กรมสรรพากร ดอกเบี้ยเงิยฝาก ภาษี

ข้อเท็จจริงเรื่อง ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 15%

จากกรณีที่วันนี้ (19 เม.ย. 62) มีกระแสข่าวโดยมีรายละเอียดว่า กรมสรรพากร เตรียมเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 15% จากดอกเบี้ยไม่เกิน 2 หมื่นบาท ต่อปี จากเดิมที่ได้รับการยกเว้น เพื่อแก้ปัญหาการหลบเลี่ยงภาษี ตามที่มีสถาบันการเงินบางแห่งเอื้อลูกค้ารายใหญ่…

Home / NEWS / ข้อเท็จจริงเรื่อง ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 15%

จากกรณีที่วันนี้ (19 เม.ย. 62) มีกระแสข่าวโดยมีรายละเอียดว่า กรมสรรพากร เตรียมเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 15% จากดอกเบี้ยไม่เกิน 2 หมื่นบาท ต่อปี จากเดิมที่ได้รับการยกเว้น เพื่อแก้ปัญหาการหลบเลี่ยงภาษี ตามที่มีสถาบันการเงินบางแห่งเอื้อลูกค้ารายใหญ่ โดยให้ปิดบัญชีและเปิดบัญชีใหม่ ก่อนจะได้ดอกเบี้ยครบ 2 หมื่น เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ณ ที่จ่าย 15 % นั้น

คำถามที่ตามมาคือ จะมีผลกระทบต่อประชาชนรายย่อยอย่างไร ซึ่งมีรายงานข่าวว่า กรมสรรพากรได้ขอให้ประชาชนที่มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ไปลงทะเบียนยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลการรับดอกเบี้ยให้สรรพากรรับรู้ เพื่อที่จะได้รับการยกเว้น แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะไม่ได้รับผลกระทบก็ตาม โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่ 15 พฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป ซึ่งหากไม่ไปดำเนินการ ผู้ฝากทุกรายจะเสียภาษี 15% ณ ที่จ่ายทันที แม้จะได้ดอกเบี้ยไม่ถึง 2 หมื่น แต่ก็สามารถขอคืนภาษีดังกล่าวในช่วงปลายปีได้

ต่อเรื่องนี้ คงจะต้องรอการยืนยันอย่างเป็น ‘ทางการ’ ต่อไป แต่สิ่งที่เราต้องมาทำความเข้าใจกันอีกครั้งก็คือ การคิดภาษีของดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ดอกเบี้ยจากเงินฝากออมทรัพย์ ทุกบัญชีรวมกันเกิน 2 หมื่น ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% อยู่แล้ว

ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 55) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ สรุปได้ว่า

  1. หากได้รับดอกเบี้ยจากบัญชีออมทรัพย์รวมทุกบัญชีจากธนาคารแห่งเดียวกันเกิน 20,000 บาทในปีภาษีนั้น ธนาคารมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 15% และนำส่งกรมสรรพากรต่อไป
  2. หากมีการฝากออมทรัพย์หลายธนาคารและมีดอกเบี้ยรับรวมกันทุกแห่งเกินกว่า 20,000 บาทในปีภาษีนั้น ผู้ฝากมีหน้าที่แจ้งแก่ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ย เพื่อให้ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากรต่อไป มิเช่นนั้น ผู้ฝากมีหน้าที่ต้องเสียภาษีโดยการนำดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่ได้ทั้งหมดไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ตอนยื่นภาษีเงินได้ 

[โดยทั่วไปบัญชีเงินฝากออมทรัพย์จะคิดดอกเบี้ยให้ผู้ฝากทุกวัน แต่จะจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝากปีละ 2 ครั้ง คือ ในเดือนมิถุนายนและธันวาคม ซึ่งดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดก็จะมารวมเป็นเงินต้นสำหรับคิดดอกเบี้ยในแต่ละวันต่อไปด้วย]

สำหรับข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

  • ในกรณีที่ดอกเบี้ยเงินฝากจากทุกธนาคารรวมกันไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี
  • กรณีที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝากและรางวัลที่ได้รับจากสหกรณ์ออมทรัพย์ ธนาคารออมสิน และธ.ก.ส

อ้างอิง: news.ch3thailand.com, ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย