ข่าวการเมือง ธัญวารินทร์ สุขุพิสิษฐ์ ฝ่ายค้าน พรรคก้าวไกล ศาลรัฐธรรมนูญ ส.ส.ถือหุ้นสื่อฯ

[อัปเดตคำวินิจฉัย] ธัญญ์วาริน สิ้นสมาชิกภาพ ปมถือหุ้นสื่อฯ

28 ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน รอด ส่วนธัญญ์วาริน พ้นสมาชิกภาพ วินิจฉัยพบ ถือหุ้นสื่อฯ โอนหุ้น-ประชุมสามัญมีพิรุธ

Home / NEWS / [อัปเดตคำวินิจฉัย] ธัญญ์วาริน สิ้นสมาชิกภาพ ปมถือหุ้นสื่อฯ

ประเด็นน่าสนใจ

  • กรณีคำร้องศาล รธน. ให้วินิจฉัย ปมส.ส.ฝ่ายค้านถือหุ้นสื่อฯ 32 ราย
  • ได้มีการจำหน่ายคดี 3 ราย จากกรณีที่ได้มีการสิ้นสุดสมาชิกภาพไปก่อนหน้านี้
  • 28 ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน รอด ส่วนธัญญ์วาริน พ้นสมาชิกภาพ วินิจฉัยพบ ถือหุ้นสื่อฯ โอนหุ้น-ประชุมสามัญมีพิรุธ

จากกรณีที่ได้มีการยื่นคำร้อง กรณีส.ส. ฝ่ายค้านจำนวน 32 คน ถือหุ้นสื่อฯ โดยศาลได้อ่านคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น จากเอกสาร/หลักฐานต่าง ๆ คือ

โดยในการได้พิจารณาจากเอกสารหลักฐานต่าง ๆ

  • หนังสือรับรองกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • หนังสือบริคณห์สนธิ แบบ บอจ. 2
  • สำเนาแบบแสดงรายละเอียด บัญชีของผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
  • แบบแสดงรายการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนบริษัท (สสช. 1)
  • แบบนำส่งงบการเงิน สบช. 3
  • งบการเงิน และหมายเหตุงบการเงิน
  • รายการยื่นภาษีเงินได้
  • หลักฐานการขออนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งจากผู้ถูกร้องจำนวน มี 3 รายที่ให้จำหน่ายคดีเนื่องจากสิ้นสุดสมาชิกภารไปแล้ว 3 ราย จากกรณีการถูกยุบพรรค จึงพิจารณา 29 ราย โดย ผลการวินิจฉัยพบว่า มี 1 ราย ที่พ้นจากสมาชิกภาพ ส.ส. คือ นายธัญวารินทร์ สุขะพิสิษฐ์ ส.ส. พรรคก้าวไกล

ส่วนที่เหลือ อีก 28 ราย ถือว่า ไม่สิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส. แต่อย่างใด เนื่องจากไม่ได้เป็นการถือหุ้นหรือเป็นเจ้าของกิจการสื่อสารมวลชน


◾️ธัญญ์วาริน ทั้ง 2 ผลิตสื่อ, การโอนหุ้น/ประชุมสามัญ มีพิรุธ

ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง กรณีของนายธัญวารินทร์ สุขะพิสิษฐ์ ในบริษัท เฮด อัพ โปรดักชั่น จำกัด และ บริษัท แอมฟายน์ โปรดักชั่น ข้อเท็จจริงตามเอกสารทะเบียนบริษัท, สัดส่วนรายได้ที่ได้ยื่นไว้ โดยได้รับผลิตสื่อฯ ต่าง ๆ เพื่อการส่งหรือเผยแพร่ไปยังประชาชน ซึ่งเจตนาของบริษัทจึงถือเป็นสื่อมวลชน

เมื่อตรวจสอบช่วงเวลาของการถือหุ้นสื่อฯ พบว่า

  • รายงานประชุมผู้ถือหุ้นมีรายงานจำนวน 2 ครั้ง จากที่แจ้งไว้ปีละ 1 ครั้ง
  • มีการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นพร้อมกันทั้ง 2 บริษัท
  • การลงชื่อในการประชุมผู้ถือหุ้น และระยะเวลาของการโอนหุ้นไม่สอดคล้องกัน
  • ผู้ถูกร้องไม่ได้มีการนำส่งสำเนาบัญชีผู้ถือหุ้น หลังจากมีการประชุมสมัยวิสามัญ
  • ในการทำคำชี้แจงที่เกี่ยวข้อง กลับไม่ได้มีการชี้แจง

จึงฟังได้ว่า ข้อเท็จจริงที่มีการจัดทำขึ้นในภายหลัง

ประเด็นการวินิจฉัย

◾️บริษัทเฮด อัพ โปรดักชั่น จำกัด และ บริษํท แอมฟายน์ โปรดักชั่น จำกัด ประกอบกิจการสื่อฯ หรือไม่?

คำวินิจฉัย : ในการตรวจสอบ หนังสือรับรองของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก.พาณิชย์ (แบบ บอจ. 1 , บอจ. 2 , บอจ. 4 , บอจ. 5) แบบนำส่งการเงิน, งบการเงิน, แบบแสดงภาษีเงินได้บริษัท, แบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย พบว่า เป็นสื่อตัวกลางในการส่งข่าวสาร เนื้อหาสาระไปสู่ประชาชนทราบได้เป็นการทั่วไป

บ.เฮดอัพฯ เป็นสื่อฯ เนื่องจาก

  • ยื่นจดทะเบียนในการผลิตรายการโทรทัศน์ สารคดี ละคร ถ่ายภาพ โฆษณาผลิตภัณฑ์ และสื่อทุกชนิดในนิตยสาร
  • เอกสารรายได้ของบริษัทนั้นระบุว่า ได้จากการรับจ้างผลิตงานถ่ายทอดสด ผลิตละคร ค่าลิขสิทธิ์ละครโทรทัศน์ ผลิตรายการโทรทัศน์
  • ซึ่งบริษัทได้มีการผลิตสื่อฯ และเผยแพร่ถึงประชาชนได้ จึงสรุปว่า บริษัทเฮดอัป โปรดักส์ชั่นจำกัด ประกอบกิจการสื่อสารมวลชน

บ.แอมฟายฯ เป็นสื่อฯ เนื่องจาก

  • จดทะเบียนในการผลิตภาพยนตร์ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ และสื่อการตลาดต่าง ๆ
  • เอกสารรายได้ ระบุว่า มีรายได้จากบริการโฆษณา รายการวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ สื่อการตลาดต่าง ๆ (อ้างเอกสารประกอบรายการบัญชีการเงิน ช่วงปี 54-61)
  • ฟังได้ว่า บ. แอมฟาย ฯ ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตสื่อฯ จึงถือว่าเป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อกิจการที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชน

◾️นายธัญญ์วารินทร์ เป็นเจ้าของหรือ ถือหุ้น บริษัทเฮด ธัญวารินทร์ สุขะพิสิษฐ์ โปรดักชั่น จำกัด และ บริษํท แอมฟายน์ โปรดักชั่น จำกัด หรือไม่?

ถือหุ้นบ. เฮดอัพ โปรดักชั่นฯ :

  • 23 มิ.ย. 2560 : เอกสารประกอบการประชุมจัดตั้งบริษัท ปรากฎชื่อนายธัญญ์วารินทร์ สุขะพิสิษฐ์ เป็นผู้ถือหุ้น
  • 31 ก.ค. 2562 : ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 มีรายชื่อผู้ถือหุ้นแทนนายธัญญ์วารินทร์ โดยระบุวันลงทะเบียนผู้ถือหุ้น/วันโอนหุ้น วันที่ 11 ม.ค. 62 (ยื่นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 31 ส.ค.62)
  • แต่งบสรุปบัญชีการเงิน ธ.ค. 2561 ระบุการประชุมครั้งที่ 1/2562 (อ้างอิง แบบ ส.บช. 3 ที่ยื่นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า) 30 เมษายน 2562 ซึ่งในจุดนี้ ทำให้มีข้อพิรุธว่า มีการประชุมครั้งที่ 1/2562 ซ้อนกัน 2 วัน คือ 30 เม.ย. 62 และ 31 ก.ค. 62 ทั้งที่ข้อกำหนดของบริษัทจัดให้มีการประชุมสามัญปีละ 1 ครั้ง
  • ตรวจสอบย้อนหลัง พบในปีก่อนหน้า จะมีการจัดประชุมสามัญประจำปีขึ้น ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือน เม.ย.
  • แบบยื่นภาษีของบริษัท (ภ.ง.ด. 50)ได้มีการยื่นไปแล้วกับกรมสรรพากรไปแล้ว เมื่อ 7 มิ.ย. 62 โดยระบุงบการเงินในการประชุมวันที่ 30 เม.ย. 62 ดังนั้นการประชุมสามัญ ครั้งที่ 1/2562 ในวันที่ 31 ก.ค.62 จึงเป็นข้อพิรุธและผิดปรกติวิสัย
  • นอกจากนี้ ผู้ถูกร้องไม่ได้มาชี้แจงรายละเอียด เอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ในการประชุมเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2562 หรือ รายละเอียดการโอนหุ้น การชำระค่าหุ้น เพื่อยืนยันการโอนหุ้นในวันที่ 11 ม.ค. 2562

นอกจากนี้ ยังพบว่า ทั้งบริษัทเฮดอัพฯ และ บริษัทแอมฟายฯ ได้มีการจัดประชุมผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2562 ในวันเดียวกัน รวมถึงมีการยื่นเอกสารแบบ บอจ. 5 ทั้งสองบริษัทในวันเดียวกัน คือ 13 ส.ค. 62 ย่อมเป็นข้อพิรุธ ผิดวิสัย รวมทั้งเกิดขึ้นหลังจากที่มีการร้องเรียนในปม ส.ส. ถือหุ้นสื่อฯ แล้ว

จึงเชื่อได้ว่า เอกสารตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น บอจ. 5 ในการประชุมสามัญ ครั้งที่ 1/2562 นั้น ซึ่งไม่มีชื่อนายธัญญ์วารินทร์ นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่มีการจัดทำขึ้นภายหลัง โดยไม่ได้มีการประชุม-โอนหุ้นกันจริง ซึ่งหากมีการโอนหุ้นจริง ย่อมจะมีการส่งเอกสารผู้ถือหุ้นได้โดยไม่ต้องรอการประชุมสามัญ และสามารถชี้แจงข้อกล่าวหาได้ แต่กลับไม่มีการโต้แย้งในประเด็นดังกล่าว ถือเป็นความผิดปรกติวิสัยในการสู้คดี

ถือหุ้นบ. แอมฟาย โปรดักชั่นฯ :

  • 31 ก.ค. 2562 : ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 มีรายชื่อผู้ถือหุ้นแทนนายธัญญ์วารินทร์ โดยระบุวันลงทะเบียนผู้ถือหุ้น/วันโอนหุ้น วันที่ 11 ม.ค. 62 (ยื่นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 31 ส.ค.62)
  • อ้างอิง แบบ ส.บช. 3 ที่ยื่นกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่เคยยื่นไว้ พบว่า ตามปรกติบริษัท แอมฟายฯ ประชุมสามัญ ประจำปีครั้งที่ 1/2556 และ 1/2557 ในเดือน เม.ย. มาโดยตลอด
  • นอกจากนี้ บริษัทไม่มีการประชุมสามัญประจำปี-ขาดส่งงบการเงิน ตั้งแต่ปี 2558 เรื่อยมา จนกระทั่ง ประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อ 31 ก.ค. 2562
  • จึงถือว่าเป็นข้อพิรุธ-ผิดปรกติวิสัย ซึ่งผู้ถูกร้องไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดการประชุมดังกล่าว และเอกสารต่าง ๆ ที่จะแสดงถึงการประชุมที่เกิดขึ้นได้
  • ไม่ได้มีการชี้แจง ค่าโอนหุ้น ค่าหุ้น ฯลฯ เกี่ยวข้องกับการโอนหุ้นเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 62 ได้

นอกจากนี้ ในการประชุมสามัญครั้งที่ 1/2562, การนำส่งเอกสารของทั้งสองบริษัท เกิดขึ้นในวันเดียวกัน คือ 13 ส.ค. 62 ย่อมเป็นข้อพิรุธ ผิดวิสัย รวมทั้งเกิดขึ้นหลังจากที่มีการร้องเรียนในปม ส.ส. ถือหุ้นสื่อฯ

ซึ่งจากข้อพิรุธที่เกิดขึ้น ทำให้เชื่อได้ว่า นายธัญญ์วารินทร์ เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัททั้งสอง ที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ หรือสื่อมวลชนในวันที่ 6 ก.พ. 62 ซึ่งเป็นวันที่พรรคอนาคตใหม่ ยื่นบัญชีรายชื่อในการเลือกตั้งปี 2562