ข่าวการเมือง ประชุมสภาสมัยวิสามัญ

ถ่ายทอดสด “ประชุมสภาสมัยวิสามัญ” เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน

วันนี้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 (สมัยวิสามัญ) ระเบียบวาระ เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน การประชุมดังกล่าวมีขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 ต.ค.63 วางกรอบเวลาอภิปรายรวม 23 ชั่วโมง

Home / NEWS / ถ่ายทอดสด “ประชุมสภาสมัยวิสามัญ” เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน

ประเด็นน่าสนใจ

  • วันนี้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 (สมัยวิสามัญ) ระเบียบวาระ เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน
  • การประชุมดังกล่าวมีขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 ต.ค.63 วางกรอบเวลาอภิปรายรวม 23 ชั่วโมง
  • แบ่งเป็นฝ่ายค้าน 8 ชั่วโมง ฝ่ายรัฐบาล สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี ฝ่ายละ 5 ชั่วโมง

วันนี้ 26 ต.ค.63 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 (สมัยวิสามัญ) ระเบียบวาระ เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน “ขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ตามมาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” โดยไม่มีการลงมติ ตามข้อเสนอของคณะรัฐมนตรี โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่การประชุม

โดยกรอบเวลาการอภิปรายที่ประชุมได้วางกรอบเวลาอภิปรายรวม 23 ชั่วโมง แบ่งเป็น

  • ฝ่ายค้าน 8 ชั่วโมง
  • ฝ่ายรัฐบาล 5 ชั่วโมง
  • สมาชิกวุฒิสภา 5 ชั่วโมง
  • คณะรัฐมนตรี 5 ชั่วโมง
  • ประธานรัฐสภาอีก 1-2 ชั่วโมง

สรุปประเด็นการประชุมสภา – 26 ต.ค. 63

สมชาย แสวงการ :

การชุมนุมเป็นสิทธิตาม รธน. แต่เรื่องของโควิด-19 ยังคงต้องระมัดระวัง ซึ่งจากการไปสังเกตของตนในพท.ชุมนุม ตั้งข้อสังเกตว่า ต้นเหตุไม่ใช่เพราะสถาบันฯ รธน. หรือ นายกฯ แต่ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากพวกเราที่อยู่ในสภาฯ ที่เป็นผู้ปราศรัย เป็นท่อน้ำเลี้ยง จึงควรไม่นำปัญหาในสภา ออกไปสู่ถนน

นอกจากนี้ การปราศรัยบนเวทีนั้น มีการก้าวล่วง-ล่วงละเมิดอย่างรุนแรง ในประเด็นขบวนเสด็จนั้นจากการตรวจสอบ เป็นเส้นทางเสด็จตามปรกติ เพื่อขึ้นทางด่วนเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด ซึ่งในการชุมนุมที่ผ่านมา ก็ไม่เคยมีปัญหาแต่อย่างใด แต่ในครั้งนี้แตกต่างออกไป ซึ่งประเด็นนี้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ควรเกิดขึ้นอีก เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้-แก้ไขร่วมกัน

ชวลิต วิชยสุทธิ์ :

รบ.ไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ในประเด็นของขบวนเสด็จนั้น ถือเป็นความผิดพลาดของรัฐบาลที่จะต้องเคลียร์เส้นทางให้กับขบวนเสด็จ ดังนั้นจึงถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล นอกจากนี้ นายกฯ เป็นศูนย์กลางของปัญหาหลาย ๆ อย่าง จึงควรลาออก

ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรณ :

ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับปัญหาและร่วมกันแก้ไขอย่างจริงจังและจริงจัง โดย รบ. จะต้องกล้าที่จะยืนยันว่าจะแก้ รธน. เละมีการเลือกตั้งใหม่ โดยยึดกรอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และอำนาจอธิปไตย ต้องเป็นของปวงชนชาวไทย

เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส : เสนอนายกฯ ลาออก

เสนอให้พล.อ.ประยุทธ์ลาออก เพราะเป็นต้นตอของปัญหา, แก้ไข รธน. ตามข้อเสนอจากร่างของทาง iLaw และมีการยุบสภา เลือกตั้งใหม่ ซึ่งก็ยังไม่ได้รับการตอบสนอง จนลุกลามเป็นการประท้วงใหญ่มากขึ้น การประชุมครั้งนี้ก็เป็นเพียงการซื้อเวลา-ฟอกตัว

แนะรบ. ถอยโดยนำร่างรธน. ของ ปชช. มาเป็นหลัก ให้พล.อ.ประยุทธ์ ลาออก และขอกลุ่มผู้ชุมนุม ถอยโดยไม่แก้หมวด 1 และ 2

NOTE : มีประเด็นการเรียกคำว่าเสียดสี #iheartoo โดยทางพล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ยืนยัน ไม่ถอน และเดินออกจากที่ประชุม

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ : ควรแก้ไข รธน. โดยไม่แตะหมวด 1,2 / ตั้งกรรมการสมานฉันท์

การเปิดสภาฯ เพื่อหาทางออกนั้นเป็นช่องทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยย้ำจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ คือ ยึดมั่นในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ขอให้ทุกฝ่ายลดเงื่อนไข เพื่อแก้ไขปัญหาควรให้มีการตั้ง สสร. และแก้ รธน.ใหม่ โดยไม่แตะหมวด 1 และ 2 ไม่ยื้อเวลา, ตั้งกรรมการคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ให้สภาฯ เป็นเจ้าภาพ

พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ :

รนายกฯ ไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหา การใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม ไม่สำนึกถึงความผิดพลาดของตนเอง การแก้ไข รธน. ก็ไม่ได้รับการแก้ไข การเปิดประชุมสภานี้ เพียงเพื่อฟอกตัว แทนการแก้ไขของปัญหา

ไพบูลย์ นิติตะวัน : เสนอทำประชามติ / พล.อ.ประยุทธ์อยู่ต่อ

นายไพบูลย์ นิติตะวันได้ลุกขึ้นอภิปราย ถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม 3 ข้อคือ ให้นายกฯ ลาออก, แก้ รธน. , ปฏิรูปสถาบัน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของโดยการชุมนุม ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จำเป็นต้องอยู่ในตำแหน่งต่อเพื่อทำหน้าที่ปกป้อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

โดยนายไพบูลย์ ได้เสนอให้มีการทำประชามติออกเสียง

ประเสริฐ จันทรรวงทอง : เสนอแก้ไข รธน. ต้นตอปัญหา

ต้นตอของปัญหาคือ รธน. ปี 2560 ที่ทำให้ที่มาของรบ. ไม่ถูกต้อง ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะของหัวหน้า คสช. โดยมีเจตนาสืบทอดอำนาจ ดังนั้นจึงควรแก้ไข รธน.

นอกจากนี้ มาตรการที่ออกมาในการถอยคนละก้าว ต่างขัดกับสิ่งที่เกิดขึ้น ยังคงมีการจับกุม ใช้อำนาจ ในการจัดการกับผู้ชุมนุม

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ : ให้นายกฯ ลาออก

นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ตนเองผิดหวังต่อการบริหารประเทศของ พล.อ.ประยุทธ์ ตั้งแต่ที่มาที่ไม่ชอบธรรม เป็นผู้นำที่ล้มเหลวในการบริหารประเทศ ไม่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของประชาชน จนมีประชาชนออกมาเรียกร้อง

ในขณะเดียวกันมาตรการที่ออกมาก็ไม่ต่างจากการราดน้ำมันเข้ากองไป มีการใช้ความรุนแรง จับกุมแกนนำ โดยยึดติดกับอำนาจนิยม เพิ่มความขัดแย้งรุนแรง

โดยนายสมพงษ์ ได้เสนอกว่า ให้รัฐบาล ต้องพิจารณารับฟ้งเสียงประชาชนอย่างจริงจัง แก้ไขรัฐธรรมนูญ ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุม และให้นายกฯ ลาออก

10.00 น. – นายกฯ แถลงเปิดประชุม

พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแถลงเปิดประชุมสมัยวิสามัญ พ.ศ.2563 โดยได้กล่าวถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นในการที่จะต้องเดินทาง ศก. แต่ในขณะเดียวกันก็มีการชุมนุมเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดประชุมสภาในครั้งนี้ และมีข้อเรียกร้องต่าง ๆ เกิดขึ้น โดยหลายเรื่องอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการอยู่

ซึ่งนายกฯ ระบุว่า เข้าถึงถึงการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์โลก แต่ในประเทศไทยมีคนหลายสิบล้านคนไม่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง ความอลม่าน ที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากทุกคนมีความเชื่อที่ผ่านมาเป็นของตนเอง จึงต้องรักษาความสมดุลของแต่ละกลุ่มเกิดขึ้น จึงขอให้ทุกฝ่ายใช้ช่องทางสภาในการแก้ปัญหาในขณะนี้

09.30 น. – ประธานฯ ชี้แจงข้อกำหนด

นายชวน หลีกภัย ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับกรอบการประชุมในวันนี้ว่า ต้องอยู่ในประเด็น ไม่ฟุ่มเฟือย วนเวียน ซ้ำซาก ห้ามอ่านเอกสารโดยไม่จำเป็น ห้ามนำวัตถุ/วัสดุใดมาแสดง โดยไม่ได้รับอนุญาตต่อประธานฯ ก่อน รวมถึงห้ามเอ่ยถึง ใส่ร้ายบุคคลใด โดยไม่จำเป็น ร่วมถึงห้ามการกล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อีกด้วย