ประเด็นน่าสนใจ
- นิด้าโพล ได้สำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 3 จากกลุ่มตัวอย่าง 2,527 ตัวอย่าง ทั่วประเทศผ่านทางโทรศัพท์
- ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 54.13 ระบุ ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ รองลงมา คือร้อยละ 18.64 ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- ในส่วนของพรรคการเมือง ร้อยละ 41.59 ระบุว่าเป็น ไม่สนับสนุน พรรคการเมืองใดเลย รองลงมาคือ ร้อยละ 19.39 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
- เทียบกับผลก่อนหน้านี้ พบว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส, นายกรณ์ จาติกวณิช ได้รับความไว้วางใจลดลง
- ในขณะที่ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์, นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 3” ระหว่างวันที่ 18 – 23 กันยายน 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,527 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
ผลการสำรวจ
บุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้
- ร้อยละ 54.13 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
. - ร้อยละ 18.64 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
เพราะ เป็นคนจริงจังกับการทำงาน ทำงานตรงไปตรงมา มีความซื่อสัตย์ บ้านเมืองสงบไม่วุ่นวาย ช่วยเหลือประชาชนได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยากให้ดำรงตำแหน่งต่อไป
. - ร้อยละ 10.57 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคเพื่อไทย)
เพราะ มีประสบการณ์การทำงาน บริหารงานที่ผ่านมาได้ดี พูดจริง ทำจริง และชื่นชอบเป็นการส่วนตัว
. - ร้อยละ 5.70 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
เพราะ อยากได้คนรุ่นใหม่มาบริหารประเทศ เป็นคนที่มีความคิดที่ทันสมัย มองการณ์ไกล และชื่นชอบนโยบายพรรค
. - ร้อยละ 3.92 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)
เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริง ทำจริง มีความซื่อสัตย์ และชื่นชอบเป็นการส่วนตัว
. - ร้อยละ 1.54 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคกล้า)
เพราะ มีวิสัยทัศน์ที่ดี มีความเป็นผู้นำ มีความสามารถทางด้านเศษฐกิจ ขณะที่บางส่วนระบุว่า มีความเข้าใจการเมืองทั้งแบบเก่าและแบบใหม่
. - ร้อยละ 1.07 ระบุว่าเป็น นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ชอบผลงาน ของพรรคเพื่อไทย ชื่นชอบนโยบายด้านเศรษฐกิจ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย
. - ร้อยละ 4.00 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคเศรษฐกิจใหม่), นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์), นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย), นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ), นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนา), นายชวน หลีกภัย, นายอานันท์ ปันยารชุน, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และน.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา)
. - ร้อยละ 0.43 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 2 เดือนมิถุนายน 2563 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส, นายกรณ์ จาติกวณิช และไม่ตอบ/ไม่สนใจ มีสัดส่วนลดลง ซึ่งในขณะที่ผู้ที่ระบุว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์, นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ และยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
พรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้
- ร้อยละ 41.59 ระบุว่าเป็น ไม่สนับสนุน พรรคการเมืองใดเลย
- ร้อยละ 19.39 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
- ร้อยละ 12.70 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
- ร้อยละ 12.39 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
- ร้อยละ 7.44 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
- ร้อยละ 1.70 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย
- ร้อยละ 1.58 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย
- ร้อยละ 0.79 ระบุว่าเป็น พรรคกล้า
- ร้อยละ 0.59 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อชาติ
- ร้อยละ 0.55 ระบุว่าเป็น ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
- ร้อยละ 0.36 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา
- ร้อยละ 0.28 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนา และพรรคประชาชาติ ในสัดส่วนที่เท่ากัน
- ร้อยละ 0.24 ระบุว่าเป็น พรรครวมพลังประชาชาติไทย
- ร้อยละ 0.12 ระบุว่าเป็น พรรคเศรษฐกิจใหม่
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ คะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 2 เดือนมิถุนายน 2563 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พรรคเพื่อไทย, พรรคก้าวไกล, พรรคพลังประชารัฐ, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคกล้า, พรรคเพื่อชาติ, พรรคเศรษฐกิจใหม่ และไม่ตอบ/ไม่สนใจ มีสัดส่วนลดลง ซึ่งในขณะที่ผู้ที่ระบุว่า พรรคภูมิใจไทย, พรรคชาติพัฒนา, พรรคประชาชาติ, พรรครวมพลังประชาชาติไทย และไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น และผู้ที่ระบุว่า พรรคชาติไทยพัฒนา มีสัดส่วนเท่าเดิม