ชวน หลีกภัย ประชุมสภา ประชุมสภาครั้งที่ 1 ประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงคะแนนเลือกประธานสภาฯ สภาผู้แทนราษฎร

สรุปเหตุการณ์ตลอดทั้งวัน การประชุมสภาครั้งที่ 1 ใช้เวลากว่า 9 ชั่วโมง

การประชุมสภาครั้งที่ 1 ใช้เวลากว่า 9 ชั่วโมง วันที่ 25 พฤษภาคม 2562 เวลาประมาณ 09.00 น. ที่อาคารทีโอที ถนนแจ้งวัฒนะ ถูกจัดเป็นสถานที่จัดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดแรก…

Home / NEWS / สรุปเหตุการณ์ตลอดทั้งวัน การประชุมสภาครั้งที่ 1 ใช้เวลากว่า 9 ชั่วโมง

การประชุมสภาครั้งที่ 1 ใช้เวลากว่า 9 ชั่วโมง

วันที่ 25 พฤษภาคม 2562 เวลาประมาณ 09.00 น. ที่อาคารทีโอที ถนนแจ้งวัฒนะ ถูกจัดเป็นสถานที่จัดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดแรก เพื่อพิจารณาวาระสำคัญ คือ เลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)

การประชุมสภาผู้เเทนราษฎร ครั้งที่ 1 ช่วงเช้า

การประชุมได้เริ่มขึ้นในเวลา 09.30 น. มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าประชุม 497 คน จากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 498 คน ขณะที่ประธานในที่ประชุมชั่วคราวคือ นายชัย ชิดชอบ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ทำหน้าที่ประธานผู้แทนราษฎรเป็นการชั่วคราว เนื่องจากเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ ที่อาวุโสสูงสุด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ลุกขึ้นปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่ง

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เดินทางมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ แต่หลังจากนายธนาธรปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งแล้วเสร็จ ทางเลขาธิการสภาได้อ่านคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ที่สั่งให้ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ชั่วคราว และสั่งให้ธนาธรออกจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ธนาธรยกมือขอพูดกล่าวลาที่ประชุม ท่ามกลางการประท้วงอย่างหนักหน่วงดุเดือดจาก ส.ส.บางพรรคการเมือง โดยธนาธรกล่าวว่า

ผม ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รับทราบข้อกล่าวหา และขอหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่บัดนี้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยเป็นอื่น ขอบคุณครับ”

เมื่อพูดจบ เหล่า ส.ส. ในสภาได้ลุกขึ้นและปรบมือกึกก้องห้องประชุม รวมทั้งขอจับมือเพื่อให้กำลังใจ-ยืนเคียงข้างธนาธร-ร่วมชูสามนิ้วเป็นสัญลักษณ์ต่อต้านเผด็จการ

เมื่อย้อนฟังคำแถลงของธนาธรในวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 ก็รู้สึกว่าธนาธรและพรรคอนาคตใหม่สามารถเดินหน้าทำงานต่อได้แม้ไม่มีธนาธรในสภา และเวลานี้ไม่ใช่ช่วงเวลาแห่งการสิ้นหวัง

ผมขอเชิญพ่อแม่พี่น้องประชาชนทุกคนที่ยังรักความยุติธรรมอยู่ จงยืดหน้าอย่างสง่าผ่าเผย ลุกขึ้นยืนและต่อสู้ร่วมกัน เพื่อทวงคืนความยุติธรรมกลับสู่สังคมไทย นั่นคือภารกิจหน้าที่ของเรา

แม้ว่าวันนี้ผมถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิ้นให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ไปแล้ว แต่ผมยังเป็น ส.ส. อยู่ ระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ผมก็จะยังทำงานกับพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในเมื่อพวกเขาไม่ให้เข้าสภา ผมก็จะทำงานอยู่กับประชาชนทั่วประเทศ

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่
นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่
นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่
  • ประเด็นการเลือน/ไม่เลื่อนการประชุมสภา

ช่วงเช้าได้มีการอภิปรายกันอย่างหนัก หลัง ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เสนอให้มีการเลื่อนประชุมสภาออกไปก่อน แต่ ส.ส. จากพรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่ ไม่เห็นด้วย จนสุดท้ายต้องพักการประชุมเป็นเวลา 1 ชั่วโมง

แกนนำของทั้ง 7 พรรคการเมืองที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตย แถลงจุดยืน ประกาศต้องมีประธานสภาผู้แทนราษฎรวันนี้
  • มติ 7 พรรคร่วม ประกาศต้องมีประธานสภาผู้แทนราษฎรวันนี้

แกนนำของทั้ง 7 พรรคการเมืองที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตย ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคเพื่อชาติ และพรรคพลังปวงชนไทย ได้รวมตัวกันเพื่อแถลงจุดยืนในการเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร

แกนนำแต่ละพรรคได้บอกในทำนองเดียวกันว่า ควรจะมีการเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรให้เสร็จสิ้นเพื่อให้ประเทศเดินหน้า ไม่มีเหตุที่จะต้องเลื่อนออกไป และมองว่าการเลื่อนคือการทุจริต โดยทั้ง 7 พรรคมีมติร่วมกันว่าวันนี้ต้องมีการเลือกประธานสภาฯ ของประชาชน

ท้ายที่สุด ต้องมีการนับคะแนน ลงมติ เลื่อนหรือไม่เลื่อน เนื่องจากมีไม่มีเครื่องมือในการออกเสียง ดังนั้นจึงทำให้ต้องใช้  “คน” ในการนับคะแนน

การประชุมสภาผู้เเทนราษฎร ครั้งที่ 1 ช่วงบ่าย
มติ 248 ต่อ 246 เสียง ไม่เลื่อนประชุมโหวต ประธาน-รองประธานสภาฯ
  • มติ 248 ต่อ 246 เสียง ไม่เลื่อนประชุมโหวต ประธาน-รองประธานสภาฯ โดยมีคนงดออกเสียง 2 เสียง

การเปิดประชุมสภาครั้งที่ 1 เพื่อออกเสียงเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธาน และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชารัฐ ได้มีการยื่นญัตติขอให้เลื่อนการประชุมออกไปก่อน แต่ทางพรรคเพื่อไทยขอให้ดำเนินการตามระเบียบวาระต่อไป

เวลา 13.00 น. ได้มีการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรในช่วงบ่ายอีกครั้ง นายชัย ชิดชอบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ทำหน้าที่ประธานสภาฯ ชั่วคราว ได้ประกาศมติเลื่อนหรือไม่เลื่อนการประชุมสภาฯ ผลปรากฎว่า ไม่เห็นด้วย หรือ ไม่เลื่อน 248 เสียง เห็นด้วยหรือ เลื่อนออกไป 246 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง ก่อนการประกาศผลคะแนนมี ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ 5 คน ที่ลงคะแนนเสียงผิด และขอลงคะแนนเสียงใหม่ ให้เปลี่ยนเป็นเห็นด้วย แต่ไม่ได้รับอนุญาต ที่ประชุมจึงต้องลงมติประชุมต่อ

*ไม่เลื่อน 248 เสียง

*เลื่อนออกไป 246 เสียง

ประธานฯ ถือว่า ไม่ให้เลื่อน ดังนั้นเข้าสู่ระเบียบวาระที่ 2 เลือกประธานสภาฯ การประชุมสภาถูกดำเนินต่อ โดยเสนอชื่อ ประธานสภาฯ
  • เข้าสู่วาระที่สอง การเลือกประธานผู้แทนราษฎร 

เวลา 15.45 น. การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เริ่มขึ้น โดย ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ เสนอชื่อ ชวน หลีกภัย พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานสภาผู้แทนฯ และ ส.ส. พรรคประชาชาติ เสนอชื่อ สมพงษ์ อมรวิวัฒน ส.ส. พรรคเพื่อไทย เป็นประธานสภาผู้แทนฯ

ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 หากมีเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งมากกว่า 1 คน ทำให้ต้องลงคะแนนด้วยวิธีลับ โดยการเขียนชื่อบุคคลที่ต้องการเลือกลงในกระดาษ จากนั้นใส่ซองปิดผนึก ก่อนนำไปหย่อนลงในหีบ มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อนับคะแนน จากสัดส่วนของพรรคการเมืองต่างๆ

เจ้าหน้าที่จัดเตรียมอุปกรณ์ ลงคะแนนเลือกประธานสภาฯคนใหม่ หลังมีมติสภาฯ เสียงข้างมาก 248 ต่อ 246 เสียง
นายชัย ชิดชอบ ฉีกซองที่ เกินมา 3 ซอง เนื่องจากซองมาทั้งหมด 500 ซอง แต่มี ส.ส. มาวันนี้ 497 คน
นายชัย ชิดชอบ
  • ผลการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

ขั้นตอนการออกเสียงมีสมาชิก ติดใจ ทำให้ นายชัย ต้องพักการประชุมและชี้แจงรายละเอียด ก่อนจะกลับมาเริ่มประชุมและเรียกสมาชิกลงคะแนนทีละคน ในเวลา 17.00 น. และเสร็จสิ้นการลงคะแนนเป็นรายบุคคล เวลา 18.00

ก่อนการเริ่มนับคะแนน นายชัย กล่าวว่า มีผู้ลงคะแนนทั้งสิ้น 494 คน จากผู้ที่เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 496 คน โดยพบผู้ไม่ลงคะแนนทั้งสิ้น 2 คน ได้แก่ นายชัย ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุม ของดใช้สิทธิ์เพื่อวางตัวเป็นกลาง และนายกนก ลิ้มตระกูล ส.ส.อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทย คนลาการประชุม คือ นางจุมพิตา จันทรขจร ส.ส.นครปฐม พรรคอนาคตใหม่

เวลาประมาณ 18.20 น.ที่ หอประชุมทีโอที ถนนแจ้งวัฒนะ ในห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในแต่ละพรรคลงคะแนนแล้วเสร็จ เริ่มต้นการนับคะแนนการเลือกประธาน-รองประธานสภาผู้เเทนราษฎร

นายชวน หลีกภัย ได้เป็นประธานสภาฯ

ผลการเลือกสภาผู้เเทนราษฎร นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์  และส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 นับว่าเป็นครั้งที่ 2 ที่นายชวน หลีกภัย ได้เป็นประธานสภาฯ โดยครั้งแรกเคยดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2529 – 2531

ผลคะแนน

นายชวน หลีกภัย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ = 258

นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย = 235

19.00 น. นายชัย ชิดชอบ ประธานการประชุมชั่วคราว ได้ขอเลื่อนการประชุม วาระเลือกรองประธานสภาฯ ในวันที่ 26 พฤษภาคม เวลา 09.00 น.

นายชวน หลีกภัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์

ชวน หลีกภัย ว่าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร บอกภายหลังได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า ขอบคุณที่รับเลือกให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร เดิมไม่ได้จะมารับตำแหน่งนี้ แต่เมื่อมีความจำเป็นก็อยากจะใช้โอกาสนี้ ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้มีบทบาทที่ประชาชนเข้าถึงได้ โดยในระยะเวลาผ่านมา 5ปี ไม่ได้มีสภามาจากการเลือกตั้ง ทำให้สภาไม่สมบูรณ์ จึงต้องอาศัยความร่วมมือ สมาชิก หาทางว่า การบริหารงานของสภาจะทำยังไงให้การบริหารงานดีขึ้น และเป็นศูนย์กลางในการรับฟังปัญหาประชาชน มาเสนอต่อสภา เพื่อส่งต่อไปยังฝ่ายบริหาร และฝ่ายบริหารก็ใช้สภา ส่งผ่านไปยังประชาชนได้

สอบฝ่ายบริหาร เพราะ ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นผู้เลือกฝ่ายบริหาร และเป็นศุนย์กลางรับฟังปัญหาของประชาชน โดยและจะมีบทบาทสำคัญต่อความมั่นคง ซึ่งปัญหาชาวบ้านจะต้องได้รับการแก้ไขส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ โดยจะมีการน้อมนำพระบรมราโชวาท วันที่ 24พ.ค. ซึ่งจะทำให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงภารกิจสำคัญ และบทบาทของสมาชิกจะมีผลต่อความมั่นคงและมีผลต่อความสุขของประชาชน ถ้าใช้สภาเป็นศูนย์กลางได้

ทั้งนี้พร้อมความงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแก้ปัญหาจุดอ่อนความล่าช้าของการทำงาน เพื่อให้สภาเป็นที่ยอมรับ และเป็นแบบอย่างของผู้เคารพกฎหมาย

พร้อมให้เหตุผลที่รับตำแหน่งนี้ เป็นเพราะที่ผ่านมาภาพลักษณ์ของสภาถูกมองในทางลบ และถูกวิจารณ์ในทางเสียหาย และยอมรับว่า ทุกคนสามารถวิจารณ์นักการเมืองได้ ซึ่งนายชวนเคยบอกกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่า นักการเมืองมีทั้งคนดีและไม่ดี ย้ำว่า การเข้ามาทำหน้าที่เพื่อปรับภาพลักษณ์ ส่วนรายละเอียดการทำหน้าที่จะมาชี้แจงหลังได้รับการโปรดเกล้าอย่างเป็นทางการแล้ว

นายชวนยังยืนยันด้วย ว่าการรับตำแหน่งไม่มีเงื่อนไข ไม่มีการต่อรอง ไม่มีโควต้า ของพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะต้องเข้าร่วมรัฐบาล เพราะถ้ามีก็คงไม่นับตำแหน่ง โดยรายละเอียดให้ไปถามนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส่วนสาเหตุที่ได้รับเลือก เพราะถ้าเป็นตนเอง สมาชิกจะยอมรับ โดยภารกิจหลักจากนี้จะเร่งทำงานในการเตรียมเป็นเจ้าภาพ ประชุมอาเซียน ซึ่งจะมีรัฐสภาอาเซียน และ ย้ำว่าการทำงานในสภาเพื่อให้เป็นที่ยอมรับต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ใช่การทำงานอย่างโดดเดียว