ยุบพรรค

30 พ.ค. ครบรอบ 12 ปี “ยุบพรรค” ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

วันนี้เมื่อ 12 ปีก่อน คือ 30 พฤษภาคม 2550 ถือเป็นวันที่หน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยต้องบันทึกไว้ เนื่องจาก มีการตัดสิน “ยุบพรรคการเมืองเป็นครั้งแรก” ในประเทศไทย ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ทำให้การตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ถูกจับตามองเป็นอย่างมาก…

Home / NEWS / 30 พ.ค. ครบรอบ 12 ปี “ยุบพรรค” ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

ประเด็นน่าสนใจ

  • ต้นตอมาจากสถานการณ์การเมืองไทยก่อนการรัฐประหารปี 49
  • ในการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 มีการร้องเรียนว่ามีการจ้างพรรคเล็ก ปลอมเอกสาร
  • โดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ร้องเรียนต่อ กกต. ว่า พรรคไทยรักไทยได้มีการจ้างพรรคเล็กๆ ให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้ปลอมแปลงเอกสารข้อมูลสมาชิกพรรค
  • ทางด้านพรรคไทยรักไทย ได้ร้องเรียนต่อ กกต. ว่า พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า เป็นภายต่อความมั่นคงของรัฐ
  • ผลจากการร้องเรียนดังกล่าวทำให้ มี 4 พรรคการเมือง ถูกยุบ ได้แก่ พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคเผ่นดินไทย

วันนี้เมื่อ 12 ปีก่อน คือ 30 พฤษภาคม 2550 ถือเป็นวันที่หน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยต้องบันทึกไว้ เนื่องจาก มีการตัดสิน “ยุบพรรคการเมืองเป็นครั้งแรก” ในประเทศไทย ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ทำให้การตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ถูกจับตามองเป็นอย่างมาก

ที่มาที่ไปของจุดเริ่มต้น การถูกยุบพรรค

ในช่วงปี 2548 – 2549 ถือเป็นปีหนึ่งในประเทศไทยที่มีสถานการณ์ทางการเมืองค่อนข้างตึงเครียดอย่างมาก ด้วยเหตุสถานการณ์การเมืองในขณะนั้น ในประเด็นปัญหาการคอรัปชั่นในรัฐบาล จนไปสู่การยุบสภาในที่สุด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และจัดให้มีการเลือกอีกครั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549

ในการเลือกตั้งในครั้งนั้น ได้มีกลุ่มพรรคฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ได้ทำหนังสือให้ พรรคไทยรักไทย มาร่วมลงนามให้สัตยาบันว่า หลังการเลือกตั้ง จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ซึ่งพรรคไทยรักไทยปฏิเสธการลงสัตยาบันดังกล่าว ทั้ง 3 พรรค จึงได้ประกาศ “คว่ำบาตร” การเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัครลงชิงตำแหน่ง ส.ส.

กระแสของการ “คว่ำบาตร” การเลือกตั้ง นำมาสู่กระแสของการ vote no หรือ “ไม่ประสงค์ลงคะแนน” เนื่องจากกติกาในการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 นั้น ได้ระบุไว้ว่า

เขตใดที่มีผู้สมัครส.ส. เพียง 1 คน ต้องได้คะแนนเสียงเกินกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตนั้น

ด้วยเหตุนี้เกิดประเด็น “การจ้างพรรคเล็ก” ให้ลงสมัครเลือกตั้งในเขตที่คาดว่าจะมีส.ส. ลงสมัครเพียงคนเดียว หลังการคว่ำบาตรการเลือกตั้งของ 3 พรรคการเมืองข้างต้น

นอกจากนี้ ในช่วงปลายเดือน มีนาคม 2549 ก่อนจะมีการเลือกตั้ง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ พรรคประชาธิปัตย์ (ในขณะนั้น) ได้เข้าร้องเรียนต่อ กกต. ว่า มีการจ้างพรรคเล็กลงสมัครเลือกตั้ง เพื่อหนีเกณฑ์คะแนนเสียง 20% โดยกล่าวในคำร้องว่า

พรรคไทยรักไทย ได้ให้เงินสนับสนุนแก่พรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทย เป็นค่าใช้จ่ายในการลงสมัครการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เพื่อเลี่ยงการที่ผู้สมัครฯ จะต้องได้คะแนนเกินร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตนั้นๆ รวมทั้งมีการปลอมเอกสารเพื่อให้สมาชิกของพรรคพัฒนาชาติไทย มีเป็นสมาชิกเกิน 90 วันอีกด้วย ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้น ไม่ครบ 90 วันตามกฎหมายเลือกตั้ง

ในขณะเดียวกัน พรรคไทยรักไทย ก็ได้ร้องเรียนต่อ กกต. ว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการปราศรัยใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ใช้เอกสารเท็จที่อ้างว่าเป็นเอกสารการสมัครสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า น้อยกว่า 90วัน เพื่อให้เข้าใจว่า พรรคไทยรักไทยเป็นผู้จ้างวานให้ลงสมัครเลือกตั้ง รวมทั้งอยู่เบื้องหลังการขัดขวางการสมัครรับ ส.ส. ลงสนามเลือกตั้งที่ จ.สงขลาด้วย ถือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง

สารพันปัญหาหลังการเลือกตั้ง 2 เมษายน 49

ภายหลังจากการจัดให้มีการเลือกตั้งในปี 2549 นั้น สถานการณ์การเมืองไทย ยังคงดุเดือด ผลการเลือกตั้งที่ออกมานั้น โดยเฉพาะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จากจำนวนผู้ใช้สิทธิ์เกือบ 29 ล้านคน มีผู้ “ไม่ประสงค์ลงคะแนน” ถึง 9.6 ล้านคน บัตรเสียอีก 3.7 ล้านใบ เหลือเป็นบัตรที่นับคะแนนได้ 15.6 ล้านคะแนน พูดง่ายขึ้นคือ คะแนน ส.ส. แบบแบ่งเขตเหลือเป็นคะแนนแค่ เกินครึ่งมานิดเดียว หรือราว 54%

ในส่วนของคะแนนแบบบัญชีรายชื่อ สัดส่วนก็ไม่ต่างกันมากนัก เมื่อมีผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนราว 31% บัตรเสียราว 5.7%

นอกจากนี้ ปัญหาการเลือกตั้งในหลายๆ ประเด็นจึงทำให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา จึงได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในเรื่องของการเลือกตั้ง 2 เม.ย. 49 และนำไปสู่ การเพิกถอนการเลือกตั้ง และมีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549

ข่าวลือเป็นจริง “รัฐประหารปี 49”

แต่ยังไม่ถึงวันเลือกตั้ง ท่ามกลางสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง 19 ก.ย. 49 ก็เกิดรัฐประหารขึ้น โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ

ภายหลังจากการรัฐประหาร 2549 ก็ได้มีการยกเลิก รธน. ปี 40 ทำให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกตามไปด้วย จึงได้มีการแต่งตั้งขึ้นใหม่อีกครั้ง พร้อมๆ กับการออกประกาศของ คปค. ฉบับที่ 27 ให้พ.ร.บ. พรรคการเมืองมีผลบังคับใช้

30 พฤษภาคม 2550 ตุลาการศาลรัฐธรรมธูญ มีมติให้ “ยุบพรรค” 4 พรรคการเมือง

หลังจากมีการพิจารณาคำร้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้เริ่มกระบวนการไต่สวนพยานในช่วงกลางเดือน มกราคม 2550 และมีการไต่สวนต่อเนื่องกันไป ใน 5 คำร้องให้มีการยุบพรรค คือ

  • คำร้องให้ยุบพรรคไทยรักไทย
  • คำร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
  • คำร้องให้ยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า
  • คำร้องให้ยุบพรรคพัฒนาชาติไทย
  • คำร้องให้ยุบพรรคแผ่นดินไทย

โดยหลังจากที่มีการไต่สวนเป็นที่เรียบร้อย ตุลาการศาลนัดวันอ่านคำวินิจฉัย ในวันที่ 30 พ.ค. 2550 หรือวันนี้เมือ 12 ปีที่แล้ว โดยได้มีการถ่ายทอดสดออกทางโทรทัศน์ ในระหว่างอ่านคำวินิจฉัยด้วย ซึ่งได้มีการอ่านคำวินิจฉัยในกลุ่ม 2 ก่อน ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ก่อน ในเวลา 13.30 น.

ผลคำวินิจฉัยให้ยกคำร้อง พรรคประชาธิปัตย์

และให้ยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า รวมทั้งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าด้วย

หลังจากนั้น ก็ได้มีการอ่านคำวินิจฉัย ในกลุ่มที่ 1 คือ คำร้องให้ยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย

ผลคำวินิจฉัย ให้ยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย

และให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน พรรคพัฒนาชาติไทย 19 คน และพรรคแผ่นดินไทย 3 คน มีกำหนด 5 ปี

ซึ่งหลังจากนั้นจึงเป็นที่มาของต้นกำหนด บ้านเลขที่ 111 ในที่สุด ถือเป็นการยุบพรรคการเมืองครั้งแรกในประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของการเมืองไทย แม้ว่าภายในหลังปี