ข่าวสดวันนี้ ฝ่าไฟแดง รถฉุกเฉิน

คนรุมค้าน สธ.สั่งรถพยาบาล ห้ามฝ่าไฟแดง-ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม.

สธ.ห่วงความปลอดภัย สั่งรถพยาบาลห้ามขับเร็วเกิน 80 กม./ชม. ห้ามฝ่าไฟแดงทุกรณี ด้านคนแห่ค้าน เหตุการรับส่งผู้ป่วยต้องถึงที่หมายให้เร็วที่สุด จากกรณีที่วานนี้ (18 เม.ย. 2562) นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการประชุมทางไกลร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด…

Home / NEWS / คนรุมค้าน สธ.สั่งรถพยาบาล ห้ามฝ่าไฟแดง-ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม.

สธ.ห่วงความปลอดภัย สั่งรถพยาบาลห้ามขับเร็วเกิน 80 กม./ชม. ห้ามฝ่าไฟแดงทุกรณี ด้านคนแห่ค้าน เหตุการรับส่งผู้ป่วยต้องถึงที่หมายให้เร็วที่สุด

จากกรณีที่วานนี้ (18 เม.ย. 2562) นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการประชุมทางไกลร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่ง พร้อมสั่งให้รถพยาบาลห้ามใช้ความเร็วเกิน 80 กม./ชั่วโมง และห้ามฝ่าไฟแดงทุกกรณี เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ญาติ และเจ้าหน้าที่ขณะนำส่งผู้ป่วยนั้น

ล่าสุดได้มีกลุ่มคนออกมาคัดค้านมาตราการดังกล่าวเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว เพราะรถฉุกเฉินชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นเหตุแห่งความเป็นความตาย ต้องไปถึงมือหมอ หรือโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด การกำจัดการวิ่งรถลักษณะนี้ดูจะไม่สมเหตุสมผลเท่าที่ควร

แม้ว่าทางกระทรวงสาธารณสุขจะห่วงสวัสดิภาพและสวัสดิการของเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยที่อยู่ในรถ แต่นั่นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เป็นการตั้งเงื่อนไขแก้ปัญหาภายในหน่วยงาน โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดกับประชาชน

ทั้งนี้ ข้อกำหนด ห้ามรถฉุกเฉินใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. นั้น เคยเกิดข้อถกเถียงกันมาแล้วรอบหนึ่งเมื่อปี 2015 เช่น อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถฉุกเฉิน ส่วนหนึ่งมาจากประชาชนที่ไม่เห็นความสำคัญของรถฉุกเฉิน เลี้ยวตัดหน้าแบบกระชั้นชิด ไม่หลีกทางแถมขับแข่งบ้าง ซึ่งอันที่จริง ควรออกกฏหมายเอาผิดกับผู้ใช้รถใช้ถนน กรณีทำให้รถฉุกเฉินประสบเหตุจะดีกว่า เป็นต้น

สำหรับรถฉุกเฉินนั้นมีความสำคัญ คือ เป็นรถที่ใช้ในการนำส่งผู้ป่วยสู่โรงพยาบาลด้วยความรวดเร็ว ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้ รวมถึงช่วยลดภาวะบาดเจ็บรุนแรงที่อาจเกิดกับคนไข้ให้น้อยลง โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ ผู้ป่วยโรคทางกายที่อยู่บ้าน จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว และผู้ที่ประสบอุบัติเหตุและมีอาการสาหัส ซึ่ง

โรคทางกายที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ได้แก่

-กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
-โรคหลอดเลือดสมอง
-โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น หอบหืดกำเริบเฉียบพลัน

ขณะที่อาการของอุบัติเหตุที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ได้แก่

-เลือดออกในช่องท้อง
-เลือดออกในสมอง
-มีการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง ต้องใช้ Spinal Board รองกระดูกสันหลัง เพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

ส่วนผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ กรณีนี้รถฉุกเฉินไม่สามารถช่วยชีวิตได้ และผู้ป่วยที่เสียชีวิตได้ภายใน 1-3 ชั่วโมงหลังเกิดเหตุ หากนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว มีโอกาสรอดชีวิต เช่น

ผู้ป่วยเลือดออกในเยื่อหุ้มหัวใจ ผู้ป่วยที่มีลมในช่องอกไปกดเบียดหลอดเลือด ทำให้เกิดอาการช็อค หรือผู้ป่วยเลือดออกในช่องท้อง กรณีนี้รถฉุกเฉินสามารถช่วยชีวิตให้รอดได้

ข้อมูลบางส่วนจาก med.mahidol.ac.th