คืนนี้ห้ามพลาด ทีมนักวิทยาศาสตร์ เตรียมเผยแพร่ภาพจริงของหลุมดำ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ หลังทำการสำรวจเก็บภาพนานถึง 2 ปี
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า วันนี้ (10 เม.ย. 2562) ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า Event Horizon Telescope Collaboration หรือ EHT เตรียมมีแพร่ภาพหลุมดำเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ในเวลา 20.00 น. ตามเวลาประเทศไทย หลังจากมีการสำรวจหลุมดำทั้ง 2 แห่งมาตั้งแต่ปี 2017
โดยภาพหลุมดำที่จะมีการเผยแพร่ให้เห็นในครั้งนี้ มีด้วยกัน 2 จุดคือ หลุมดำ ซาจิทาเรียส เอ (Sagittarius A) อยู่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก ห่างจากโลกประมาณ 26,000 ปีแสง หรือประมาณ 250,000 ล้านล้านกิโลเมตร มีมวลเทียบเท่ากับดวงอาทิตย์ขประมาณ 4.1 ล้านดวง และหลุมดำ M89 ที่อยู่ใกล้ๆ กับกาแล็กซีทางช้างเผือก ที่มีมวลเทียบเท่ากับดวงอาทิตย์ประมาณ 7 พันล้านดวง หรือใหญ่กว่าหลุมดำ ซาจิทาเรียส เอ 1,700 เท่า
สำหรับการจับภาพหลุมดำครั้งนี้ เกิดจากการใช้กล้องโทรทรรศน์ ที่กระจายอยู่ตามภูมิศาสตร์ต่างๆ จากนั้นจะใช้เทคนิคที่เรียกว่า VLBI ทำให้ภาพที่มีความละเอียด เทียบเท่ากับกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่มีขนาดหน้าจานใหญ่เท่ากับโลกทั้งใบ
สำหรับหลุมดำนั้น คือ สถานที่ในอวกาศซึ่งมีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ซึ่งแม้แต่แสงยังไม่สามารถออกไป จึงทำให้มีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ที่มีอุปกรณ์พิเศษขึ้นมาเพื่อช่วยค้นหา ซึ่ง หลุมดำ สามารถมีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ใหญ่ และนักวิทยาศาสตร์มีหลักฐานว่าทุกๆ ทางช้างเผือกขนาดใหญ่จะมีหลุมดำชนิด supermasive อยู่ตรงกลาง เสมอ
ทั้งนี้โดยปกติแล้ว ภาพของหลุมดำที่เห็นๆ กันทั่วไป คือภาพที่จำลองขึ้นมาวยคอมพิวเตอร์ แต่ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่จะมีการเผยแพร่ภาพหลุมดำที่ถ่ายขึ้นจริงเป็นครั้งแรก ดังนั้นผู้สนใจสามารถติดตามรับชมงานแถลงข่าวดังกล่าวผ่าน ช่องยูทูบของคณะกรรมาธิการยุโรป หรือไลฟ์สตรีมของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐฯได้ตามเวลาที่ได้แจ้งไว้ในเบื้องต้น