หลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ออกมาเอ่ยถึงหนังสือเรื่อง AnimalFarm ว่า อยากให้คนไทยได้อ่านกัน ส่งผลให้กระแสของหนังสือดังกล่าวถูกกล่าวถึงอย่างมาบนโลกออนไลน์ ตลอดทั้งวันนี้ ทำให้มีหลายๆ คนโดยเฉพาะสายการเมืองที่กล่าวถึงนัยยะของหนังสือเรื่องดังกล่าว
แม้ว่า พลเอกประยุทธ์ ผู้เปิดประเด็นหนังสือเล่มนี้ ได้ออกมากล่าวว่า การแนะนำให้อ่านหนังสือ Animal Farm นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับนัยยะทางการเมืองแต่อย่างใดก็ตาม
Animal Farm = การเมือง?!
แม้ว่า พลเอกประยุทธ์ ผู้ที่เป็นผู้เปิดประเด็นหนังสือ Animal Farm จะกล่าวว่า ไม่ได้มีนัยยะทางการเมือง แต่จริงๆ แล้ว หนังสือ Animal Farm ของจอร์จ ออร์เวลล์ นั้นเป็นวรรณกรรมที่หลายคนต่างกล่าวถึงว่า เป็นวรรณกรรมที่เสียดสีการเมืองอย่างแสบสันเล่มหนึ่งทีเดียว โดยนิยายเล่มนี้ ถูกแต่งขึ้นในช่วงราวปี 1945 โดยใช้เป็นช่องทางในการสะท้อนเหตุการณ์ทางการเมืองภายใต้อำนาจของ สตาร์ลิน
ดังนั้นเนื้อหา โดยรวมแม้ว่าจะเป็นเรื่องของ “หมู” ภายในฟาร์มที่มีชายผู้หนึ่งเป็นเจ้าของและควบคุมกิจการ และเหล่าบรรดาสัตว์เลี้ยงในฟาร์มต่างก็ไม่พอใจ โดยมี หมูหนึ่งตัวที่ได้ทิ้งอุดมการณ์ในการปกครองฟาร์มไว้ก่อนตาย ทำให้บรรดาสัตว์ในฟาร์มได้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่ชอบธรรมเหล่านั้น แต่กลายเป็นว่า นโปเลียน ผู้นำหมูตัวใหม่ของฟาร์มกลับเผด็จการกว่าเดิมเสียอีก จนนำมาสู่เรื่องราวต่างๆ มากมาย
การดำเนินเรื่องนั้น ใช้สัตว์ต่างๆ ในฟาร์มเป็นตัวดำเนินเรื่องและแทรกมุมมองการเสียดสีทางแนวคิด-การเมือง ไว้ในแทบทุกจังหวะ จึงไม่แปลกใจได้เลยที่ หนังสือ Animal Farm ได้รับความนิยมและมีการตีพิมพ์ไปทั่วโลก จนได้รับการยกย่องเป็นวรรณกรรมที่เสียดสีการเมืองระดับตำนานเล่มหนึ่ง
ลำดับแปลและตีพิมพ์หนังสือ Animal Farm ในไทย
- ฟาร์มเดรัจฉาน แปลโดย ม.ล. นิภา ภานุมาศ (พ.ศ. 2502)
- สัตวรัฐ แปลโดย อุทุมพร ปาณินทร์ สำนักพิมพ์แพร่พิทยา (พ.ศ. 2515)
- การเมืองของสัตว์ แปลโดย วิเชียร อติชาตการ สำนักพิมพ์เคล็ดไทย (พ.ศ. 2518)
- แอนนิมอล ฟาร์ม แปลโดย ศุภรางค์ เผ่าพันเลิด สำนักพิมพ์แพร่พิทยา (พ.ศ. 2518)
- ฟาร์มสัตว์ แปลโดย สายธาร สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น (พ.ศ. 2520)
- รัฐสัตว์ แปลโดย เกียรติขจร ไชยแสงสุขกุล สำนักพิมพ์มติชน (พ.ศ. 2544)
- แอนิมอล ฟาร์ม แปลโดย พันเอก ดร. ชัยพฤกษ์ ปิลกศิริ สำนักพิมพ์กู๊ดมอร์นิ่ง (พ.ศ. 2549)
- แอนิมอล ฟาร์ม สงครามกบฏของสรรพสัตว์ แปลโดย บัญชา สุวรรณานนท์ สำนักหนังสือไต้ฝุ่น (พ.ศ. 2555)
โดยจุดสังเกตที่น่าสนใจคือ ในช่วงปี 2515-2518 นั้น มีการแปล และตีพิมพ์ถึง 3 ครั้งด้วยกัน โดยเฉพาะในปี 2518 เพียงปีเดียว มีการแปลถึง 2 ครั้งด้วยกัน ซึ่งสะท้อนนัยยะทางการเมืองก่อนการเกิดเหตุการณ์ อย่าง 14 ตุลา 2516, 6 ตุลา 2519
>> นักวิชาการยืนยัน Animal Farm เป็นหนังสือเกี่ยวกับการเมือง
1984 อีกหนึ่งเล่ม จากผู้เขียนคนเดิม จอร์จ ออร์เวลล์
นอกจากหนังสือเรื่อง Animal Farm แล้วยังมีหนังสือ 1984 อีกหนึ่งเล่ม ที่นับเป็นผลงานวรรณกรรมที่เสียดสีการเมืองสนุกน่าติดตามอีกหนึ่งเล่ม จากผู้เขียนคนเดิม เป็นเรื่องราวนั้นอ้างอิงสภาวะของสถานการณ์ขั้วอำนาจช่วงสงครามโลกครั้งที่ 3 โดยอ้างอึงถึงโลกในอนาคตที่เหลือเพียงขั้วอำนาจใหญ่ 3 ขั้ว คือ โอเชียเนีย ยูเรเซีย และอิสเตเชีย
เหตุการณ์ในเรื่องอ้างอิงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน ลอนดอน เมืองหลวงของแอร์สตริปวัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งโอเชียเนีย ที่ปกครองโดยระบบสังคมนิยม ใช้ภาษา Ingsoc มีโฆษณาชวนเชื่อเต็มเมืองจาก พี่เบิ้ม (Big Brother) ที่คอยควบคุมให้ทุกคนคิดเหมือนกัน หากใครคิดแปลกแยกออกไปจะกลายเป็น อาชญกรรมทางความคิดทันที ซึ่งผู้คนจะถูกจ้องมอง – จับจ้อง – ตรวจตาความคิดอยู่ตลอดเวลา ตามสโลแกน
“BIG BROTHER IS WATCHING YOU”
กระแส #หมดเวลาหมูครองเมือง #animalfarm
หลังจากเป็นประเด็นเกิดขึ้น ก็เกิดกระแสของ #Animalfarm มีผู้คนมากมายมาร่วมแสดงความคิดถึงถึงหนังสือเล่มนี้ โดยเฉพาะคนดังในด้านการเมืองที่ต่างออกมาเอ่ยถึงประเด็นหนังสือ Animal Farm ผ่าน hashtag #animalfarm และ #หมดเวลาหมูครองเมือง
อภิสิทธิ์ ห่วงคนอ่านไม่เข้าใจ
ในวันนี้ นักข่าวได้ถามถึงหนังสือ Animal Farm ว่า ได้แล้วหรือยัง ซึ่งนายอภิสิทธิ์ได้ตอบเพียงสั้นๆ ว่า
เป็นห่วงกลัวว่าผู้อ่านจะไม่เข้าใจมากกว่า
ธนาธร ยกประโยคเด็ดใน #AnimalFarm
ในกระแสของการกล่าวถึงที่ทุกคนเห็นจะจับจ้องไปในเวลานี้ คงไม่พ้น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ล่าสุด ได้ออกมาทวีตข้อความถึง หนังสือ Aninalfarm โดยอ้างอิงวาทะของหมูในหนังสือดังกล่าว
“สัตว์ทุกตัวเท่าเทียมกัน แต่สัตว์บางตัวเท่าเทียมกว่าตัวอื่นๆ”
ช่อ พรรณิการ์ ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ “อยากให้คนไทยได้อ่านเช่นกัน”
โดย น.ส.พรรณิการ์ ได้เอ่ยถึงประเด็นของหนังสือ Animall Farm ด้วยเช่นกัน โดยให้ความเห็นว่า อยากให้คนไทยได้อ่าน เพื่อเป็นความรู้มากขึ้น รวมทั้งกล่าวว่า
“ถ้าเสรีภาพจะมีความหมายสักความหมาย มันจะต้องหมายถึงเสรีภาพในการพูดสิ่งที่ผู้คนไม่อยากได้ยิน”
ไทกร พลสุวรรณ์ เปรียบเทียบการเมืองไทยตอนนี้ เป็น Aninal Farm ของจริง
นายไทกร ได้โพสต์เฟซบุ๊กให้ความเห็นในประเด็นหนังสือเล่มนี้ว่า ตนเองเข้าใจในประเด็นที่ท่านผู้นำสื่อออกมา โดยนายไทกรได้ตีความถึง “หมูน้อย” ที่มีวาทกรรมในการโน้มน้าวสัตว์ในฟาร์มให้เชื่อถือ เพื่อทำให้ฟาร์มที่มีความวุ่นวาย กลายเป็นฟาร์มที่สงบสุข แต่เมื่อเวลาผ่านไป กลายเป็น “เผด็จการ” ไปในที่สุด
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ โพสต์เฟซบุ๊ก พร้อมภาพขณะกำลังอ่าน Animal Farm
โดย น.อ. อนุดิษฐ์ ได้โพสต์รูป พร้อมประโยคจากในหนังสือ Animal Farm หน้า 44 ว่า
นโปเลียนไม่ได้เสี่ยงตายเพื่อ “ลัทธิสัตว์” ไม่มีส่วนร่วมในการลุกฮือปฏิวัติ ไม่เคยต่อสู้แบบเสี่ยงตาย ไม่สนใจทำแอนนิมอลฟาร์มให้เจริญรุ่งเรือง สนใจเพียงแต่การมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ และใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในแอนนิมอลฟาร์ม
ส่งท้ายประโยคเด็ดๆ บางส่วนจาก Animal Farm
- “All animals are equal, but some animals are more equal than others.”
- “The creatures outside looked from pig to man, and from man to pig, and from pig to man again; but already it was impossible to say which was which.”
- “The distinguishing mark of man is the hand, the instrument with which he does all his mischief.”
- “Weak or strong, clever or simple, we are all brothers.”
- “I trust that every animal here appreciates the sacrifice that Comrade Napoleon has made in taking this extra labour upon himself. Do not imagine, comrades, that leadership is a pleasure! On the contrary, it is a deep and heavy responsibility. No one believes more firmly than Comrade Napoleon that all animals are equal. He would be only too happy to let you make your decisions for yourselves. But sometimes you might make the wrong decisions, comrades, and then where should we be?”