กองทัพบก ทวิตเตอร์ บัญ IO ไอโอ

‘ทวิตเตอร์’ ปิดบัญชีไอโอ จาก 5 ประเทศ ไทยมี 926 บัญชี เชื่อมโยงกองทัพบก

ทวิตเตอร์ เผยแพร่ผลการตรวจจับบัญชีผู้ใช้ที่เห็นเด่นชัดว่าเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการด้านข่าวสาร หรือ ไอโอ พร้อมระงับบัญชีไอโอ 1,594 บัญชีอย่างถาวร จากทั้ง 5 ประเทศ

Home / NEWS / ‘ทวิตเตอร์’ ปิดบัญชีไอโอ จาก 5 ประเทศ ไทยมี 926 บัญชี เชื่อมโยงกองทัพบก

ประเด็นน่าสนใจ

  • ทวิตเตอร์ เผยแพร่ผลการตรวจจับบัญชีผู้ใช้ที่เห็นเด่นชัดว่าเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการด้านข่าวสาร หรือ ไอโอ พร้อมระงับบัญชีไอโอ 1,594 บัญชีอย่างถาวร จากทั้ง 5 ประเทศ
  • เนื่องจากเป็นการฝ่าฝืนนโยบายการใช้งานของแพลตฟอร์ม
  • ปฏิบัติการไอโอที่สามารถเชื่องโยมกับกองทัพบกไทย และถูกระงับไป 926 บัญชี

วันนี้ (9 ต.ค.2563) ทวิตเตอร์ (Twitter) ได้เผยแพร่ผลการตรวจจับบัญชีผู้ใช้ที่เห็นเด่นชัดว่าเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการด้านข่าวสาร หรือ ไอโอ (information operations) ประกอบด้วยหน่วยปฏิบัติการข่าวอิสระที่เชื่อว่าเป็นของ อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย คิวบา ไทย และรัสเซีย

โดยทวิตเตอร์ได้ระงับบัญชีไอโอ 1,594 บัญชีอย่างถาวร จากทั้ง 5 ประเทศ เนื่องจากเป็นการฝ่าฝืนนโยบายการใช้งานของแพลตฟอร์ม พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลนี้กับหน่วยสังเกตการณ์อินเทอร์เน็ตสแตนฟอร์ด (SIO) เพื่อการสืบสวนและวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

สำหรับประเทศไทยทวิตเตอร์ ตรวจสอบพบเครือข่ายที่ร่วมปฏิบัติการไอโอและได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สามารถเชื่องโยมกับกองทัพบกไทย โดยบัญชีเหล่านี้มีส่วนร่วมในการกระจายเนื้อหาสนับสนุนกองทัพและรัฐบาล รวมถึงสอดส่องพฤติกรรมของฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองที่มีชื่อเสียง

“ทวิตเตอร์เปิดเผย 926 บัญชีในวันนี้ และยังคงบังคับใช้มาตรการนี้กับกิจกรรมเล็กๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายนี้ต่อไป หากตรวจสอบพบเพิ่มเติม”

เป้าหมายของการเปิดเผยข้อมูลในครั้งนี้ คือ การสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะเกี่ยวกับการที่ผู้มีอำนาจในแต่ละรัฐพยายามที่จะละเมิดและทำลายการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ และเพื่อสานต่อภารกิจนี้ ทวิตเตอร์ได้จัดการประชุมออนไลน์ ซึ่งเชิญเหล่าผู้เชี่ยวชาญในแขนงนี้มาอภิปรายเกี่ยวกับความร่วมมือและแนวทางในการวิจัยเกี่ยวกับวิกฤตการณ์นี้อย่างเจาะลึกมากขึ้น พร้อมผลักดันเรื่องนี้ในปี 2021

“ทวิตเตอร์ประกาศความรับผิดชอบในการปกป้องการสนทนาสาธารณะและยับยั้งอำนาจของรัฐต่อผู้ใช้งาน โดยจะอัพเดตฐานข้อมูลของเราต่อไป เพื่อให้สาธารณะ ผู้สื่อข่าว และเหล่านักวิจัยสามารถเข้าถึงและวิเคราะห์เครือข่ายเหล่านี้ได้”