เปิดคลิปเหตุการณ์นาทีช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บนับสิบรายจากเหตุศาลาถล่มในงานทำบุญวันสงกรานต์
เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 13 เม.ย. 2562 ที่ผ่านมาหน่วยกู้ภัยฉะเชิงเทราได้รับแจ้งมีเหตุศาลาของวัดดอนสนาม พังถล่มลงมามีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายรายจึงได้รีบตรวจสอบที่เกิดเหตุ จุดเกิดเหตุ เป็นศาลาไม้ของ วัดดอนสนาม ม.3 ต.บางโรง อ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลาไม้ 2 ชั้นโดยส่วนที่พังถล่มเป็นส่วนคานเสริมไม้พร้อมปูพื้นไม้ที่เชื่อมต่อกันระหว่าง 2 ศาลาเข้าด้วยกัน
โดยเมื่อช่วงเวลาเช้า ระหว่างที่มีงานทำบุญวันขึ้นปีใหม่ไทยหรือวันสงกรานต์ โดยมีประชาชนมาร่วมงานบุญประมาณ 200 คน จึงมีการขึ้นไปนั่งบนศาลาทั้ง 2 สาลาจนเต็มและมานั่งกันที่ทางเชื่อมระหว่างศาลาด้วย ทันใดนั้นก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันพื้นไม้บริเวณทางเชื่อมได้ถล่มลงมา จนทำให้ประชาชนที่นั่งอยู่ด้านบนทางเชื่อมนั้น ได้รับบาดเจ็บจากการกระแทกพื้น และโดนกระจกบาดจำนวน 10 ราย
โดยหลังจากเกิดเหตุพลเมืองดีและหน่วยกู้ภัยฉะเชิงเทรา ได้ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บนำส่งโรงพยาบาลคลองเขื่อนและโรงพยาบาลพุทธโสธร เป็นที่เรียบร้อยทุกราย
เหตุตึกถล่ม เกิดขึ้นได้จากสาเหตุใดบ้าง ?
1.ขั้นตอนการก่อสร้างไม่ถูกต้องหรือไม่มีแผนการก่อสร้าง เช่น การใช้ค้ำยันไม่เพียงพอหรือทำไม่ถูกต้องหรืออาจถอดค้ำยันเร็วเกินไปในขณะที่พื้นคอนกรีตที่เพิ่งเทยังไม่แข็งตัวพอ หรือการเทคอนกรีตกองที่จุดใดจุดหนึ่งมากเกินไปจนเพิ่มน้ำหนักที่บริเวณนั้นมากผิดปกติ หรืออาจเกิดจากการไม่ได้ดึงลวดอัดแรงในพื้นชั้นล่างก่อนที่จะทำค้ำยันเพื่อรองรับน้ำหนักพื้นชั้นที่กำลังก่อสร้างอยู่ ทำให้พื้นชั้นล่างไม่แข็งแรงที่จะรองรับน้ำหนักพื้นที่กำลังเทคอนกรีตอยู่ จนเป็นสาเหตุให้เกิดการพังถล่ม
2.การก่อสร้างที่เร่งรีบเกินไป เช่นคอนกรีตในพื้นชั้นล่างยังไม่ได้อายุ จึงยังมีกำลังรับน้ำหนักไม่เพียงพอ แต่กลับเร่งการก่อสร้างพื้นในชั้นถัดไป เพื่อให้การก่อสร้างเสร็จเร็วขึ้นทั้งๆที่คอนกรีตในพื้นชั้นล่างยังไม่แข็งแรงพอ จึงไม่สามารถรองรับน้ำหนักของพื้นชั้นบนได้ เป็นสาเหตุให้พื้นถล่มลงมา
3.การออกแบบที่ผิดพลาด เช่นการเสริมเหล็กที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เพียงพอ เช่นการเสริมเหล็กระหว่างพื้นและเสา หรือระหว่างพื้นและกำแพงปล่องลิฟต์ หากทาไม่ถูกต้องหรือไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้โครงสร้างปราศจากการยึดรั้งระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ จนเป็นสาเหตุให้ ชิ้นส่วนต่างๆหลุดแยกจากกัน แล้วทำให้โครงสร้างพังถล่มลงมาได้ หรือเกิดจากการที่พื้นมีจุดสัมผัสกับเสาน้อยเกินไป ทำให้ร่วงหล่นลงมาได้ง่ายดาย
4.การใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น คอนกรีตกำลังต่ำ เหล็กเสริมหรือลวดอัดแรงที่ด้อยคุณภาพ
5.ฐานรากวิบัติบ่อยครั้งที่โครงสร้างถล่มมีสาเหตุมาจากการวิบัติของฐานรากเช่นเสาเข็มหักหรือเสาเข็มหนีศูนย์ในลักษณะเช่นนี้อาจสังเกตพบอาคารทรุดตัวหรือทรุดเอียงด้วย
ที่มา thaiengineering.com
ขอบคุณที่มาจาก ศูนย์วิทยุกู้ภัยฉะเชิงเทรา เรารักแปดริ้ว Welove8riew.com