ประชุมสภา พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

สรุปประชุมสภา พิจารณาร่างแก้ไข รธน. ( 24 ก.ย.)

เปิดการประชุมร่วม 2 สภาเป็นวันที่ 2 ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ในการอภิปรายวานนี้ ส่วน ส.ส. มีทั้งที่เห็นว่าควรแก้ไข ในรายมาตรา และการแก้ไขทั้งฉบับ ในขณะที่กลุ่มส.ว. ส่วนใหญ่ ขอให้เสนอว่าจะแก้ไขแก้เป็นรายมาตรา ไม่เห็นด้วยในการยกร่างใหม่ทั้งฉบับ

Home / NEWS / สรุปประชุมสภา พิจารณาร่างแก้ไข รธน. ( 24 ก.ย.)

ประเด็นน่าสนใจ

  • ผลการประชุมร่วมสองสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้มีมติว่า ให้มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อศึกษาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ฉบับอีกครั้ง
  • โดยกำหนดให้มี กมธ. จำนวน 45 ท่าน ในกรอบการศึกษา 30 วัน
  • ในการอภิปรายวานนี้ ส่วน ส.ส. มีทั้งที่เห็นว่าควรแก้ไข ในรายมาตรา และการแก้ไขทั้งฉบับ ในขณะที่กลุ่มส.ว. ส่วนใหญ่ ขอให้เสนอว่าจะแก้ไขแก้เป็นรายมาตรา ไม่เห็นด้วยในการยกร่างใหม่ทั้งฉบับ

◾️20.00 น.

ได้มีการขอมติที่ประชุมในการตั้งกรรมาธิการศึกษาก่อนการรับหลักการ จากผู้ลงมติจำนวน 715 เสียง

  • เห็นด้วย 431 เสียง
  • ไม่เห็นด้วย 255 เสียง
  • งดออกเสียง 28 เสียง
  • ไม่ออกเสียง 1 เสียง

ดังนั้นสภาเห็นชอบให้ตั้งกรรมาธิการ 45 ท่าน เป็น ส.ว. 15 ท่าน, ส.ส. 30 ท่าน โดยมีกรอบการพิจารณา 30 วัน


◾️18.00 น.อภิปรายสรุป

นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว :

  • การตั้ง สสร. นั้นจะมีข้อห้ามข้อกำหนด เช่นการห้ามแก้ในหมวด 1 และ หมวด 2 ดังนั้น หากไม่ปรากฎในข้อห้าม ก็สามารถแก้ไขทั้งหมด
    .
  • สาเหตุที่ต้องแยกญัตติ เนื่องจาก การตั้ง สสร. นั้นจะใช้เวลาถึง 4 ปี เร่งรัดเร็วสุดคือ 16 เดือน ดังนั้นจึงต้องมีการแก้ในบางมาตราไว้ก่อน, แก้ ม. 272 เผื่อกรณีนายกฯ ลาออก, แก้ให้เลือกตั้งใช้บัตร 2ใบ, ยกเลิก 270 – 271 และแก้ ม. 256 ก่อนเพื่อให้แก้ไข รธน.ต่อ ได้ง่ายขึ้น แต่ก็ไม่ได้ง่ายขึ้นจนใครก็แก้ได้
    .
  • ดังนั้นการแยกญัตติออกมาก็เพื่อกรณีใครจะเลือกรับญัตติใดก็ได้ตามที่เห็นเหมาะสม
  • กรณีการอ้างผลประชามติของ รธน. ปี 60 นั้น สามารถทำร่างแก้ไข ม. 256 ร่วมกับ รธน. ที่จะฉบับใหม่ ไปพร้อมกัน หาก ปชช. ได้อ่าน-ไม่เห็นด้วย ก็จบไม่ต้องตั้ง สสร. และ รธน. ก็ไม่ต้องแก้ ดังนั้นก็จะแก้ปัญหาปมประชามติได้
    .
  • ประชาชนต้องการให้มีการแก้ไข รธน. กระแสเรียกร้องมีแนวโน้มมากขึ้น ดังนั้น รัฐสภาจึงต้องเป็นที่พึ่งที่หวัง แก้ปัญหาลดความขัดแย้งประเทศ
    .
  • การยกร่างทั้งฉบับดีกว่า การแก้จะที่ละจุด เพราะ รธน. มีปัญหาทุกจุด จึงจำเป็นต้องแก้
    .
  • การใช้เงินทำประชามตินั้นคุ้มค่า กับการร่าง รธนใหม่ และใช้เงินไม่ถึง 1.2 หมื่นล้าน และหากมีการเลือกตั้ง สสร. นั้นก็จะครอบงำได้ยาก ซึ่งเป็นแนวทางการใช้อำนาจโดยตรงของ ประชาชน
    .
  • การแก้ไข-ยกเลิกการให้ส.ว.โหวตนายกฯ นั้นถือเป็นการยกภูเขาออกจากอก ส.ว. และกลับมาสู่การเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

นายวิรัช รัตนเศรษฐ :

  • ในขณะนี้มีความขัดแย้ง มีประชาชนตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับการแก้ไข รธน. ทั้งจะแก้เมื่อไหร่ หรือแก้แล้วได้อะไร มีความขัดแย้ง มีประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
    .
  • วันนี้ เดินทางมาถึงจุดที่จะต้องมีการแก้ไข และได้มีการเสนอ มีการอภิปรายกัน ซึ่งจุดมุ่งหมายเดียวกันในการแก้ไข ในส่วนของหมวด 1 และ 2 จะไม่แตะ
    .
  • การเปิดประตูแก้ไข ม. 256 ก่อนนั้นมีความสำคัญ หากร่างวันนี้ไม่ผ่าน ในสมัยหน้าก็จะเสนอเข้ามาอีก ดังนั้นวันนี้จึงต้องเดินหน้าต่อไป
    .
  • พปชร. เองยืนยันว่าจะไม่แก้ไข รธน. แต่ในเมื่อเป็นนโยบายร่วมกันของพรรคร่วมรัฐบาลมีความเห็นให้แก้ ทางออกที่ดีที่สุด ม. 256 เพื่อเปิดช่องทางให้แก้ไขรธน. แก้ไขปัญหาต่อไป

นายไพบูลย์ นิติตะวัน – เสนอเนื่องจากมีสมาชิกรัฐสภาเป็นจำนวนหนึ่งที่ยังไม่เข้าใจในร่าง รธน. แต่ละฉบับนั้นมีความแตกต่างกัน จึงขอให้มีการพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัยได้ร่วมกันวินิจฉัยศึกษาข้อมูลอย่างครบถ้วนเสียก่อนการรับร่างหลักการ

นายสุทิน คลังแสง – ในข้อเสนอนั้นตามข้อกฎหมายไม่ติดขัด ซึ่งก็อยากให้มีความสำเร็จไม่ขัดข้อง แต่ข้อเสนอนั้นจะเป็นเหตุผลให้แก้ไม่ได้/ไม่สำเร็จ ซึ่งวันนี้เพียงรับหรือไม่รับหลักการนั้นเพียงพอ ในอภิปรายนั้นหลายคนแสดงให้เห็นแล้วว่าครบถ้วน เพียงพอ ไม่เห็นด้วยให้ตั้ง กมธ.

[มีการทักท้วง/แสดงความคิดเห็นในปมการขอเสนอตั้ง กมธ. โดยนายชวน หลีกภัย ให้มีการพักการประชุม 10 นาที]


◾️17.00 น.

นายเสรี สุวรรณภานนท์
การยกร่าง รธน.ใหม่ทั้งฉบับนั้น ที่มาของสสร. เป็นสิ่งสำคัญ มีข้อกังวลว่า สสร. จะสามารถทำงานได้อย่างอิสระหรือไม่ มีหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งก็ห่วงว่า การเสนอความคิดไปไกลเกินกว่าที่คาดคิดไว้

นอกจากนี้ หากต้องยกร่างทั้งฉบับก็ต้องมาคิดว่า คุ้มค่าไหมที่จะแก้ไขเพียง 4-5 ประเด็น ดังนั้น จึงต้องคิดให้รอบคอบว่าจะแก้ไข ปัญหาให้ประชาชนอย่างแท้จริงหรือไม่ มีความชัดเจนมากกว่านี้ ให้คุ้มค่ามากกว่านี้

นายชาดา ไทยเศรษฐ์
หลายปีที่ผ่านมาเราพูดถึงการแก้ รธน. ทำให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องของขี้แพ้ชวนตีไปเสีย ดังนั้นสภา ต้องคิดหาทางออกที่ดี ที่ไปได้ทั้งสองฝ่าย อย่าแก้ด้วยวิธีคิดแบบศรีธนญชัย อย่าเอาความต้องการของตัวเองเป็นที่ตั้ง บางเรื่องที่ยังไม่สมควรทำก็อย่าไปทำ

2 วันที่ผ่านมาก็ยังไม่เห็นอะไร นอกจากขัดแย้ง พูดกระทบกระทั่งกันไป ซึ่งต้องค่อย ๆ คุยกัน ทุกคนมีเหตุผล วิกฤติที่เกิดขึ้นมันผ่านไปแล้ว ก็ว่ากัน สิ่งสำคัญของอย่าดึงฟ้าต่ำ เพราะครอบครัวตนเองนั้นมาจากต่างประเทศ ได้รับโอกาศ ได้ร่มโพธิสมภาณ จึงมีวันนี้ได้จึงได้สำนึกถึงอยู่ตลอดเวลา

ซึ่งนั่งคุยกันด้วยหัวใจของคนไทย อย่าแบ่งเป็นวิปฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล เอาเหตุผลมาตั้ง

นายสมชาย แสวงการ
ส.ว. พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะยกมือ หากเรื่องดังกล่าวเป็นประโยชน์ แต่ก็มีความกังวลในการแก้ไขเกี่ยวกับสถาบัน ดังนั้นการแก้เป็นรายมาตรา ซึ่งรธน.ปี 60 มีช่องให้แก้ไขได้ แต่ยังไม่มีใครเสนอเข้าสภาเลย ดังนั้นลองเสนอเข้ามา หากต้องการแก้ไข ยกร่างใหม่ ก็ควรไปถาม/ทำประชามติก่อน

ในหลาย ๆ ประเด็นทั้งเรื่องการเลือกตั้ง การนับคะแนน ลองเสนอแก้ไขกันดู ก็มีเหตุผล-ตกลงกันได้ เชื่อว่า ส.ว. จะเห็นด้วย ญัตติทั้งหมดที่เสนอมานั้นจะผิด


◾️16.00 น.

นายรังสิมันต์ โรม
รธน. ฉบับนี้ ต้องการเพื่อการสืบทอดอำนาจ ซึ่งในมาตรา 270 -271 นั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้เป็นนายกฯ หลายท่านไม่เห็นด้วยในการยกเลิก ม. 279 เหตุเพราะเชื่อว่าจะทำให้การปฏิวัติ/รัฐประหารในอนาคตจะไม่ศักสิทธิ์อีกต่อไป

การลงประชามติจะต้องเสียเงินแต่ก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในการเดินหน้าประเทศ เพียงแต่ยกเลิกซื้อเรือดำน้ำก็มีเงินทำประชามติแล้ว รธน.ปี 60 ลงประชามติก็จริง แต่เป็นประชามติที่อยู่บนคราบน้ำตาของผู้ไม่เห็นด้วย เพราะถูกจับกุมคุมขัง

การร่างรธน.ใหม่ในครั้งนี้ ต้องนำไปสู่การร่างรธน. เพื่อให้สถาบันฯ อยู่ภายใต้รธน. อย่างแท้จริง

— ประธานติง /มีการประท้วง —

ดังนั้น รธน.ฉบับนี้ จึงควรมีการเลือกตั้ง สสร. เข้า เป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริงเพื่อไม่ให้เป็นการสืบทอดอำนาจ สำหรับในการแก้ รธน. ผ่าน สสร. ควรจะต้องแก้ได้ทุกหมวด ทุกมาตรา ไม่เว้นแม้แต่ หมวด 1 และ 2 แต่ย้ำว่า ไม่ได้เป็นการแก้ไข เปลี่ยนแปลงการปกครอง/รูปแบบของรัฐ แต่อย่างใด

— มีการประท้วง –

[มีการประท้วงยาวในเรื่องของการขึ้นอภิปรายซ้ำของนายเสรี สุวรรณภานนท์ – ได้ข้อสรุปคือ เป็นการใช้โควต้าเวลาของฝ่ายส.ว. ที่มีเวลาเหลืออยู่]


◾️15.00 น.

นายสัมฤทธิ์ แทนทรัพย์
ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับ รธน. ฉบับนี้ เพราะไม่มีความเป็นประชาธิปไตย แต่ก็ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ที่ไปลงมติในครั้งนั้น เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญในร่างที่ 1 และ 2 เพราะถือว่าทั้ง 2 ฉบับเป็นการเปิดประตูในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ของประชาชน

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
การแก้ไข รธน. ปี 2560 นั้นเปิดช่องให้แก้ได้ โดยมีเงื่อนไขกำหนดไว้ ในขณะเดียวกัน มีการที่เสนอแนวทางในการเปิดทางยกร่างฉบับใหม่ มีบางร่างที่ระบุจะแก้ไข หมวด 1 และ 2 ในขณะที่บางร่างก็ไม่ชัดเจนในการแก้ไข

ใน 3 ญัตติที่มีการแก้ไข บทเฉพาะกาล ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่า บทเฉพาะกาลนั้น ก็บัญญัติใช้เพียงเฉพาะกาล รวมถึงที่ผ่านมา หากฝ่ายใดได้ประโยชน์ ก็จะบอกว่า รธน. ฉบับนั้นดี แต่ถ้าไม่ ก็จะบอกว่า รธน.ฉบับนั้นไม่ดี ซึ่งเป็นรายละเอียดที่นำไปสู่การหาคำตอบให้ชัดว่า จะนำไปสู่การเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตย และเป็นประโยชน์

ในญัตติทั้ง 6 ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะอย่างไรต่อ ดังนั้นจึงควรยื่นอำนาจให้กับประชาชนผ่านการทำประชามติ เป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งรัฐบาลสามารถทำได้

นายวีระกร คำประกอบ
รธน. ที่ถูกร่างขึ้นมาหลังจากการปฏิวัติ/รัฐประหาร ก็จะมีปัญหามาโดยตลอด เพราะไม่ได้ถูกร่างโดยประชาชน รธน. ปี 60 แม้ว่ามีข้อดีก็มาก แต่ก็มีปัญหามาก เปรียบเป็นบ้านก็ถือว่ามีปัญหาที่ฐานราก ดังนั้นจะรื้อทั้งหมด เพราะมันเป็นฐานราก

ซึ่งในหลาย ๆ มาตราก็มีปัญหาทั้งประเด็นการพิจารณาหุ้นสื่อฯ ของศาล การให้อำนาจ ส.ว. เลือกนายกฯ ได้เป็นต้น นอกจากนี้เงื่อนไขในการแก้ก็เยอะ ยุ่งยาก


◾️14.00 น.

นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์
รธน. ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ทำให้ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้ ทั้งรายใหม่และรายเก่า ซึ่ง รธน. ปี 60 สืบทอดอำนาจ คสช. ในการทำประชามตินั้นก็ไม่เป็นไปตามประชาธิปไตย เพราะคนที่ไม่เห็นด้วยกลับถูกจับไปปรับทัศนคติ กฎหมายลูกเองก็เขียนเนื้อหาเกินเลย รธน. ไปมาก

นายระวี มาสฉมาดล
รธน. นี้มีปัญหาส่งผลให้หลายคนเข้ามาเป็น ส.ส. แล้วก็หลุดจากความเป็น ส.ส. เพราะการคำนวนที่เปลี่ยนไปมา มีการสืบทอดอำนาจโดยให้โอกาส ส.ว.ได้เลือกนายกฯ ดังนั้นจึงต้องแก้ไข ในแนวทางการแก้ไขนั้นจึงเป็นแนวทางของพรรคร่วมรัฐบาลเป็นแนวทางที่ดูแล้วเป็นทางสายกลางมากที่สุด

นายกล้าณรงค์ จันทิก
ส.ว. ชุดนี้มีความเป็นอิสระเป็นของตนเอง ในการอภิปรายก็จะเห็นว่ามีความเห็นเป็นไปตามความคิดแต่ละบุคคล ในการเลือกนายกฯ แม้ว่า ส.ว. จะเลือกได้ แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เนื่องจากเสียงของ ส.ส. ที่เลือกนายกฯ ในขณะนั้นก็เป็นเสียง 251 ต่อ 224

การตั้งสสร. ร่าง รธน. ขึ้นมาใหม่ ก็เกรงว่าจะกระทบต่อองค์กรอิสระเช่น ศาลรธน. ซึ่งศาลรธน. ก็เกิดขึ้นใน รธน.ปี 40 ที่เราพูดกันว่าเป็นฉบับประชาชนนั่นเอง นี่คือสิ่งที่น่ากังวลที่สุด

นอกจากนี้ ยังมีความกังวลในการแก้ไข ในหมวด 1 และ หมวด 2 และขอให้พึงระวัง การยกเลิก ม. 256 ที่จะเปิดทางให้การตั้ง รธน. ฉบับใหม่ ดังนั้นจึงอยากให้คิดว่า รธน. ปี 60 ผ่าน รธน.มาแล้ว ดังนั้นจึงควรถามไปยังประชาชนก่อน


◾️13.00 น.

พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม
ปัญหาของการแก้ไข รธน. นั้นมีความรีบเร่งในการแก้ไข รธน. เพื่อให้ทันเลือกตั้งปี 2557 ทำให้มีความวุ่นวายในสภา เมื่อปี 2556 จึงนำไปสู่การกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม ให้เพิ่มเสียงของ ส.ว. เพื่อให้เกิดความเห็นชอบร่วมกับ ส.ส.นั้น ก็เพื่อแก้ปัญหาเผด็จการรัฐสภา ดังนั้นหากจะแก้เสียงตัดเสียง ส.ว. เห็นชอบการแก้ รธน. ออกจึงเป็นการย้อนหลังกลับไปสู่เหตุการณ์เดิมอีกครั้งหนึ่ง

— มีการประท้วง —

นางสาวจิรพร สินธุไพร –
รธน. ไม่ได้เป็นเรื่องประกันการเป็นประชาธิปไตย การทำประชามติของ รธน. ปี 60 นั้นไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะมีการจับกุม-คุมขัง ผู้ที่ไม่เห็นด้วย/ไม่รับร่าง ดังนั้นจึงต้องแก้ไขให้ถูกต้อง และ รธน. ปี 60 ก็พบว่า ล็อกไว้ ทำให้แก้ไขได้ยากมาก ทั้งที่มีปัญหาในแทบทุกหมวด

การแก้ไข รธน. จึงไม่ใช่ทางเลือกของประเทศไทย แต่เป็นทางรอดของประเทศ

นางสาวจิรพร สินธุไพร

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
การแก้ไขในทุกญัตตินั้น สังคมมีความเข้าใจในประเด็นสำคัญเป็นอย่างดี ซึ่งแต่ละฝ่ายก็จะมีเหตุผลของแต่ละคน สังคมไทยกำลังถูกบีบให้เลือกข้าง รธน.ก็เช่นกัน ก่อนหน้ารัฐบาลอ่อนแอ พอมีรธน. 40 ก็มีแนวทางให้ รบ. เข้มแข็ง มีองค์กรอิสระ แต่พอเข้มแข้งเกินไป รธน. ปี 50 ก็มาแก้ปัญหานั้น แต่สร้างปัญหาใหม่คือ องค์อิสระอ่อนแอ ก็จึงกลายมาเป็น รธน. 2560

ภายใต้ของ รธน. ปี 60 สถานการณ์กดดันให้ต้องรับ การเมืองเปลี่ยนแปลงไปดังนั้น วันนี้จึงควรแก้ไขกัน

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักของบ้านเมือง มีความสำคัญ แต่คนปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญก็สำคัญ

ดังนั้นทำไม รธน. นั้นมีปัญหา เหตุผลหลายครั้งนั่นคือผู้ใช้ ไม่ได้ใช้ตามครรลอง หรือตามหลักนิติธรรมของกฎหมายที่ควรจะเป็น

นายชวน หลีกภัย ชี้แจงประเด็นที่ถูกกล่าวถึงว่าเกี่ยวกับการร่าง รธน. ปี 2560 ได้มีการเชิญตนเองไปให้ความเห็น โดยระบุว่าถูกเชิญไปในฐานะที่เคยสัมผัส-ใช้ รธน.มากฉบับ ตั้งแต่ปี 2511

◾️12.30 น.

นายชัยชนะ เดชเดโช
รธน. ปี 60 นั้นมีปัญหา หลักการในการนับคะแนนก็ไม่ชัดเจน ดังนั้นจึงสนับสนุนร่างของพรรคร่วมรัฐบาล ในการแก้ไข รธน.

นายตวง อันทะไชย –
การแก้ ม. 2560 นั้น ไม่ได้มีระบุไว้ใน รธน. เป็นการแก้ไขนอกเหนือจากที่มันมีใน รธน. ไม่ได้ แต่ รธน.ปี 60 มีเปิดช่องให้แก้ได้ในทุกมาตรา มีกำหนดเงื่อนไขในการแก้ไขไว้แล้ว แต่การแก้นอกเหนือ รธน. นั้นต้องฟังเสียงประชาชนด้วย ดังนั้นก็ต้องมีการทำประชามติด้วย

ไพจิต ศรีวรขาน
รัฐบาลยินดีให้มีการแก้ไข รธน. ซึ่งการให้สสร. นั้นเป็นกุญแจดอกสำคัญ เพื่อให้ ปชช. ได้มีโอกาสในการร่าง รธน. และจะเกิดประโยชน์สูงสุด

นายมนูญ สวาภิรมย์รัตน์ –
รธน. ประเทศไทยกำลังยาวขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ควรจะต้องแก้ไขให้กระชับ เป็นกฎหมายหลัก และรายละเอียดไปไว้ที่กฎหมายลูก ปัญหาที่พบในรธน. มีการตีความประเด็นถือหุ้นสื่อฯ ที่ผิดพลาดไป การนับคำนวนคะแนนเลือกตั้งที่ผิดเพี้ยน การจำกัดแก้ไขอำนาจ ส.ส. ตาม ม. 144 ไม่มีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นอย่างแท้จริง

◾️12.00 น.

นายฐิตินันท์ แสงนาค
ส่วนตัวตนเองไม่เห็นด้วย กับ รธน. ฉบับนี้ ซึ่งยืนยันว่าจะแก้ไข รธน. ปี 60 เพราะในตอนนั้น ก็มีการระบุว่า ให้รับ ๆ ไปก่อน แล้วค่อยไปแก้กัน ดังนั้นจึงควรนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาแก้ไข

นายสุทิน คลังแสง
อยากให้ ส.ว. เข้าใจถึงสาเหตุของการที่ต้องแก้ รธน. นั้น หลายพรรคออกไปหาเสียงก็ระบุว่าจะมีการแก้ไข ในนโยบายรัฐบาลข้อ 12 ก็มีระบุไว้ ซึ่งผลการศึกษาของ กมธ. ตรงกัน ที่ควรจะต้องแก้ ไปถามประชาชน ก็บอกว่า ต้องแก้ โดยให้แก้ ม. 256 แล้วตั้ง สสร. ก็ตรงกัน

เศรษฐกิจบ้านเราเกิดจากการเงินทุนจากต่างประเทศ ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นทั้งลงทุน มาเที่ยว คบค้า ดังนั้นกฎหมายดี รธน.ดูดี ประเทศโปร่งใส ตรวจสอบถ่วงดุลได้ ซึ่งที่ผ่านมาไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย ทำให้ทุกวันนี้ นักลงทุนก็เลยหนี


◾️11.30 น.

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา –
การจัดการเลือกตั้งในระบบการจัดสรรปันส่วนผสม เป็นหนึ่งในปัญหาประชาธิปไตย และส่งผลให้เกิดความไม่พอใจจนถึงขณะนี้ ซึ่งกว่า 3 เดือนจึงจะมีการประกาศผลการเลือกตั้งได้ และอีกหลายปัญหา แต่ไม่สามารถร้องเรียนความผิดกกต. ได้ เพราะ รธน. ปี 60 ไม่เปิดโอกาส ดังนั้นจึงมีหลายมาตราที่ต้องแก้ไข

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือความล้มเหลวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเสื่อมศรัทธา ความเชื่อมั่นต่ำ วิกฤติศรัทธา ความขัดแย้งในสังคม ฯลฯ ซึ่งต้องแก้ รธน. ปลดล็อก ถ่วงดุลอำนาจ พาประเทศปมเรื่องของการเลือกตั้ง จึงเป็นปมแรกที่ต้องแก้ไข

นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ –
ที่มาของ รธน. ปี 60 สืบเนื่องจากความวุ่นวายทางการเมือง นำไปสู่การปฏิวัติ จึงมีการร่างออกมา แต่จากทีใช้มาพบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตย ของรธน. ในฉบับนี้ โดยเฉพาะใน ม. 272 ที่ให้ ส.ว. ไม่ได้มาจากประชาชน แต่กลับมีผลกับการเลือกนายกฯ

ดังนั้นการตั้ง สสร. ขึ้นมาเพื่อแก้ไข รธน. ปี 60 เปิดทางให้มีการแก้ไข โดยไม่แตะต้องในหมวดที่ 1 และ2

นายถวิล เปลี่ยนศรี
หลังจากพิจารณาแล้ว ไม่สามารถเห็นด้วย โดยเฉพาะแนวทางในการยกร่างใหม่ทั้งฉบับ แม้ในการแก้ไขรายมาตราก็ยังไม่ดีมากนัก รธน. ไม่ได้แก้ปญหา ศก. หนี้ ยับยั้งโควิด-19 ไม่ได้ จึงอย่าไปคาดหวังว่าแก้แล้วจะแก้อะไรได้ จาก รธน.ปี 2540 ก็เห็นกันมาแล้ว

นายขจิตร ชัยนิคม
รธน. ฉบับนี้มีปัญหา สะท้อนให้เห็นจากที่ประชาชนออกมาชุมนุม สมาชิกสภาลงชื่อยื่นกันแก้ไข ดังนั้นเสนอแก้ ม. 256 ปลดล็อกการแก้ไขให้ดีขึ้น จะแก้ไขปัญหาในประเทศได้ ยกเลิก ม.272

◾️11.00 น.

นายชวลิต วิชยสุทธิ์
ผลการศึกษาจาก กมธ. จากที่สัมผัสมา สะท้อนว่า มีปัญหาส่งผลต่อการความมีเสถียรภาพของการเมือง และเห็นได้จากการที่นักลงทุนย้ายฐานการผลิต ไปยังที่อื่นยิ่งสะท้อนว่า ความมีเสถียรภาพทางการเมือง การปกครองไม่ได้รับความเชื่อมั่น และสุดท้ายเห็นได้จากสภาพความเป็นอยู่ ของประชาชนที่ยากจนลง

นายนิกร จำนง
สถานการณ์ในขณะนี้วิกฤติมาก ทั้งสถานการณ์การเมือง ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่กระทบหนักจากโควิด-19 ปัญหาการแตกต่าง-แตกแยกกัน และล่าสุดในประเด็นเรื่องของ รธน. ดังนั้นจึงควรแก้ไข ปลดล็อกแก้ไขปัญหา


◾️10.30 น.

นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์
รธน. เป็นกฎหมายสูงสุด การแก้ไขจึงควรทำได้ยาก ไม่ใช่ใครจะแก้ก็แก้กัน ประเด็นหลัก ๆ ที่พูดถึงคือการแก้ไข รธน. ที่ทำได้ยาก ในเนื้อหาอื่น ๆ ทั่วไป มีจุดดีอยู่หลายจุด ส่วนในบทเฉพาะกาลนั้น เป็นเพียงร่างที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้การเมืองมีเสถียรภาพ

ในแนวทางที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือการแก้ไขใน ม. 256 เพื่อเปิดทางให้มีการแก้ไข-ปรับปรุง รธน.ฉบับปี 2560 ได้

นายสมคิด เชื้อคง
รธน.ฉบับนี้ บางเรื่องดี บางเรื่องไม่ดี หลายคนบอกว่าผ่านประชามติ แต่มันไม่สมบูรณ์เพราะขาดการมีส่วนร่วมของปชช. หลายคนถูกจับ และเมื่อผ่านมาแล้วก็ยังออก ม.279 สร้างความชอบธรรมให้กับคสช. กระทบต่อหลายคนที่ถูกโยกย้ายอะไร อย่างไรก็ได้

ในส่วนของ ม. 91, 92 กระบวนการของการเลือกตั้งนั้นมีปัญหา ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ กระทบกันไปหมด ให้กลับไปใช้ในแนวทาง รธน.ปี 40

นายวัชรพล โตมรศักดิ์
รธน.ปี 2560 ที่ผ่านมามีปัญหาหลายอย่าง และมีข้อดีหลายอย่าง แต่ปัญหาเช่น การมียุทธศาสตร์ชาติที่ยาวเกินไป การเลือกตั้งที่ผ่านมาก็มีปัญหา หรือเช่น ม.144 ที่กลายเป็น ส.ส. ไม่สามารถนำเสนอปัญหาประชาชนเพื่อแก้ไขได้ เพราะให้ข้ารายการเป็นผู้เสนอโครงการ และ ส.ส. กลายเป็นเพียงตรายาง

พลโท ศานิตย์ มหาถาวร (ส.ว.)
การที่ระบุว่า ม. 191, 192 ทำให้มีปัญหาการเลือกตั้ง จริง ๆ แล้วนั้นเป็นปัญหากฎหมายลูกที่ผูกกับ รธน. ดังนั้นหากต้องการแก้ไขในจุดนั้นก็ควรไปแก้ที่จดหมายลูก ไม่ใช่แก้ที่ รธน. นอกจากนี้ การที่จะไปแก้ในหมวด 1 และ 2 นั้นก็เป็นการไม่เหมาะสม ซึ่งก็ไม่ควรจะต้องไปแก้ไขใด ๆ


◾️10.00 น.

นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ
ที่ต้องแก้ เพราะมีหลายข้อที่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการสืบทอดอำนาจ การโหวตเลือกส.ว. การเลือกตั้งด้วยบัตร 2 ใบ การนับคะแนน และ รธน. ปี 60 ถูกกล่าวหาว่ามีการเอาเปรียบในการเลือกตั้งอย่างมาก เปรียบได้กับกติกา ผู้ตัดสิน ไลน์แมน ก็มีแต่ของฝั่งรัฐบาล ดังนั้นมีปัญหาเกิดขึ้นมา จึงควรแก้ไข ม. 256 ตั้ง สสร. มาดู-หาทางแก้ไข

นายวิเชียร ชวลิต
ทุกคนรู้ดีกว่า ยอมรับในกติกา หรือ รธน. หากทุกคนไม่ยอมรับนั้นก็จะมีผู้ที่ไม่ยอมรับ ดังนั้นการที่จะแก้ไขจึงควรตั้ง สสร. ขึ้นมาดูแล-แก้ไข เพื่อไม่ให้ถูกครหาว่าแก้เพื่อตนเอง

รธน.ปี 2560 มีหลายข้อ-หลายประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับ ส.ส. หลายข้อที่มีข้อขัดแย้ง ทำให้ ส.ส. ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ เช่น ม. 144 ทำให้การถ่วงดุลอำนาจของนิติบัญญัติทำได้เพียงครึ่งเดียว

นายนิคม บุญวิเศษ –
ที่ผ่านมาไทยมีการยกร่าง รธน. มาแล้ว 20 ฉบับ ส่วนใหญ่เกิดจากการยกร่าง รธน. นั้นก็มาจากผลพวงของการปฏิวัติ/รัฐประหาร และที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเพื่อสืบทอดอำนาจ รธน. 60 นี้ก็เช่นกัน ม. 256 นั้นเขียนล็อกไว้อย่างแน่นหนา เหมือนไม่ให้แก้ไข ยังไม่นับกระบวนการหลังจากแก้ไขแล้ว ที่ต้องทำประชาพิจารณ์ ต้องให้ ส.ว. เห็นด้วย

ส่วนสาเหตุที่ต้องแก้เนื่องจากกติกาที่ไม่เป็นธรรมในการเลือกนายกฯ ดังนั้น ม. 272 ก็ควรยกเลิก


◾️09.30 น.

ประธานได้หารือในเรื่องกำหนดการประชุม ก่อนนัดเวลาเบื้องต้นในการลงมติ 18.00 น. และเตือนในเรื่องการอภิปรายเสียดสี นอกประเด็น เพื่อให้ประหยัดเวลา และไม่เกิดการประท้วง

มนพร เจริญศรี
เห็นควรในการแก้ไข ในมาตรา 272 เนื่องจากเป็นตัวแทนของการสืบทอดอำนาจ คสช. มีที่มาไม่ชอบธรรม และไม่ยึดโยงกับประชาชน ซึ่งสะท้อนออกมาในการที่ให้ ส.ว. มีสิทธิ์ในการเลือกนายกฯ

นายสำลี รักสุทธี
รธน. ปี 2560 แม้ว่ามีข้อดีแต่ก็มีปัญหา จึงควรมีการแก้ไข ปรับปรุง รธน. ให้มันถูกต้องโดยเฉพาะการคัดเลือกนายกฯ การเลือกตั้ง การนับคะแนน

อนุศักดิ์ คงมาลัย (ส.ว.)
ในการเสนอญัตติที่เข้ามามีความหลากหลาย ซึ่งใช้ข้อกล่าวอ้างว่า เป็นการแก้เพื่อประชาชน แต่ไม่แน่ใจว่า เป้นประชาชนของใคร ส.ว. ไม่ยึดโยงกับคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่ยึดโยงกับประชาชน ซึ่ง ม. 270 ในหน้าที่ของ ส.ว. นั้นมีการติดตามผล เร่งรัด ให้ยุทธศาสตร์ชาติเดินไปให้ได้ ดังนั้นในปีที่ผ่านมา ส.ว. มีการแก้ไข ติดตาม เร่งรัด ตรวจสอบ ทำงานกันในปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง และมีรายงานออกมาชัดเจน จึงอยากให้ไปศึกษาดู จึงไม่อยากให้มองว่า ส.ว. จ้องแต่จะสืบทอดอำนาจเท่านั้น