ประธานาธิบดี เลือกตั้งสหรัฐ โจ ไบเดน โดนัลด์ ทรัมป์

ดีเบทครั้งแรกของ ทรัมป์ – ไบเดน ดุเดือด-ปั่นป่วน

ดีเบทครั้งแรก ของผู้ลงสมัครชิงตำแหน่ง ปธน. สหรัฐฯ ระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ - โจ ไบเดน เต็มไปด้วยความสับสน - แทรก

Home / NEWS / ดีเบทครั้งแรกของ ทรัมป์ – ไบเดน ดุเดือด-ปั่นป่วน

ประเด็นน่าสนใจ

  • ในการดีเบทครั้งแรก ของผู้สมัครเลือกตั้งสหรัฐฯ ของโดนัลด์ ทรัมป์ และโจ ไบเดน ซึ่งสถานการณ์เป็นไปอย่างดุเดือด
  • มีการพูดแทรกจากทั้งฝ่ายทรัมป์ และไบเดน ระหว่างการดีเบท หลายครั้ง ซึ่งโดยในครั้งนี้ ทรัมป์ จะเป็นผู้แทรกหลายครั้ง
  • ประชาชน-ผู้ติดตาม จำนวนมากต่างระบุว่า เป็นการดีเบทที่ไม่ได้มีการประเด็นที่น่าสนใจมากนัก มีเป็นเพียงการถกเถียงกันไปมา และพูดแทรกกัน
  • ปมในการดีเบทในวันนี้ 6 หัวข้อด้วยกันคือ ประวัติ/ผลงาน, ศาลสูงสหรัฐฯ, โควิด-19, ภาวะเศรษฐกิจ, เชื้อชาติ-ความรุนแรง

วันนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ทั้งสองรายคือ ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน และ โจ ไบเดน จากพรรคเดโมเครต ได้ขึ้นเวทีแสดงวิสัยทัศน์ และเป็นครั้งแรกที่ทั้งสองรายพบกันครั้งแรกอีกด้วย

ซึ่งตลอดระยะเวลาของการแสดงวิสัยทัศน์ ในครั้งนี้ ชาวอเมริกันหลายคนต่างแสดงความผิดหวัง เนื่องจากในสาระสำคัญของการแสดงวิสัยทัศน์ เป็นการสาดถ้อยคำเสียดสีเข้าหากัน รวมถึงมีการพูดแทรกกันหลายครั้ง โดยเฉพาะทรัมป์ ที่ได้มีการพูดสวนขึ้นมาในระหว่างที่ ไบเดน กำลังตอบคำถาม คริส วอลเลส ซึ่งเป็นผู้ดำเนินรายการอยู่หลายครั้ง

นี่เป็นการดีเบตที่แย่ที่สุดตั้งแต่เคยเห็นมา

จนทำให้ วอลเลส ต้องให้คอยเบรคและห้ามทัพอยู่เป็นระยะ ๆ ส่วนสาระสำคัญของคำตอบกลับมีไม่มากนัก และเสียเวลาไปกับการตอบโต้กันระหว่าง ทรัมป์ และ ไบเดน

นอกจากยังมีหลายคนกล่าวว่า คริส วอลเลส ไม่สามารถควบคุมการดีเบทในครั้งนี้ได้ ปล่อยให้มีการพูดแทรกเกิดขึ้น รวมถึงไม่สามารถเบรคหรือหยุดการพูดแทรกที่เกิดขึ้นได้

ปม ผู้พิพากษาศาลสูง ของสหรัฐฯ

ในคำถามถึงการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูง ของสหรัฐฯ ในประเด็นนี้ ทรัปม์ระบุว่า ตนเองสามารถทำได้ และต้องทำอย่างรวดเร็วด้วย ส่วนทางด้านของไบเดน เห็นว่า ควรจะแต่งตั้งหลังจากมีการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว คือหลัง 3 พ.ย. เนื่องจากการเพิ่มผู้สายอนุรักษนิยมเข้าไปในศาลสูง นั้นกระทบต่อการตัดสินใจเรื่องของกฎหายประกันสุขภาพ หรือ โอบามาแคร์

คำถามเกี่ยวกับระบบสุขภาพ

การยกเลิก โอบามาแคร์ หรือกฎหมายประกันสุขภาพของโอบามา ซึ่งถูกใช้เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงการดูแลด้านสุขภาพ – รักษาพยาบาลให้สามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพของสหรัฐฯ นั้นสูงเป้นลำดับต้นๆ ของโลก โดย วอลเลสได้ถามถึงประเด็นการยกเลิกโอบามา แคร์ กับทรัมป์ ซึ่งทรัมป์ ได้ตอบว่า ตนเองมีแผนอยู่แล้ว เมื่อวอลเลสถามจี้ในประเด็นนี้ จึงเริ่มมีการตอบโต้กลับจากทรัมป์ จนทำให้ วอลเลสในฐานะผู้ดำเนินรายการต้องกล่าวว่า

“คนที่คุณกำลังดีเบทด้วยคือ ไบเดน ไม่ใช้ผม”

ซึ่งในมุมนี้ ทรัมป์ไม่ได้ตอบถึงแผนหรือนโยบายที่ชัดเจน ระบุเพียงว่า มีแผนอยู่แล้ว ก่อนเลี่ยงไปโจมตี Medicare for all ว่าเป็นการช่วยเหลือโดยเปล่าประโยชน์

ไบเดนตอบโต้ในประเด็นนี้ว่า ระบบประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น เป็นเรื่องที่รัฐจะต้องดูแล-ดำเนินการ ช่วยเหลือประชาชน

เกี่ยวกับโอบามาแคร์

  • กฎหมายประกันสุขภาพ หรือโอบามาแคร์ นั้นจัดทำขึ้นสมัยโอบามา ด้วยเหตุผลเพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงระบบสุขภาพได้มากขึ้น
  • ค่ารักษาต่าง ๆ ของสหรัฐฯ แพงมาก ๆ ดังนั้นกลุ่มชนชั้นกลางขึ้นไป จึงเลือกซื้อประกันสุขภาพ เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงการรักษาได้ ในขณะที่กลุ่มชนผิวสี, คนยากไร้, ผู้ว่างงาน ก็จะไม่มีโอกาสหรือเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ยาก
  • กลุ่มฐานเสียงของทรัมป์ เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อประกันสุขภาพได้ จึงไม่ชอบนโยบายดังกล่าว โดยมองว่า เป็นการนำเงินภาษีไปอุ้มคนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

ปม white supremacist

ประเด็นหนึ่งของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ในขณะนี้ ทางฝ่ายไบเดนและผู้สนับสนุน มองว่า ทรัมป์ให้ท้ายหรือสนับสนุนกลุ่ม White Supremacist หรือกลุ่มที่มองว่า ชนผิวขาวเป็นใหญ่ ในขณะที่ทางฝั่งของทรัมป์ มองว่า ไบเดน มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มฝ่ายซ้ายสุดขอบ ซึ่งในประเด็นนี้ได้มีการพูดถึงบนเวทีดีเบทเช่นกัน

เมื่อวอลเลสถามจี้ในประเด็นการประนามการกระทำของกลุ่ม white supremacist และกลุ่มติดอาวุธ ที่ก่อความวุ่นวาย ทรัมป์ไม่ได้กล่าวประนามโดยตรง แต่ใช้การตอบเลี่ยงว่า ยินดีที่จะทำ จากนั้นก็ได้กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะกลุ่มฝ่ายซ้ายเป็นผู้เริ่มที่สร้างปัญหา ขโมย และทำผิดกฎหมาย

ไบเดนจึงได้กล่าวถึงประเด็น Prod Boys (กลุ่มที่สร้างความขัดแย้ง-เกลียดชัง) ทรัมป์ได้ขอให้กลุ่มดังกล่าว ถอยไปก่อนและแสตนดบาย (Stand back & stand by ) และระบุว่า ต้องมีใครสักคนต้องจัดการกับกลุ่ม Antifa หรือ กลุ่มฝ่ายซ้ายหลาย ๆ กลุ่ม

โดยในปมนี้เอง ถือเป็นหนึ่งในประเด็นเดือดบนโลกออนไลน์ของสหรัฐฯ ท่ามกลางกระแส #Blacklivesmatter ที่ยังคงคุกรุ่นอยู่ในขณะนี้

ปมการเลี่ยงภาษีของทรัมป์

หนึ่งในคำถามที่เกิดขึ้นคือ เกี่ยวกับกรณีที่หนังสือพิมพ์ นิวยอร์คไทม์ ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเสียภาษีของปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า ทรัมป์ จงใจเลี่ยงภาษีโดยการลงทุนในธุรกิจที่เสี่ยง ซึ่งทรัมป์ ได้ตอบคำถามนี้บนเวทีว่า ตนเองเสียภาษีเป็นล้าน ๆ ในขณะที่ไบเดน ก็ได้แทรกว่า “เท่าไหร่ล่ะ, ไหนหลักฐาน” ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ก็ยังไม่ชัดเจนแต่อย่างใด

ส่วนทางนิวยอร์คไทม์ นั้นยืนยันว่า มีหลักฐานที่ชัดเจนในการเลี่ยงภาษีที่เกิดขึ้น

ในขณะที่โจ ไบเดนเอง ก็ใช้จุดนี้เป็นโอกาสทำคะแนนเสียงเช่นกัน โดยการเปิดรายงานการเสียภาษีของตนเองเมื่อวานนี้ ตัดหน้าทรัมป์

ปมลูกชายโจ ไบเดน

ทรัมป์ ได้มีการกล่าวถึง ฮันเตอร์ ไบเดน ลูกชายของโจ ไบเดนหลายครั้ง โดยระบุว่า ไบเดนและลูกชาย เกี่ยวข้องกับการคอรัปชั่นในยูเครน และเกี่ยวพันกับยาเสพติด ซึ่งในจุดนี้ทรัมป์ได้เอ่ยถึงตั้งแต่ปมของโอบามาแคร์ ในช่วงต้นของการดีเบท

ซึ่งหลังจากที่มีการกล่าวถึงลูกชายหลาย ๆ ครั้ง ทำให้ไบเดน ออกอาการเกรี้ยวกราดขึ้นบ้าง พร้อมทั้งตอบโต้ทรัมป์ว่า ลูกชายของตนเองเป็นอีโร่ เป็นทหารรับใช้ชาติ ไปปฏิบัติหน้าที่ในอิรักถึง 2 ปี ก่อนที่จะกลับมาประเทศ

ซึ่งทรัมป์ ก็ยังพยายามสวนในปมของเรือ่งยาเสพติดต่อในจังหวะนี้ และไบเดน ก็ยอมรับตรง ๆ ว่า

ลูกชายของผมมีปัญหาเรื่องยาเสพติด ไม่ต่างจากวัยรุ่นทั่วไป ที่สร้างปัญหาให้กับพ่อ-แม่ แต่สุดท้ายเอาชนะมันได้ และผมภูมิใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น

โจ ไบเดน

ปมการระบาดของโควิด-19

เป็นประเด็นเดือดประเด็นหนึ่งที่ ทรัมป์ ไม่ค่อยเอ่ยถึงยอดผู้เสียชีวิต ผู้ป่วย แต่เลือกเอ่ยถึงการผลิตวัคซีน การลงทุนในชุดตรวจ อุตสาหกรรมหน้ากากต่าง ๆ

ซึ่งไบเดน จี้ในจุดที่เป็นจำนวนยอดผู้เสียชีวิต และเอ่ยถึงการที่สหรัฐฯ ไม่ได้มีมาตรการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน ในขณะที่ทรัมป์หลบเข้าไปอยู่ในบังเกอร์ ไปตีกอล์ฟ

ทรัมป์พยายามสวน-แทรก เพื่อเบรคเกมไม่ให้ไบเดนได้พูดถึงในประเด็นนี้มากนัก พร้อมทั้งเบี่ยงประเด็นไปยังประเทศอื่น ๆ ว่า มีทุกประเทศมีคนตายจากโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย จีน ฯลฯ ทุกประเทศก็มีผู้เสียชีวิต

สรุป

การดีเบทครั้งแรกของผู้ชิงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ และเป็นหนึ่งตำแหน่งที่มีความสำคัญของโลกนั้น ถือว่าการทำหน้าที่ของทั้งคู่ ต่ำกว่ามาตรฐานของการดีเบทที่เคยเป็นมาก่อนหน้านี้ พอสมควร

เนื่องจากเป็นการดีเบทที่มีการแทรก-สวน ใช้ถ้อยคำเสียดสี ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากฝั่งไบเดน ที่เอ่ยถึงทรัมป์ ว่าเป็น ปธน.ที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์, ตัวตลก, พวกเหยียดผิว รวมไปถึงมีจังหวะที่ไบเดน หลุดสบถ ให้ทรัมป์

“จะหุบปากได้ไหม” ( Will you shut-up man.)

โจ ไบเดน

ในขณะนี้เดียวกัน ทรัมป์ เองใช้วิธีการตัดเกมของไบเดน โดยการแทรก ขัด ตลอดการดีเบท และแทบจะทุกครั้งที่ไบเดนกำลังจะเข้าประเด็นสำคัญ ทำให้เกมการเตะตัดของทรัมป์ สามารถหยุด และฉวยโอกาสพูดเพิ่มเติมได้โดยตลอด 90 นาทีของการดีเบท

กลายเป็นว่า ไบเดนก็ไม่สามารถพูดถึงประเด็นสำคัญได้ ในจุดนี้ ทำให้กลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกใคร ก็ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาดว่า จะเลือกไบเดน หรือทรัมป์ ในขณะที่ทรัมป์ เองก็ไม่ได้คะแนนเสียงเพิ่มจากในกลุ่มนี้เช่นกัน

นอกจากนี้ วอลเลส ในฐานะของผู้ดำเนินรายการ ต้องทำหน้าที่หนักมาก ในการเบรค-หยุด ความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นบนเวที ตลอด 90 นาที ซึ่งหลายคนมองว่า ไม่สามารถคุมเวทีให้เป็นไปในทิศทางที่ควรจะเป็นได้อย่างราบรื่น