การเมือง ข่าวการเมือง ประชุมสภา

[สด] ประชุมสภา – 27 ต.ค.

เปิดประชุมสภา สมัยวิสามัญ วันที่ 2 (27 ต.ค.)

Home / NEWS / [สด] ประชุมสภา – 27 ต.ค.

ประเด็นน่าสนใจ

  • การประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมัยวิสามัญ ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2
  • วานนี้จบการประชุมสภาพไปเมื่อเวลาราว 20.30 น.
  • ภาพรวมยังคงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

การประชุมสภา 27 ต.ค.

  • สาทิตย์ วงศ์หนองเตย – รัฐบาลควรคิดอย่างจริงจัง การลดการผูกขาด ความยุติธรรมก็สำคัญ, การปฏิรูปต้องมีการพูดคุยกันอย่างจริงจังด้วยเหตุผล แม้ว่าช่วงนี้ไม่ใช่เวลา แต่ต้องคิดอย่างจริงจัง เพราะมีทั้งข้อมูลที่เป็นจริง และเป็นเท็จ ปะปนกันอยู่ เพื่อให้สถาบันสืบทอดต่อไปกับประเทศไทยต่อไปได้ด้วยความเข้าใจ
    .
  • สงวน พงษ์มณี – นอกสภา ใครกล้าสุดๆ ก็ได้รับการยอมรับ ในสภาใครที่กลัวสุด ๆ ทำตามผู้บังคับบัญชาสุด ๆ ก็ได้ก้าวหน้า ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ต่างจากปี 2519 เหมือนกับประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งขณะนี้นอกสภาไปไกลแล้ว ปัญหามากเหลือเกิน
    .
  • หม่อมหลวง ปนัดดา ดิสกุล – ความรู้ ความเข้าใจ และเข้าถึงได้ จึงจะเป็นแนวทางที่เราช่วยกันร่วมกันแก้ปัญหาได้
    .
  • สายัณห์ ยุติธรรม – สถาบันกษัตริย์ผูกพันกับประเทศไทยมายาวนาน ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นกับขบวนเสด็จจึงไม่บังควร
    .
  • ปดิพันธ์ สันติภาดา – ประเด็นการปฏิรูปสถาบันฯ กลายเป็นคำถามในยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรัฐบาลต้องตัดสินใจอย่างถี่ถ้วน ความเห็นต่างที่เกิดขึ้นนำไปสู่การท้าทาย-ต่อสู้ในสิ่งที่ต่างฝ่ายต่างเห็นว่าถูกต้อง แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เราทำร้ายคนที่เรารักในคราวเดียวกัน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่น่าเสียใจ

    ขอให้สภาเป็นพื้นที่พูดคุยกันด้วยเหตุผล ช่วยให้สถาบันเกิดความยั่งยืนได้ ดังที่เห็นในอังกฤษ, ญี่ปุ่น ดังนั้นการที่ตกใจจนเกินไป แล้วปิดประตูทุกสิ่ง ควรนำข้อเสนอมาพูดคุยกัน ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของไทย เพื่อปฏิรูปสถาบันฯ

    ถ้ามีกติกา มีกรอบการพูดคุย จะช่วยให้เราสามารถพูดคุยกันได้อย่างถูกต้อง และก้าวข้ามความขัดแย้ง สร้างฉันทามติ เรื่องใดคุยกันคุยก่อนแก้ก่อน เรื่องใดยังคุยไม่ได้ ก็เว้นไว้ก่อน
    .
  • กิตติ วะสีนนท์ – การไปยื่นหนังสือที่สถานทูตเยอรมนีฯ วานนี้ ซึ่งข้อความในหนังสือนั้นถือเป็นการไม่บังควร – จาบจ้วง และเป็นการชักศึกเข้าบ้าน ข้อเรียกร้องควรดูว่า อะไรเป็นจริงได้-ไม่ได้
    .
  • มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ – ไม่เห็นด้วยในการปฏิรูปสถาบันฯ เลยนั้นไม่เห็นด้วย แต่ควรเปลี่ยนเป็นการสืบสานการครองแผ่นดินโดยธรรมฯ แทน เห็นด้วยและควรแก้ไข รธน. อย่างเร่งด่วน ส่วนการลาออกนั้นขอให้นายกฯ เป็นผู้ตัดสินใจ
    .
  • อันวา สาและ – เสนอให้รบ.รับฟังความคิดเห็น เพราะเยาวชนคนรุ่นใหม่ สนใจการเมืองกันมากขึ้น
    .
  • ไชยา พรหมา – ที่มาของพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ชอบธรรม รวมถึงรบ.ชุดนี้, รธน. ปี 2560 ไม่เป็นประชาธิปไตย รวมถึงที่มาของ สว. ด้วย ดังนั้นไม่สายเกินไปที่จะแก้ไข โดยให้ นายกฯ ลาออก
    .
  • พล.ต.ท. ศานิตย์ มหถาวร – ในการขบวนเสด็จฯ ก็จะมีการเตรียมการไว้แล้ว แต่มีกลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มย่อย ๆ เข้ามา แม้ว่ามีเตรียม จนท. เพิ่มเข้าอีก 1 กองร้อยก็ตาม ก็ยังกันไม่อยู่
    .
  • ระวี มาสฉมาดล – ควรทำประชามติก่อนการแก้ รธน. ว่าจะแก้อย่างไร เพื่อลดข้อขัดแย้งที่ทุกฝ่ายจะยอมรับ เพราะหากสภาฯ เลือกแบบหนึ่งแบบใดก็จะมีฝ่ายที่ไม่พอใจ
    .
  • ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ – ผ่านไปแล้วหนึ่งวัน สิ่งที่เกิดขึ้นในสภา ยังไม่เห็นว่าจะเป็นทางออกของประเทศแต่อย่างใด รบ. ยังไม่ได้แสดงความจริงใจในการหาทางออก มีการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุม ม็อบชนม็อบ

    ให้นายกฯ แสดงความจริงใจด้วยการลาออก
    .
  • ศุภชัย ใจสมุทร – เรื่องโควิด รบ. และประเทศไทยทำได้ดีแล้ว และแทนที่จะได้แก้ปัญหา ศก. กลายเป็นต้องแก้ปัญหาการชุมนุม แต่ในคราวนี้เป้าหมายไม่ใช่การเมือง แต่เป็นปัญหาปากท้อง ปัญหาอนาคต ดังนั้นควรเปิดกว้างให้มีการรับฟังปัญหาอย่างจริงใจ เข้าใจ จึงจะแก้ปัญหาได้ ซึ่งปัญหาศก. ปากท้อง คืออันดับหนึ่งต้องแก้ให้ได้

    พรรคภูมิใจไทยจะเชิดชูสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ใต้ระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และยึดมั่นศาสตร์พระราชา
    .
  • นิคม บุญวิเศษ – รบ.ต้องยอมรับปัญหา แล้วนำมาแก้ไขกัน อย่ามาแย่งความจงรักภักดีและนำมาป้ายสีกัน หากพล.อ.ประยุทธ์ จะอยู่ต้อง ต้องปัญหาศก. ให้ได้, กรณีการขัดขวางขบวนเสด็จฯ นั้นทำไมถึงไม่มี จนท.ปิดกันเส้นทาง นับเป็นความบกพร่องของรบ.
    .
  • เจนต์ ศิรธรานนท์ – โควิด-19 ของไทยเป็นสิ่งที่ต่างชาติเชื่อมั่น ดีกว่าหลายประเทศ การชุมนุมจึงส่งผลต่อความเชื่อมั่น, การขอให้นายกฯ ลาออกโดยไม่มีความผิดอะไร อีกทั้งต่อให้ลาออก ก็ไม่ได้หมายความว่าการชุมนุมจะจบ เพราะข้อเรียกร้องไม่ได้หยุดอยู่เท่านั้น ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จึงเป็นตัวเลือกที่ดีในการปกป้องสถาบัน หยุดการจาบจ้วงสถาบัน
    .
  • ดอน ปรมัตถ์วินัย [ชี้แจงในมุนของก.ต่างประเทศ] – ในอีกมุมหนึ่งชาวต่างชาติต่อไทยว่า เป็นประชาธิปไตย ทั้งจากการแสดงออก, การถ่ายทอดผ่านสื่อฯ ที่ผ่านมาการทำสำรวจก็มีโจมตี, ติ รบ. ตลอดมา ดังนั้นก็จะเห็นว่า มันไม่ได้มีการกดดัน หรือ ปิดสื่อฯ แต่อย่างใด

    ในขณะที่หลาย ๆ ประเทศต่างก็อยากมาไทย เพราะหลายเรื่องที่ดีทำให้เค้าอย่างมา, เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทย ในตปท. ก็มีเฝ้าติดตามอยู่เช่นกัน ซึ่งในต่างประเทศก็มองว่า เป็นเรื่องที่สมดุล เป็นไปตามขั้นตอนตามหลักแล้ว
    .
  • พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ [ชี้แจงกรณี 3 แสน URL, ปิดสื่อฯ ] – สถานการณ์ในโซเซียลในขณะนี้ไม่ได้น่ารักอย่างที่ได้อภิปราย ใส่ร้าย กล่าวร้าย ดังนั้นจึงต้องมีการดำเนินคดีกับผู้ที่ทำผิดกฎหมาย ใครที่ไม่ได้ทำผิด ก็ไม่ได้มีการดำเนินคดีแต่อย่างใด ซึ่งก็ได้ดำเนินคดีไปเพียงราว 2 พันราย ซึ่งก็พิจารณาตามเจตนา

    สื่อฯ เองที่มีบางสื่อที่ไม่ได้เปิดพื้นที่ปลอดภัยตามที่กล่าวอ้าง ซึ่งถ้าเป็นไปตามกฎหมาย ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเสนอแล้วไม่เกิดประโยชน์ จาบจ้วง ก็จึงต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ไม่ได้ใช่ความรู้สึก ว่ากันตามหลักฐาน
    .
  • ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ – ข้อเสนอที่มีการเรียกร้องต้องพิจารณาเจตนาของผู้เสนอว่าจริงใจหรือไม่ เป้าหมายของผู้ชุมนุมชัดเจนแล้ว วัตถุประสงค์การเคลื่อนไหววันนี้ มันไม่ใช่เรื่องเล็ก ดังนั้นต้องเอาความจริงที่อยู่เบื้องหลังมาคุยกัน
    .
  • วิโรจน์ ลักขณาอดิสร – ท่าที่การไม่รับฟ้งเสียงปชช. ทำให้ปัญหาลุกลาม การจับกุม ปิดสื่อฯ เป็นไปไม่ได้ รวมถึงการให้มีปลุกปั่นคนอีกฝั่งออกมา สร้างความแตกแยก นำไปสู่ความรุนแรง, รธน. ปี 60 ออกแบบมาเพื่อรัฐบาล ไม่ใช่เพื่อประชาชน

    ขอให้ ปชช. เข้าใจว่า ท่าที่ของผู้ชุมนุมนั้นเป็นเพราะถูกกดดัน ห้ามถาม ห้ามสงสัย ฯลฯ คนรุ่นใหม่อยู่กับข้อมูล ไม่ใช่อารมณ์ ดังนั้นใช้อำนาจนิยมไม่ได้ ซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องเข้าใจในมุมมองของการปฏิรูปสถาบัน และทุกฝ่ายต้องลดระดับการเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่ง ให้พูดคุยกันด้วยเหตุผล สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนได้พูด

    ขอให้นายกฯ ลาออก, พรรคร่วม รบ. ถอนตัว, ร่างรธน. ใหม่
    .
  • ถวิล เปลี่ยนศรี – ช่องทางรัฐสภาเป็นทางออกในการพูดคุยแก้ปัญหา การรื้อเสาหลักของบ้านเมืองไม่ได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่สถาบัน แต่เป็นเพราะนักการเมืองและนายทุน ซึ่งกำลังถูกคนเหล่านี้เกาะหลังอยู่
    .
  • สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ – เสนอแนวทางให้งดการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม, ระมัดระวังการดำเนินคดี, ตั้ง ส.ส.ร. แก้ รธน. ก่อน ไม่เช่นนั้นการยุบสภา/ลาออก จึงไม่ใช่ทางแก้ปัญหา, รับฟังความเห็นทุกฝ่ายอย่างจริงจัง ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    .
  • สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ – รัฐบาลไม่จริงใจแก้ปัญหา สร้างหนี้สิน ศก.ตกต่ำ สถาบันฯ ได้รับผลกระทบ เกิดความแตกแยกมากว่าที่ผ่านมา คุกคามประชาชน ดังนั้นขอให้เปิดพื้นที่คุยกัน, แก้รธน.โดยเร็ว และลาออก
    .
  • ภราดร ปริศนานันทกุล – เสนอเปิดเวที-พื้นที่รับฟังความคิดเห็น, แก้ไขรธน. ต้องเลิกปิดกั้นข่าวสาร, หยุดใช้ความรุนแรง, หยุดอำนาจพิเศษ-ปฏิวัติ-รัฐประหาร-รัฐบาลแห่งชาติ และหยุดการเสียดสี ไม่เคารพ ไม่ให้เกียรติกัน การปฏิรูปจึงต้องหยุดเสียดสี จาบจ้วง เพราะจะสร้างรอยร้าว,การแตกแตก
    .
  • พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา – ทุกคนพูดถึงเผด็จการ คสช. ควรพูดถึงเผด็จการรัฐสภาด้วย, ปมแก้รธน. ถ้ามันไม่ดี ก็วันนี้ก็เปิดทางให้แก้แล้ว, ที่ผ่านมาทุก รบ. ก็มีใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เช่นกัน อย่าลืมการปมปัญหาก่อนปี 2557 ให้ทบทวนกันด้วย
    .
  • วิรัตน์ วรศสิริน – อย่าผลักไสคนเห็นต่างว่าไม่จงรักภักดี นำความจริงมาพูดกัน

นายชวน ย้ำประเด็นการอภิปรายเกี่ยวกับสถาบันฯ ให้เลี่ยง และเอ่ยถึงเท่าที่จำเป็น

  • ออน กาจกระโทก – ระบบรัฐสภาเป็นช่องทางในการแก้ปัญหาแก้ไข รธน. ตามขั้นตอน เปิดพื้นที่รับฟังปัญหา, ประเด็นนายกฯ ลาออกต้องชี้แจงเหตุผลให้ชัด, จัดการศึกษาให้รู้ถึงความเป็นไทย
    .
  • ธนิกานต์ พรพงษาโรจน์ – ปัญหาที่เกิดขึ้นมีหลายปม จึงควรเปิดเวทีรับฟัง-พูดคุย เพื่อคลายปมทีละปัญหา เพราะหลายปัญหาคือสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม
    .
  • มนพร เจริญศรี – เสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ ลาออก, ตั้ง ส.ส.ร. และแก้ไข รธน. แยกความขัดแย้งทางการเมืองกับสถาบันออกจากกัน คนดีที่มีความจงรักภักดีคนอื่นยังมีอยู่

สรุปการประชุมสภาเมื่อวานนี้

ภาพรวมในการประชุมสภา เมื่อวานที่ผ่านมานั้น ค่อนข้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยในฝั่งของ ครม. มีเพียงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ นายวิษณุ เครืองามลุกขึ้นชี้แจง

ในขณะที่ฝ่ายค้าน ยังคงยืนยันว่า นายกฯ เป็นศูนย์กลางของปัญหา จึงต้องลาออก จึงจะปลดล็อกเงื่อนไขได้ พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตในปมขบวนเสด็จฯ ว่า รบ.ไม่สามารถดูแลเส้นทาง / อารักขาความปลอดภัยได้ / ผู้ชุมนุมเป็นด้วยความสงบ

  • พล.อ.ประยุทธ์ แถลงเปิดอภิปราย ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แต่ก็ต้องค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป เนื่องจากหลายคนยังมีความเชื่อที่แตกต่างกัน
    .
  • นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ยืนยัน นายกต้องลาออก เพราะเป็นต้นตอแห่งปัญหา โดยให้มีการรับฟังปัญหาผู้ชุมนุม, แก้ไข รธน., แก้ไขต้นเหตุของปัญหา
    .
  • ฝ่ายค้านระบุ รัฐบาลไม่จริงใจแก้ปัญหา เปิดสภาฟอกตัว
    .
  • พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ระบุ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นต้นตอแห่งปัญหาทั้งหมด ทั้งการสืบทอดอำนาจ การยึดติดในอำนาจ ยืนยัน ต้องลาออกเท่านั้น โดยยินดีลาออกร่วมกัน
    .
  • ไพบูลย์ นิติตะวัน สนับสนุนให้พล.อ. ประยุทธ์ อยู่ต่อ ปกป้องสถาบัน
    .
  • จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เสนอตั้งกรรมการสมานฉันท์
    .
  • นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ระบุ ต้นตอของปัญหามาจากการสืบทอดอำนาจ คสช. และบริหารงานล้มเหลว
    .
  • นพ. เอกภพ เพียรพิเศษ ยืนยัน การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ การใช้มาตรการของรัฐบาลไม่ชอบธรรม ขัดหลักสากล
    .
  • นพ.เรวัต วิศรุตเวช ระบุ พล.อ. ประยุทธ์ มีปัญหาเรื่องภาวะผู้นำ ทำให้เป็นชนวนเหตุ ดังนั้นต้องลาออกเพื่อยุติความรุนแรง เปิดทางออกของประเทศ
    .
  • นายเสรี สุวรรณภานนท์ อภิปราย ปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นและสะสมมาเป็นเวลานานแล้ว รัฐบาลต้องแสดงผลงานให้ชัดเจน พร้อมระบุว่า เป็นการเล่นการเมืองจนเกินเลย ทำให้สังคมแตกแยก ขอให้ผู้ชุมนุมเข้าใจปัญหาอย่างสมเหตุสมผล
    .
  • จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ระบุ ถอยคนละก้าวคงไม่ได้ เพราะพล.อ.ประยุทธ์ บริหารประเทศมา 7 ปีแล้ว ดังนั้นต้องถอยไกล ๆ นั่นคือการลาออกนั่นเอง
    .
  • อำพล จินดาวัฒนะ เสนอตั้ง ส.ส.ร. แก้ไขรัฐธรรมนูญ เปิดทางแก้ไขปัญหา ไม่ให้ลุกลามบานปลาย
    .
  • ปมขบวนเสด็จฯ ฝ่ายค้านตั้งขอสังเกต ว่าเป็นข้อบกพร่องของรัฐบาลในการถวายการอารักขา ไม่ควรใช้เส้นทางดังกล่าว ไม่กั้น/จัดการอารักขา
    .
  • นายกฯ แจงปม คำพูดอย่าท้าท้ายมัจจุราช เป็นเพียงการพูดถึงเฉย ๆ เพราะไปงานศพบ่อย ไม่ได้ขู่ใคร พร้อมยืนยันว่า รัฐสภาเร่งแก้ไข รธน. อยู่ ซึ่งในวาระ 3 จะเสร็จในเดือน ธ.ค. นี้ ก่อนเสนอร่าง พ.ร.บ. ทำประชามติต่อไป

    ส่วนเรื่องการยุบสภา – ลาออกนั้น ซึ่งไม่ว่าทางใด ครม. ก็ต้องหลุดตำแหน่งทั้งคระ
    .
  • วิษณุชี้แจง หากนายกฯ ลาออก ต้องเลือกนายกฯ ใหม่ จาก บัญชีรายชื่อ และสุดท้ายก็ต้องได้เสียง ส.ส. 366 เสียง แม้จะตัดสว. ออกไป ซึ่งฝ่ายรัฐบาลก็ต้องเทเสียงให้ฝ่ายค้าน ถึงจะเป็นนายกฯ ได้