กรมควบคุมโรค โรคชิคุนกุนยา โรคซิฟิลิส โรคมือเท้าปาก โรคระบาด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก

จับตา “5 โรคระบาด” ในไทย ในช่วงนี้

ในช่วงที่ผ่านมามีรายงานการระบาดของโรคหลายๆ โรคที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งหลายโรคนั้นจะมีรอบของการระบาดเกิดขึ้นซ้ำๆ ในช่วงเวลาของแต่ละฤดูกาล โดยล่าสุด จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค รายงานโรคระบาดต่างๆ ออกมาเป็นระยะๆ ทางทีมงาน MThai News จึงได้รวบรวมโรคระบาดที่ต้องเฝ้าระวังในช่วงนี้ โดยมีด้วยกัน โรคไข้เลือดออก โดยในขณะนี้…

Home / NEWS / จับตา “5 โรคระบาด” ในไทย ในช่วงนี้

ในช่วงที่ผ่านมามีรายงานการระบาดของโรคหลายๆ โรคที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งหลายโรคนั้นจะมีรอบของการระบาดเกิดขึ้นซ้ำๆ ในช่วงเวลาของแต่ละฤดูกาล โดยล่าสุด จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค รายงานโรคระบาดต่างๆ ออกมาเป็นระยะๆ ทางทีมงาน MThai News จึงได้รวบรวมโรคระบาดที่ต้องเฝ้าระวังในช่วงนี้ โดยมีด้วยกัน

โรคไข้เลือดออก

โดยในขณะนี้ สถานการณ์ของการระบาดนั้นค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากเป็นช่วงของการเข้าสู่ฤดูฝน จากข้อมูลสถาณการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 27 พฤษภาคม 2562 พบผู้ป่วย 23,622 ราย เสียชีวิต 30 ราย ซึ่งในช่วงนี้เป็นฤดูฝน เป็นฤดูระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงต้องดำเนินการและติดตามสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกอย่างใกล้ชิด ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่พบผู้ป่วยมากเป็นอันดับสองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,267 ราย เสียชีวิต 2 ราย รองจากอันดับหนึ่งคือ จังหวัดนครนครราชสีมา 1,424 ราย

ช่วงอายุ ป่วยและเสียชีวิตมาสุดคือ 5 – 14 ปี มีผู้ป่วย 8,988 เสียชีวิต 10 ราย และ 15 – 34 ปี มีผู้ป่วย 8,310 ราย เสียชีวิต 10 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 22 พ.ค. 62)

ขอแนะนำให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด โดยยึดหลัก 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค คือ 1.เก็บบ้านให้สะอาด ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3.เก็บน้ำ ภาชนะใส่น้ำต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ ทั้งนี้ จะสามารถป้องกันได้ 3 โรคในคราวเดียวกัน คือ 1.โรคไข้เลือดออก 2.โรคติดเชื้อไวรัสซิกา 3.โรคไข้ปวดข้อยุงลาย

นอกจากนี้ ประชาชนควรสังเกตอาการของตนเองและคนในครอบครัว หากมีอาการไข้สูงเฉียบพลันและไข้นานเกินกว่า 2 วัน อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย หน้าตาแดง อาจมีผื่นขึ้นใต้ผิวหนังตามแขนขา ข้อพับ ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัย เพราะหากเข้ามารับการวินิจฉัยช้า อาจเป็นเหตุสำคัญทำให้มีโรคแทรกซ้อนรักษายากขึ้นและเป็นปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตได้

 

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคระบาดยอดฮิต ‘ไข้หวัดใหญ่’ เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ในแต่ละปีมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จำนวนมากและถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคอ้วน หรือผู้ป่วยเด็กเล็กและผู้สูงอายุ

ตัวเลขผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ แบ่งตามรายภาค

จากการเฝ้าระวังสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่ 1 .ม.ค.-23 พ.ค.62 พบผู้ป่วย 159,845 ราย เสียชีวิต 11 ราย โดยจังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ระยอง และเชียงใหม่  นอกจากนี้ ยังพบมีจำนวนเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับโรคไข้หวัดใหญ่  90 เหตุการณ์ เกิดในเรือนจำ 27 เหตุการณ์ โรงเรียน 26 เหตุการณ์ ที่พัก 19 เหตุการณ์ ค่ายทหาร 6 เหตุการณ์ และอื่นๆ 12 เหตุการณ์ คาดว่าในช่วงนี้จะมีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงรอยต่อระหว่างฤดูร้อนกับฤดูฝน

5 จังหวัดผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สูงสุด

ทั้งนี้ สามารถป้องกันเบื้องต้นของโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำ และสบู่ ,ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร หลอดดูดน้ำ , ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด หรือถ้าจำเป็นควรปิดปาก จมูกด้วยหน้ากากอนามัย,กินอาหารปรุงสุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลาง,

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ,ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด,ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ แนะนำให้ฉีดกับคนกลุ่มเสี่ยงได้แก่ คนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หรือเด็กอายุ 6 เดือนถึง 19 ปี โดยแพคเกจฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ จะต่างกันออกไปในแต่ละโรงพยา่บาลส่วนมากอัตราค่าบริการจะเริ่มต้นที่ 800 บาท

สำหรับประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่

  • หญิงตั้งครรภ์
  • เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
  • ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับเคมีบำบัดและเบาหวาน
  • ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
  • ผู้ป่วยธาลัสซีมีย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ
  • ผู้ที่มีโรคอ้วน น้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

กระทรวงสาธารณสุขจะให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ฟรี โดยขอรับบริการวัคซีนได้ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ และสถานพยาบาลเอกชนที่ร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. – 31 ส.ค. 2562

โรคซิฟิลิส

สาเหตุหลักของโรคซิฟิลิส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Treponema pallidum ทางการมีเพศสัมพันธ์ จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เผยว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นี้กลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งในไทย และจำนวนผู้ป่วยซิฟิลิสนั้นก็พุ่งขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากกลุ่มวัยรุ่นช่วงอายุ 15 – 24 ปี ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย มีถึงร้อยละ 30 โรคนี้ จึงกลายเป็นที่ระบาดอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่น

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โรคซิฟิลิส  ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 13 พฤษภาคม 2562 พบผู้ป่วย 3,080 ราย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี คิดเป็น 40.42% รองลงมาคือ กลุ่มผู้ใหญ่อายุระหว่าง 25-34 ปี หรือจำนวน 24.48%

ส่วนวิธีการป้องกันโรคซิฟิลิส ซึ่งสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุดคือ การงดมีเพศสัมพันธ์ หากมีเพศสัมพันธ์ต้องป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัย และพยายามไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติด ปัจจัยที่ทำให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยง

โรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก ซึ่งมีเชื้อจะมีความอันตรายถึงแก่ชีวิตหากได้รับ EV71 โดยโรคมือเท้าปากพบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยจะพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส หากได้รับเชื้อจะมีอาการเป็นไข้ มีตุ่มน้ำใสขึ้นฝ่ามือ ฝ่าเท้า และปาก ซึ่งมีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์จะสามารถหายได้เอง แต่ถ้าหากได้รับเชื้อสายพันธ์รุนแรง อาจมีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทและสมอง ซึ่งรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.– 21 พ.ค.62 มีรายงานผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก 11,107 ราย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กวัยขวบปีที่มีอัตราป่วยสูงถึง 35.29 %  วัย 2 ขวบ จำนวน 21.11% และ 3 ขวบอยู่ที่ 15.27%  ทั้งนี้ 10 จังหวัดที่มีการระบาดสูงสุด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา เชียงราย ภูเก็ต แม่ฮ่องสอน ตาก และจันทบุรี

var divElement = document.getElementById(‘viz1559026353998’); var vizElement = divElement.getElementsByTagName(‘object’)[0]; vizElement.style.width=’100%’;vizElement.style.height=(divElement.offsetWidth*0.75)+’px’; var scriptElement = document.createElement(‘script’); scriptElement.src = ‘https://public.tableau.com/javascripts/api/viz_v1.js’; vizElement.parentNode.insertBefore(scriptElement, vizElement);

ทั้งนี้ เฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ได้ด้วยหลัก 4 ร. คือ 1.รักษาความสะอาดสถานที่ บ้าน โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด 2.รักษาสุขอนามัย หมั่นล้างมือก่อนและหลังกินอาหาร และหลังขับถ่าย ด้วยน้ำและสบู่ รวมทั้งควรจัดเตรียมเครื่องใช้ของเด็กแยกเป็นรายบุคคลไม่ให้ใช้ร่วมกัน

3.รู้ทันสังเกต มีไข้ มีจุด หรือผื่นแดงบริเวณมือ เท้า ปาก อาจมีอาการเจ็บปากน้ำลายไหล ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใสบริเวณรอบๆ อักเสบแดงและแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น ๆ อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน 4.ระวังไข้สูง หอบเหนื่อย ซึม กล้ามเนื้ออ่อนแรง หากพบเด็กมีอาการดังกล่าว ให้รีบพาพบแพทย์ทันที

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “โรคชิคุนกุนยา” เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ เกิดจากเชื้อไวรัส เคยระบาดในหลายพื้นที่ ทั้งยังเคยระบาดในประเทศไทยเมื่อ 10 ปีก่อนทางภาคใต้ พบโรคครั้งแรกที่แอฟริกา โดยชื่อชิคุนกุนยานั้นเป็นภาษาแอฟริกาที่หมายถึงเดินจนตัวงอ เพราะโรคนี้มีอาการเด่นคือปวดข้อมากจนทำให้เดินตัวงอ

กรมควบคุมโรค รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ระบุว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557-2561 พบผู้ป่วยในปี 2561 อัตรา 5.34 ต่อประชากรแสนคน ส่วนรายงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2558-2560 ผู้ป่วยลดลงอย่างต่อเนื่องและต่ำสุดในปี 2560 ซึ่งมีอัตราป่วยเพียง 0.01 ต่อประชากรแสนคน ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ โดยตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 – 28 พฤษภาคม 2562 พบผู้ป่วยสะสม 3,506 ราย อัตราป่วย 5.20 ต่อประชากรแสนคน สูงกว่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาถึง 142 เท่า เป็นเพศหญิง 2,218 ราย เพศชาย 1,288 ราย อัตราส่วนเพศ ชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1 : 1.72 พบได้ทุกกลุ่มอายุ สูงสุดในวัยท่างาน อายุ 15-34 ปี อัตราป่วย7.29ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคืออายุ5 – 14 ปี (6.87) และ 35 – 59 ปี(4.75) สัดส่วนอาชีพรับจ้างสูงสุด ร้อยละ 34.54 รองลงมาคือ นักเรียน (27.30%) และงานบ้าน (10.90%)

ทั้งนี้ รายงานเผยอัตราผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายประจำปี 2562 ภาคใต้มีอัตราผู้ป่วยสูงสุด 35.17 ต่อประชากรแสนคน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.23 ต่อประชากรแสนคน ภาคกลาง 0.09 ต่อประชากรแสนคน และภาคเหนือ 0.07 ต่อประชากรแสนคน รวมทั้งจังหวัดที่มีผู้ป่วยมากสุด 3 อันดับ ได้แก่ ปัตตานี อัตราป่วย 173.38 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือสงขลา 82.70 ต่อประชากรแสนคน และภูเก็ต 79.88 ต่อประชากรแสนคน

ผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายรายสัปดาห์ปี พ.ศ. 2561, 2562 เปรียบเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง
ผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายรายสัปดาห์ปี พ.ศ. 2561, 2562 เปรียบเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (กราฟ-ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค)

สำหรับโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน สามารถลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคได้จากการเก็บบ้านให้สะอาด ป้องกันไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง รวมทั้งระวังไม่ให้มีน้ำท่วมขัง เก็บเศษขยะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ควรให้เด็กเล็กนอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด เพื่อป้องกันยุง และสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด เช่น เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวเพื่อป้องกันยุงกัด หากยุงเยอะก็กำจัดด้วยการใช้ยากันยุง