ประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐ

คาด “ประชาธิปัตย์” ร่วม “พลังประชารัฐ” จัดตั้งรบ. เตรียมลุ้นโหวตนายกฯ

หลังจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 62 ที่ผ่านมา สถานการณ์การเมืองไทยอยู่ในสภาวะอึมครึมมาตลอดระยะเวลา 2 เดือน ว่าใครจะได้จัดตั้งรัฐบาล แม้ว่ากลุ่มขั้วของพรรคเพื่อไทย-อนาคตใหม่ จะมีการประกาศการจับขั้วทางการเมืองเป็นขั้วแรก แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐบาลแต่อย่างใด โดยในบ่ายวันนี้ พรรคพลังประชารัฐ ได้ออกเดินสาย…

Home / NEWS / คาด “ประชาธิปัตย์” ร่วม “พลังประชารัฐ” จัดตั้งรบ. เตรียมลุ้นโหวตนายกฯ

ประเด็นน่าสนใจ

  • พลังประชารัฐ สามารถรวบรวมเสียง ส.ส. ได้ 253 เสียง เกินกึ่งหนึ่งของสภา
  • ในการโหวตเลือกประธานสภาฯ รองประธานสภา ที่ผ่านมา ฐานเสียง พปชร. ถือว่าชัดเจน
  • ปชป. – ภูมิใจไทย ยืนยันแล้วว่า เข้าร่วมรัฐบาล พชปร. แน่นอนแล้ว
  • ชาติไทย – ชาติไทยพัฒนา ก็แสดงทีท่าชัดเจนแล้วว่า เข้าร่วมกับ พรรคพลังประชารัฐ

หลังจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 62 ที่ผ่านมา สถานการณ์การเมืองไทยอยู่ในสภาวะอึมครึมมาตลอดระยะเวลา 2 เดือน ว่าใครจะได้จัดตั้งรัฐบาล แม้ว่ากลุ่มขั้วของพรรคเพื่อไทย-อนาคตใหม่ จะมีการประกาศการจับขั้วทางการเมืองเป็นขั้วแรก แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐบาลแต่อย่างใด โดยในบ่ายวันนี้ พรรคพลังประชารัฐ ได้ออกเดินสาย เชิญพรรคต่างๆ เข้าร่วมรัฐบาล และได้รับการตอบรับอย่างเป็นทางการแล้ว

โดยพรรคพลังประชารัฐ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยสามารถรวมเสียงได้ 253 เสียง ประกอบด้วย

  • พรรคพลังประชารัฐ 115 คน
  • พรรคประชาธิปัตย์ 52 คน
  • พรรคภูมิใจไทย 51 คน
  • พรรคชาติไทยพัฒนา 10 คน
  • พรรครวมพลังประชาชาติไทย 5 คน
  • พรรคชาติพัฒนา 3 คน
  • พรรคพลังท้องถิ่นไทย 3 คน
  • พรรครักษ์ฝืนป่าประเทศไทย 2 คน
  • พรรคเล็ก 11 พรรคที่ได้ ส.ส.พรรคละ 1 คน รวม 11 คน
สรุปฐานเสียงส.ส. ขั้วพลังประชารัตน์ล่าสุด
สรุปฐานเสียงส.ส. ขั้วพลังประชารัตน์ล่าสุดในช่วง 7วันล่าสุด

253 เสียง รัฐบาลปริ่มน้ำ

แม้ว่า พลังประชารัฐจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ตามความคาดหวัง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงต่อไปหลังจากนี้คือ การเป็น “รัฐบาลปริ่มน้ำ” ซึ่งจะส่งผลกระทบหากมีการออกเสียงในการผ่านร่างกฎหมายต่างๆ ตลอดจนการพิจารณาไม่ไว้วางใจ ด้วย ที่เรียกว่า “ขาดใครไม่ได้” และ “ห้ามป่วย-ห้ามลา-ห้ามขาด” หากต้องมีการยกมือผ่านข้อกฎหมาย-อภิปรายต่างๆ ดังนั้นไม่ง่ายเลยที่ พปชร. จะสามารถเดินต่อไปจนครบ 4 ปี ซ้ำยังมีกระแสข่าวออกมาว่า พรรคร่วมรัฐบาลพลังประชารัฐบางพรรคได้มีการเจรจาต่อรองให้มีการ “แก้ไข รธน.” และ “ยุบสภา” อีกด้วย

ย้อนรอยต้นกำเนิด “งูเห่า”

ย้อนกลับไปในการเลือกตั้งปี 2539 พล.เอก ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ในขณะนั้น ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลปริ่มน้ำ โดยพรรครวมรัฐบาลได้แก่

  • พรรคความหวังใหม่ จำนวนส.ส. 125 เสียง
  • พรรคชาติพัฒนา จำนวนส.ส.52 เสียง
  • พรรคประชากรไทย จำนวนส.ส. 18 เสียง
  • พรรคมวลชน จำนวนส.ส. 2 เสียง

รวมคะแนนเสียงในสภาฯ ทั้งหมด 197 เสียง ในขณะที่ขั้วฝ่ายค้าน มีจำนวนส.ส. 196 เสียง นำโดยนายชวน หลีกภัย พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งประกอบด้วย

  • พรรคประชาธิปัตย์ จำนวนส.ส. 123 เสียง
  • พรรคชาติไทย จำนวนส.ส. 39 เสียง
  • พรรคกิจสังคม จำนวนส.ส. 20 เสียง
  • พรรคเอกภาพ จำนวนส.ส. 8 เสียง
  • พรรคเสรีธรรม จำนวนส.ส. 4 เสียง
  • พรรคพลังธรรม และพรรคไท อีกพรรคละ 1 เสียง

ซึ่งจะเห็นว่า เป็นรัฐบาลปริ่มน้ำที่สุด จนหลายฝ่ายต่างกล่าวกันว่า “แค่น้ำกระเพื่อมรัฐนาวา ก็จม สภาก็ล่มแล้ว” และเป็นจริงดั่งคาด เมื่อเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 พล.อ.ชวลิตร ยงใจยุทธ ประกาศ “ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” ทำให้จำเป็นต้องมีการเลือกนายกฯ ใหม่

และ “ตำนานส.ส.งูเห่า” ก็เกิดขึ้น เมื่อนายวัฒนา อัศวเหม ซึ่งเป็น ส.ส. จากพรรคประชากรไทย จำนวน 13 คน ยกมือโหวตให้ “นายชวน หลีกภัย” เป็นนายกฯ รัฐมนตรี แทนที่จะโหวต พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ทำให้ในวันนั้น นายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในวันที่ 9 พ.ย. 2540

หลังจากการ “แหก” มติพรรคในวันนั้น ทำให้นายสมัคร สุนทรเวช ก็ได้ออกมากล่าวว่า

ตนเองเปรียบเสมือนชาวนา ในนิทานอีสปเรื่อง “ชาวนากับงูเห่า” ที่ไปเก็บเอางูเห่าที่กำลังจะหนาวตายมาไว้ในเสื้อ ให้ความอบอุ่น แต่พองูเห่าได้ความอบอุ่นกลับหันมาแว้งกัดชาวนาจนตาย

ซึ่งหลังจากวันนี้ คำว่า “งูเห่า” จึงได้ถูกใช้ในการเมืองไทยนับตั้งแต่วันนั้นมา