เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่า พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
วันที่ 18 มีนาคม 2562 ที่ห้อง 903 ชั้น 9 สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) เดินทางมายื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่า พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในกรณีการคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ ตาม พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128
เนื่องจากข้อความในกฎหมายดังกล่าว วรรคหนึ่ง (2) ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (2) กรณีกำหนดการคำนวณ ส.ส. พึงมีได้ แต่ในกฎหมายลูกกลับปรากฏคำว่า ส.ส. พึงมีได้ในเบื้องต้น นอกจากนี้ยังเห็นว่าเนื้อหารัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ก็ขัดกันเอง คือ วรรค 3 กับวรรค 1 (4) และมาตรา 91 วรรค 1 (4) ของรัฐธรรมนูญกับ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 (5) ขัดกับมาตรา 83 วรรค 1 (2) ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ เพราะถ้า กกต. จะคำนวณให้ครบ 150 คน ก็อาจขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 วรรค 1 (4)
อย่างไรก็ตาม จากประเด็นดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อการประกาศรับรองผลเลือกตั้ง ไม่ทันวันที่ 9 พ.ค.62 และถึงแม้จะประกาศผลได้ แต่จำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อก็อาจจะมีจำนวนไม่ถึง 150 คน ทำให้ ส.ส.โดยรวมมีจำนวนไม่ถึงร้อยละ 95 จาก ส.ส.ทั้งหมด 500 คน ซึ่งอาจไม่สามารถเปิดประชุมสภาครั้งแรกได้ และปัญหาที่เกิดขึ้นบางส่วนมาจากการร่างรัฐธรรมนูญไม่รอบคอบ และนำความไม่รอบคอบนั้นมาร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. เมื่อมีการเลือกตั้งจริงทำให้เกิดการตีความจากหลายฝ่ายจนเกิดความสับสนวุ่นวายตนจึงมายื่นขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอความต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิฉัย
อย่างไรก็ตามนายปิยะ ลือเดชกุล ผู้อำนวยการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับเรื่องดังกล่าวไว้ พร้อมกล่าวว่าจะนำไปเสนอต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อพิจารณาโดยเร็วที่สุด
อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน
หน้าที่และอํานาจของผู้ตรวจการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ได้กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
- เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคําสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดๆ บรรดาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม แก่ประชาชน หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จําเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ
- แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจาก การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ขจัดหรือระงับความเดือดร้อน หรือความไม่เป็นธรรมนั้น
- เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหมวด ๕ หน้าที่ของ
ขอบคุณที่มา สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน