกันได้ สงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ – จีน จากนโยบาย American First ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ค่อนข้างดุเดือด และร้อนแรงมาก เช่น ประเด็นที่สะเทือนไปทั่วโลกที่เกิดขึ้นและหลายคนพูดถึง นั่นคือ ประเด็นที่เกิดขึ้นกับ หัวเว่ย บ.ไอทียักษ์ใหญ่ของจีน ที่ถูกสั่งระงับ-ห้ามทำการค้าหลายอย่างในสหรัฐฯ
หรือที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ กับ Tik-Tok ที่ถูกระบุวา
มีการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าจีนสูงมากขึ้น (ซึ่งไทยได้รับผลกระทบบางส่วนด้วย) ดังนั้นหากทรัมป์ ได้รับตำแหน่งอีกสมัย แน่นอนว่า ปัญหาสงครามการค้าจะยิ่งต่อเนื่อง-หนักหน่วงมากขึ้น แต่หากไบเดน ได้เป็นปธน. ก็ยังต้องลุ้นว่า จะเป็นอย่างไร เนื่องจากไบเดนเอง แม้ไม่ได้มีท่าทีแข็งกร้าวเช่นทรัมป์ แต่ก็ไม่ได้ยินดีมากนัก กับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นในจีน กับ สหรัฐฯ
ซึ่งในปมนี้ อาจจะเชื่อมโยงไปสู่การกลับเข้าร่วม CPTPP อีกครั้งหรือไม่? หลังจากที่ทรัมป์ได้ประกาศถอนตัวออกไป