กฎหมายที่ดิน กฎหมายว่าด้วยการประเมินทรัพย์สินฯ ราชกิจจานุเบกษา

[สรุป] แก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๒ ซื้อขาย-บ้าน-คอนโด ต้องรู้

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ เผยแพร่ประกาศ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งได้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์ในการประเมินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินใหม่ คือ ได้ประกาศให้มีการคิดค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่ จากเดิมนั้น ค่าธรรมเนียมจะคิดในอัตรา ร้อยละ 2 ของราคาประเมินทุนทรัพย์…

Home / NEWS / [สรุป] แก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๒ ซื้อขาย-บ้าน-คอนโด ต้องรู้

ประเด็นน่าสนใจ

  • ค่าธรรมเนียมโอมกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่ จะอ้างอิงราคาประเมินจากบัญชีราคาประเมินทรัพย์สินใหม่ ไม่ใช่ราคาซื้อขายหรือราคาประเมินจากกรมธนารักษ์อีกต่อไป
  • บัญชีราคาประเมินทรัพย์สินฯ นี้ เป็นกฎหมายใหม่ ที่ประกาศพร้อมกับแก้ไขฉบับนี้
  • ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นคือ ค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะเปลี่ยนไป คาดว่าน่าจะแพงขึ้นอีก
  • มีผลบังคับใช้ในอีก 180 วันข้างหน้า ระหว่างนี้ใช้เกณฑ์ค่าธรรมเนียมเดิมต่อไป

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ เผยแพร่ประกาศ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งได้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์ในการประเมินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินใหม่ คือ

ได้ประกาศให้มีการคิดค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่ จากเดิมนั้น ค่าธรรมเนียมจะคิดในอัตรา ร้อยละ 2 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ หรือราคาขาย แล้วแต่ว่าอย่างใดสูงกว่า ซึ่งข้อมูลของราคาประเมินจากกรมธนารักษ์นั้น ซึ่งมีปัญหาในเรื่องของราคาขายที่เกิดขึ้นจริง และราคาประเมินที่มีความแตกต่างกัน

ดังนั้นในกฎหมายที่ดินฉบับใหม่นี้ จึงประกาศให้ใช้ราคาประเมินใหม่ โดยใช้ราคาตาม “บัญชีราคาประเมินทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ” ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ที่มีประกาศออกมาในวันเดียวกันนี้เอง

มาตรา ๑๐๔

การขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในกรณีโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง
ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ให้ผู้ขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเสียค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโดยคำนวณตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามบัญชีราคาประเมินทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ ซึ่งใช้อยู่ในวันที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้น

การขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในกรณีอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ ในวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเสียค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยคำนวณตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ผู้ขอจดทะเบียนแสดงตามความเป็นจริง

ดาวน์โหลด ฉบับเต็มได้ที่นี่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/068/T_0032.PDF

กฎหมายใหม่อีกฉบับ “กฎหมายว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ”

ในตัวกฎหมายใหม่ที่ออกมานี้ ได้กำหนดทรัพย์สินตามกฎหมายฉบับนี้ คือ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เช่นบ้าน อาคาร ตึก หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่คนอยู่อาศัยได้ ใช้งานได้ ประกอบกิจการต่างๆ ได้

ซึ่งทรัพย์สินเหล่านั้น จะต้องมีการตั้งราคาประเมิน จาก “คณะกรรมการประเมินราคาทรัพย์สินฯ” ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายใหม่นี้* และมีการปรับปรุงราคาประเมินใหม่ทุกปี และประกาศในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี

โดยผลของกฎหมายฉบับนี้คาดว่า จะสามารถควบคุมราคาประเมินทรัพย์สินจำพวกที่ดิน บ้าน คอนโดฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันนั่นเอง

แต่แน่นอนว่า ราคาประเมินที่เกิดขึ้น “คาดว่า” จะเป็นราคาที่มีมาตรฐานที่สูงกว่ากรมธนารักษ์ในปัจจุบันอย่างแน่นอน ดังนั้น ผู้ซื้อ-ผู้ขาย ที่ดิน บ้าน คอนโดฯ น่าจะได้รับผลกระทบต่อการประกาศราคาประเมินทรัพย์สินฯ นี้อย่างแน่นอน

ดาวน์โหลด พระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๒