สงกรานต์ สงกรานต์62 เมาแล้วขับ

ทนายนายรณณรงค์ เตือน!! ขับขี่ปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์ พร้อมเผยอัตราโทษเมาแล้วขับ

ทางนายรณณรงค์เตือนนักดื่ม ขับขี่ปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์ พร้อมเผยอัตราโทษเมาแล้วขับ เมาแล้วขับนับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ที่ผู้ขับขี่รถมักถูกจับกุมดำเนินคดี โดยช่วงเทศกาลสงกรานต์ระหว่างวันที่ 11 -16 เม.ย. 2561 ที่ผ่านมาจากสถิติพบว่า มีอุบัติเหตุสะสม จำนวน 3,426 ครั้ง…

Home / NEWS / ทนายนายรณณรงค์ เตือน!! ขับขี่ปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์ พร้อมเผยอัตราโทษเมาแล้วขับ

ทางนายรณณรงค์เตือนนักดื่ม ขับขี่ปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์ พร้อมเผยอัตราโทษเมาแล้วขับ

เมาแล้วขับนับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ที่ผู้ขับขี่รถมักถูกจับกุมดำเนินคดี โดยช่วงเทศกาลสงกรานต์ระหว่างวันที่ 11 -16 เม.ย. 2561 ที่ผ่านมาจากสถิติพบว่า มีอุบัติเหตุสะสม จำนวน 3,426 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 372 ราย บาดเจ็บ 3,604 ราย โดยสถิติการจับกุม 10 ข้อหาหลักทั่วประเทศ พบว่ามีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัยมากเป็นอันดับ 1 จำนวน 231,334 ราย และเป็นที่น่าสังเกตุว่า ยังคงมีผู้ขับขี่เมาแล้วขับ จำนวน 21,829 ราย เพิ่มขึ้น กว่าปี 2560 จำนวน 5,301 ราย หรือ ร้อยละ 32.0 ซึ่งการเมาแล้วขับนับเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด

ล่าสุดวันที่ 10. เม.ย. 2562 ทางนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม ได้โพสต์ข้อความเตือนนักดื่ม ที่มีแผนจะดื่มแอลกอฮอล์ช่วงสงกรานต์ในปีนี้ว่า

ผู้ที่ขับขี่รถ ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ เพราะถ้าคุณขับขี่ในขณะเมาสุรา จะต้องต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ตาม พ.ร.บ.จราจร พ.ศ.2522 มาตรา 43(2),160ตรี

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ (ม.160 ตรี วรรคสอง)

ถ้าการกระทำความนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงหกปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสองหมื่นบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าสองปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ (ม.160ตรี วรรคสาม)

ถ้าการกระทำความผิดนั้น เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

ขอบคุณข้อมูลจาก ทนายคู่ใจ