แชร์กระหน่ำโซเชียลชื่นชมสุดยอดตำรวจไทย ปั้มหัวใจคนหมดสติในห้องน้ำปั้มน้ำมันจนปลอดภัย
เมื่อวันที่ 7 เม.ย. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ได้รับแจ้งจากพลเองดีว่ามีชายไทยนอนหมดสิตอยู่ในห้องน้ำ ภายในปั้มน้ำมันบางจาก ปากทางพัทยากลาง ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่สายตรวจเร่งรัดไปตรวจสอบ
ที่เกิดเหตุพบชายไทยอายุประมาณ 35-40 ปี สวมเสื้อสีเหลือง นอนหมดสติอยู่บนพื้นห้องน้ำภายในปั้มน้ำมัน โอกาสนี้ ด.ต.ศรีสวัสดิ์ ธิวงศ์ษา ผบ.หมู่งาน จร.สภ.เมืองพัทยา ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำจุดอำนวยความสะดวกการจราจร ปากทางพัทยากลาง จึงเข้าไปตรวจสอบและให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
โดยได้ทำการ CPR (ปั๊มหัวใจ) แก่ชายไทยที่หมดสติ กระทั่งเวลาผ่านไปประมาณ 5-10 นาที ปรากฏว่าชายคนดังกล่าวมีชีพจรกลับมาเต้นตามปกติ และยังไม่รู้สึกตัวจึงได้ประสานเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยามารับตัวนำส่งรักษาได้ทันเวลา
ขณะที่อาการล่าสุดจากการตรวจสอบได้รับแจ้งจากทางญาติผู้ป่วยว่า ตัวผู้ป่วยอยู่ในอาการที่พ้นขีดอันตรายแล้ว แต่ยังไม่สามารถพูดได้ นอนพักรักษาตัวต่อเนื่องที่ รพ.กรุงเทพพัทยา
มีรายงานว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีการแชร์อย่างมากในโลกโซเชียล และกล่าวชื่นชมการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความรู้ ความสามารถในการกู้ชีพจนสามรถรักษาชีวิตผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที
ขั้นตอนปฏิบัติ CPR วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
การกู้ชีวิต หรือ CPR : Cardiopulmonary resuscitation หรือหมายถึง การปฏิบัติการเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ที่หยุดทำงานอย่างกระทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติ โดยไม่เกิดความพิการของสมอง
การทำ CPR ขั้นพื้นฐาน ( BCLS ) เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติหรือไม่เคลื่อนไหวต้องสำรวจขั้นพื้นฐานโดย
1. ตรวจดูว่าผู้ป่วยหมดสติจริงหรือไม่ โดยการเขย่าตัวเบา ๆ ซึ่งอาจพูดว่า “คุณ ๆ ตื่น ๆ เป็นอะไรหรือเปล่า”
2. เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ๆ เพราะในการช่วยเหลือผู้ที่หยุดการหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นในระยะอันสั้น ควรมีคนมาช่วยมากกว่า 1 คน เพื่อจะได้ช่วยติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาช่วยเหลือต่อไป เช่น พูดว่า “ช่วยด้วย ๆ มีคนหมดสติ”
3. จัดท่าผู้ป่วย จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบบนพื้นแข็งเพื่อความสะดวกในการกดหน้าอกหรือนวด หัวใจ การทำ CPR จะต้องให้ผู้ป่วยนอนหงายหลังตรง ศีรษะจะต้องไม่สูงกว่าระดับหัวใจจึงจะทำCPR ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการสำรวจและจัดท่าผู้ป่วยนี้จะต้องใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที
4. A : Airway การดูแลทางเดินหายใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ทางเดินหายใจโล่ง ดังนี้
4.1 Clear airway ตรวจปากและช่องคอว่ามีสิ่งแปลกปลอม เช่น เศษอาหาร เลือด เสมหะ ฟันปลอมอยู่หรือไม่ เมื่อพบต้องเอาออกโดยใช้ผ้าพันนิ้วกวาดเช็ดออกมาหรือใช้เครื่องดูดออก
4.2 Open airway ต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะเนื่องจากผู้ป่วยที่หมดสติกล้ามเนื้อทั่วร่างกายจะหย่อน โคนลิ้นและ กล่องเสียง ( epiglottis ) ตกไปทางด้านหลังในท่าที่ผู้ป่วยนอนหงาย อุดทางเดินหายใจส่วนบน ดังนั้นจึงต้องเปิดทางเดินหายใจ
5. B : Breathing คือ การช่วยหายใจด้วยการ เป่าปากผู้ป่วย ( Mouth to mouth ) โดยการเป่าปากครั้งละประมาณ 5 วินาที หรือ12 ครั้ง/นาที แต่ถ้ากรณีผู้ป่วยหัวใจไม่เต้นต้องเป่าปากพร้อมกับนวดหัวใจ
6. C : Circulation การกดหน้าอกหรือการนวดหัวใจ ให้มีการฉีดเลือดออกจากหัวใจ เพื่อดำรงไว้ซึ่งการไหลเวียนเลือดไปสู่อวัยวะสำคัญ