ประเด็นน่าสนใจ
- นายวิชา มหาคุณ ได้ออกแถลงเกี่ยวกับผลการตรวจสอบคดี บอส อยู่วิทยา
- ผลการสอบสวนพบว่า มีการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหา
- มีผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับชั้น ตั้งแต่พนักงานสอบสวน ถึงระดับรองอัยการสูงสุด
- ต้องมีการแก้ไข ปัญหา และดำเนินคดีกับทางผู้เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการ พบว่า “มีการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม” ตั้งแต่
- เจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม
- เจ้าหน้าที่ของรัฐ
- ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- ทนายความ
- พยาน
- และบุคคลทั่วไป
กระบวนการที่ใช้ในการแทรงแซงกระบวนการยุติธรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาให้รอดพ้นการดำเนินคดี
- เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นของการดำเนินคดี “จนถึงปัจจุบัน”
- ใช้ช่องโหว่ของข้อกฎหมาย
- ใช้อำนาจโดยมิชอบ
- ใช้อิทธิพลบังคับ และสร้างพยานเท็จ
คณะทำงานเชื่อว่า
- ผู้ต้องหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ดาบตำรวจวิเชียร กลั่นประเสริฐถึงแก่ความตาย
- มีข้อสงสัยว่า ผู้ต้องหาจะทำผิดในฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา เนื่องจากชนและไม่หยุดรถช่วยเหลือ จนพาร่างผู้ตายไปไกลกว่า 60 ม. ผิดวิสัญของวิญญูชน
เริ่มต้นของการให้การช่วยเหลือผู้ต้องหา – แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
- เริ่มต้นตั้งแต่การสร้างพยานเท็จ (การนำพ่อบ้านไปสมอ้าง เป็นผู้ขับรถ)
- ผู้ต้องหายอมจำนวน มามอบตัวจริง แต่ให้การภาคเสธ อ้างเป็นความผิดของผู้ตาย
- ทำให้เกิดการตั้งข้อหาอันเป็นเท็จ / ไม่ชอบต่อกฎหมาย กับผู้ตาย
ปมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ – โคเคน
- ชั้นสอบสวนมีรายงานตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ ที่แสดงถึงปริมาณแอลกอฮอล์ และสารเสพติดในร่างกาย
- การให้การที่ระบุว่า ดื่มในภายหลังเกิดเหตุ เป็นข้ออ้างอันเป็นเท็จ ส่งผลให้มีการตั้งข้อหากับผู้ตาย
- มีการไม่ตั้งข้อกล่าวหาเสพยาเสพติดทั้งที่มีผลตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ชัดเจน
- พนักงานสอบสวน รับฟังความเห็นพยานฝ่ายผู้ต้องหา ซึ่งขัดแย้งกับผลตรวจ และนำมาเป็นเหตุผลในการสั่งไม่ฟ้อง
ทั้งหมดเชื่อว่า เป็นการช่วยเหลือผู้ตอ้งหา ไม่ให้ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญา และทำให้รูปคดีเอื้อประโยชน์ต่อผู้ต้องหาให้พ้นผิด
ปมการทำสำนวนฟ้อง
- มีการส่งสำนวนล่าช้า โดยใช้เวลาถึง 6 เดือน (เกิดเหตุ 3 ก.ย. 55, สอบสวนเสร็จ 1 มี.ค. 56 และส่งสำนวนสอบให้อัยการ 4 มี.ค. 56)
- ไม่มีการนำผู้ต้องหาไปฝากขังต่อศาล ก่อนครบกำหนดปล่อยตัวชั่วคราว
ปมการร้องเรียน/ร้องขอความเป็นธรรม
- มีการใช้การร้องขอความเป็นธรรมในการประวิงคดี ช่วยเหลือผู้ต้องหา โดยความร่วมมือของ ทนายความ เจ้าหน้าที่รัฐ และบุคคลทั่วไป
- มีการยื่นร้องขอความเป็นธรรม 14 ครั้ง โดยในครั้งแรกถึงครั้งที่ 13 เป็นการร้องต่ออัยการสูงสุด/รองอัยการสูงสุด ทุกครั้งได้สั่งยุติการร้องขอความเป็นธรรม
- เป็นการประวิงคดี โดยผู้ต้องหาไม่ได้ยื่นด้วยตัวเอง ร้องขอโดยไม่จำกัดในเหตุ/จำนวนครั้ง ทำให้คดีขาดอายุความ
- ครั้งที่ 14 การร้องขอเป็นผลสำเร็จ ซึ่งเห็นว่ามีความไม่น่าเชื่อถือ/ข้อพิรุธในการ้องขอก่อนหน้านี้หลายครั้งแล้ว
ปมพยาน-หลักฐาน
- มีการจัดให้ รองศาสตราจารย์ ส. พบกับ พันตำรวจโท ธ. เสนอวิธีการคำนวนใหม่ ภายใต้การกำกับของพนักงานอัยการ – ซึ่งเป็นการสร้างพยานหลักฐานเท็จ
- มีการแก้ไขวันสอบปากคำเป็น 26 ก.พ. 29 และ 2 มี.ค. 59 (สำหรับใช้ร้องขอความเป็นธรรม)
- การการกดดัน พันตำรวจโท ธ. ให้เปลี่ยนความเห็นจากความเร็ว 177 กม./ชม. เป็น ไม่เกิน 80 กม./ ชม. เพื่อให้สอดคล้องกับ รองศาสตราจารย์ ส. ที่เตรียมไว้
- ไม่เปิดโอกาสให้ พันตำรวจโท ธ. ได้ตรวจสอบข้อผิดพลาด แม้ พันตำรวจโท ธ. จะพยายามยกเลิกคำให้การก็ตาม หลังพบข้อผิดพลาดของ รองศาสตราจารย์ ส.
- พันตำรวจโท ว. ใช้ข้ออ้างว่า ส่งสำนวนแล้ว
- มีการลงวันที่ปลอม ซึ่งเชื่อว่า เป็นเพื่อกันบุคคลบางคนออกจากคดี และให้การคำนวนความเร็วรถใหม่เพื่อให้น่าเชื่อถือ
- มีการใช้อิทธิพลทางการเมือง กดดันกระบวนการยุติธรรม โดยร้องเรียนต่อความเป็นธรรม เมื่อ 4 พ.ค. 59 กับคณะกมธ. ที่มีทั้งข้าราชการ ทหาร ตำรวจ จนท.รัฐระดับสูงในกระบวนการยุติธรรม นำไปสู่การให้ความเห็น-อ้างพยานเท็จเกี่ยวกับความเร็วรถ
- มีกรรมาธิการ ไปเป็นพยาน/ให้ปากคำสนับสนุนข้ออ้างของผู้ต้องหา เมื่อ 15 มิ.ย. 61
- มีทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจ ไปร้องขอความเป็นธรรม โดยให้สอบปากคำ พลอากาศโท จ. และ นาย จ. เพิ่ม
- โดยกระบวนการที่เกิดขึ้น ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่ แต่เป็นประวิงคดี
- ขณะที่ นาย น. รักษาการรองอัยการสูงสุด มีความเห็น 11 พ.ย. 62 ก็มีความเห็นให้สอบพยานเพิ่ม โดยเจาะจงที่ พลอากาศโท จ. และนาย จ. ทั้งที่ 2 ปากนี้ เคยให้ปากคำไปแล้ว ซึ่งมีพิรุธ และไม่น่าเชื่อถือ แต่นาย น. เชื่อ พลอากาศโท จ. เพราะเป็นข้าราชการระดับสูง แต่กลับไม่เชื่อดุลพินิจของอดีตอัยการสูงสุด/รองอัยการสูงสุดที่สั่งให้ยุติการร้องขอความเป็นธรรม
ความเห็น/ข้อเสนอของคณะกรรมการฯ
- ต้องเริ่มกระบวนการสอบสวนใหม่ ในข้อหาที่ขาดอายุความ
- ต้องดำเนินการทางวินัยและอาญา กับผู้เกี่ยวข้องคือ
- พนักงานสอบสวนที่เกี่ยวข้องกับสำนวน
- พนักงานอัยการซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
- ผู้บังคับบัญชาที่แทรกแซงกระบวนการทำงาน
- สมาชิกสภานิติบัญญัติที่แทรกแซงการปฏิบัตหน้าที่
- ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่แทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่
- ทนายความที่กระทำผิด
- พยานที่ให้การเท็จ
- ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ที่ให้เกิดการกระทำผิด
- ดำเนินการทางจริยธรรม จรรยาบรรณ มารยาท กับหน่วยงาน/องค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
- ให้ผู้บังคับบัญชา ต้องกำกับดูแล แก้ไข การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ได้รับมอบอำนาจ หากละเลย ให้ถือว่า บกพร่อง
- ให้แก้ไขเงื่อนไขในการร้องขอความเป็นธรรม
- แก้ไขระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
วันที่มีการร้องขอความเป็นธรรมของผู้ต้องหา
- วันที่ 1 เม.ย. 56
- วันที่ 17 พ.ค. 56
- วันที่ 4 ก.ย. 56
- วันที่ 24 ก.พ. 57
- วันที่ 21 เม.ย. 57
- วันที่ 24 มิ.ย. 57
- วันที่ 28 ก.ค. 57
- วันที่ 26 มิ.ย. 58
- วันที่ 21 ม.ค. 59
- วันที่ 15 พ.ค. 59
- วันที่ 23 ธ.ค. 59
- วันที่ 6 มี.ค. 60
- วันที่ 19 ก.พ. 61
- วันที่ 7 ต.ค. 62