ถนนทรุด

รถวิ่งผ่านไม่ได้ ! เผยสาเหตุถนนสร้างใหม่เชื่อม 2 จังหวัดทรุดตัว ‘ลึก 2 เมตร’

ถนนสร้างใหม่ที่อยุธยาทรุดตัวเสียหายหนัก เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 18 เม.ย.2562 ผู้สื่อข่าวรายงาน เกิดเหตุถนนทรุดตัวหลังน้ำในลำคลองชลประทานลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นทางยาว 75 เมตร ลึก 2 เมตร กว้าง…

Home / NEWS / รถวิ่งผ่านไม่ได้ ! เผยสาเหตุถนนสร้างใหม่เชื่อม 2 จังหวัดทรุดตัว ‘ลึก 2 เมตร’

ถนนสร้างใหม่ที่อยุธยาทรุดตัวเสียหายหนัก

เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 18 เม.ย.2562 ผู้สื่อข่าวรายงาน เกิดเหตุถนนทรุดตัวหลังน้ำในลำคลองชลประทานลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นทางยาว 75 เมตร ลึก 2 เมตร กว้าง 4 เมตร ที่บริเวณถนนทางหลวงชนบท อท.4005 ตำบลลาดน้ำเค็ม อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับ ตำบลไผ่ดำพัฒนา อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองซึ่งเส้นทางที่เกิดเหตุนี้เป็นเขตรับผิดชอบของแขวงทางหลวงชนบทอ่างทอง

ทั้งนี้หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ทางหลวงชนบทลงพื้นที่ตรวจสอบชั้นดินที่เกิดสาเหตุการทรุดตัวลงและจะเร่งดำเนินการนำรถแบคโฮมาปรับหน้าถนนเพื่อให้รถจักรยานยนต์ประชาชนได้ใช้สัญจรผ่านไปได้ก่อนในเบื้องต้น

ด้านนายนิจ เพ็ชรคง ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทอ่างทองได้กล่าวว่า สาเหตุที่เกิดถนนทรุดตัวลงก็มาจากน้ำในลำคลองได้ลดระดับอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการสูบน้ำใช้ในการทำนากัน ซึ่งถนนเส้นที่เกิดเหตุทางแขวงได้มีการแก้ไขจากปีที่แล้วได้เกิดน้ำท่วม โดยการยกระดับให้สูงขึ้นจากปีที่แล้ว ช่วงเกิดเหตุที่ทรุดตัวนั้นเกิดจากช่วงกลางดึกที่ผ่านมา และช่วงเช้าที่ผ่านมาได้เกิดทรุดตัวลงหนักกว่าเดิม และเบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการปิดกั้นทางไม่ให้รถผ่านเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และจะนำรถแบคโฮมาเปิดปรับหน้าถนนเพื่อให้รถจักรยานยนต์ได้ใช้สัญจรก่อน ส่วนรถยนต์ให้อ้อมออกทางสามเรือนก่อน

ดินทรุด ถนนทรุด มีผลพวงจากภัยแล้ง

เหตุการณ์ “ถนนทรุด” ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคกลางทั้งในจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี มีสาเหตุจากการทรุดตัวของถนนอันเนื่องจากโครงสร้างดินทรุด นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์บ้านเรือนริมน้ำทรุดตัว ตลิ่งพังอีกหลายจุด ซึ่งมีปัญหาจากน้ำและดิน

ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่ช่วยเร่งให้ถนนทรุดพังเสียหายอาจเกิดจากลาดดินเดิมอาจไม่แข็งแรงเพียงพอตั้งแต่แรก ซึ่งอาจเกิดจากการบดอัดดินไม่แน่นพอ นอกจากนี้ลาดคันดินอาจสูญเสียสภาพการออกแบบเดิม เช่น มีความชันมากขึ้นจากการขุดลอกคูคลองเพื่อระบายน้ำในสภาวะน้ำท่วม รวมทั้งการกัดเซาะของกระแสน้ำในช่วงน้ำมากทำให้ลาดคันดินอ่อนแอ

นอกจากนี้อาจเกิดจากการปรับปรุงการก่อสร้างถนนตามแนวลำน้ำ โดยทำให้ชั้นทางมีความหนาเพิ่มขึ้นมาก เพื่อยกระดับถนนให้สูงขึ้นสำหรับใช้เป็นเขื่อนป้องกันน้ำท่วมไปในตัว การเพิ่มความหนาของชั้นทางเป็นการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกให้แก่ชั้นดินอ่อน และทำให้ความชันของลาดดินเพิ่มขึ้น อีกทั้งน้ำหนักบรรทุกสัญจรที่เพิ่มขึ้นทุกปี

เนื่อหาโดย ศ.ดร.อมร พิมานมาศ