ข่าวสดวันนี้ พายุฤดูร้อน

อุตุฯ ประกาศเตือนพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบนฉบับที่ 15

กรมอุตุนิยมวิทยา อกกประกาศเตือนประชาชน ที่อาจได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ซึ่งมีผลกระทบจนถึงวันที่ 3 เมษายน 2562 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง…

Home / NEWS / อุตุฯ ประกาศเตือนพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบนฉบับที่ 15

กรมอุตุนิยมวิทยา อกกประกาศเตือนประชาชน ที่อาจได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน

“พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ซึ่งมีผลกระทบจนถึงวันที่ 3 เมษายน 2562 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

โดยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่า จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

โดยผลกระทบตามภาคต่าง ๆ มีดังนี้วันที่ 3 เมษายน 2562 ภาคเหนือ จังหวัดตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ และน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา และชัยภูมิ ภาคกลาง จังหวัดนครปฐม สมุทรสงคราม ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และจันทบุรี

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด และทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบางพื้นที่

 

เกร็ดความรู้ : วิธีเตรียมตัวก่อนเกิดพายุฝน

1. วางแผนล่วงหน้าให้รอบคอบ โดยติดตามฟังพยากรณ์อากาศเป็นประจำ หากวันไหนที่คาดว่าจะมีพายุฝนควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่เสี่ยงอันตราย

2. หากต้องเดินทางออกนอกบ้านให้สังเกตสภาพฟ้าอากาศอย่างต่อเนื่อง เช่น ฝนตก ฟ้ามืด หรือลมแรงผิดปกติ เพราะเป็นสัญญาณที่แสดงว่าพายุฝนกำลังจะเคลื่อนเข้ามา

3. คำนวณจากเสียง หากเห็นแสงฟ้าผ่าและเสียงฟ้าร้องตามมาอีก 30 วินาทีให้หลัง ควรรีบหาที่หลบทันที

4. เตรียมไฟฉายหรือเทียนเอาไว้ใช้ช่วงไฟฟ้าดับ

5. เตรียมเบอรโทศัพท์ฉุกเฉินเอาไว้ เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือมีคนได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า