คดีบอส อยู่วิทยา วิชา มหาคุณ

“วิชา” แถลงผลสอบคดีบอส พบมีการทำสำนวนไม่สุจริต

“วิชา” แถลงผลสอบคดีบอส พบมีการทำสำนวนไม่สุจริต มีการสมยอม ควรสอบสวนใหม่ทั้งหมด

Home / NEWS / “วิชา” แถลงผลสอบคดีบอส พบมีการทำสำนวนไม่สุจริต

ประเด็นน่าสนใจ

  • “วิชา” แถลงผลสอบคดีบอส พบมีการทำสำนวนไม่สุจริต มีการสมยอม ควรสอบสวนใหม่ทั้งหมด
  • พร้อมแก้กฎหมายให้สามารถเอาผิดในคดีที่หมดอายุความ
  • พบเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องถูกดำเนินการทางวินัยและอาญากว่า 10 คน

วันนี้ ( 1 ก.ย. 63 ) ที่ ทำเนียบรัฐบาล นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญากับนายวรยุทธ อยู่วิทยา โดยระบุว่า คณะกรรมการได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายเพราะเรื่องดังกล่าวถือว่าสองหรือว่าสำคัญ

เนื่องจากกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมให้คนไทยทำให้คนไทยรู้สึกอ่อนไหวรู้สึกเหลื่อมล้ำในเรื่องในเรื่องกระบวนการยุติธรรมประกอบกับต่างประเทศก็ได้กดดันมาว่าจะถอนการลงทุน เนื่องจากไม่เชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่รัฐว่าจะสามารถทำให้เกิดความเป็นธรรมแม้จะเป็นคดีขับรถชนคนตาย และคดีนี้ใช้เวลานานถึง7ปี ผลปรากฏว่าสั่งไม่ฟ้อง เป็นเรื่องที่น่าอับอายต่อองค์กรรวมทั้งคนไทย

นายวิชา กล่าวว่า ในการตรวจสอบทำให้เห็นถึงพฤติกรรมการทำสำนวนบกพร่อง โดยเฉพาะการตั้งข้อกล่าวหาคนตาย คือ ดาบตำรวจวิเชียร ซึ่งไม่เป็นธรรม ทำให้รูปคดีเสียหาย พนักงานสอบสวนไม่ได้ทำสำนวนอย่างมืออาชีพ บางข้อกล่าวหาไม่ใส่ในสำนวน แม้จะมีการสอบสวนเป็นการทำแบบไม่จริงจัง เช่น ข้อกล่าวหาขับรถ

คดีดังกล่าวใช้เวลาสอบสวนถึง 6 เดือน แต่ไม่ได้ตัวมาส่งฟ้องศาล ทั้งนี้ยังพบว่า มีอัยการถูกกดดัน ที่สำคัญจุดที่เห็นว่าบกพร่อง ทำให้เกิดช่องโหว่ คือมีการร้องขอความเป็นธรรมถึง 14 ครั้ง 13 ครั้ง ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ครั้งที่14 ปรากฎว่ารองอัยการสูงสุดที่รับผิดชอบในเรื่องการขอความเป็นธรรม กลับหยิบยกพยานที่ถูกปฏิเสธขึ้นมา ทั้งที่ในความเป็นจริงการจะหยิบยกขึ้นมาต้องเป็นพยานหลักฐานใหม่ รวมทั้งการนำพยายหลักฐานครั้งที่ 8 มาพิจารณา ถือเป็นการร่วมมือที่ผิดปกติ ลักษณะสมยอม โดยดูจากวันที่สอบสวน ที่อ้างว่าสอบสวนวันที่2 และ26 กุมภาพันธ์ แต่ในความเป็นจริง มีการสอบในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ นายวิชา กล่าว

หลังจากที่ พ.ต.อ.ธนสิทธิ์ แตงจั่น ตำรวจพิสูจน์หลักฐานคดีบอส และ นายสายประสิทธิ์ เกิดนิยม นักวิชาการด้านความเร็ว ซึ่งมาให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการ ก็ยอมรับว่าถูกกดดัน และขณะนี้ได้ขอคุ้มครองชั่วคราวทันทีหลังให้ถ้อยคำ โดยนายสายประสิทธิ์ ยอมรับว่า การคำนวนความเร็วรถไม่ได้ใช้ข้อมูลที่เป็นจริง เพราะไม่ได้ไปที่จุดเกิดเหตุ แต่เป็นการคำนวนจากกระดาษ มีการหยิบยกพยานหลักฐานที่สร้างขึ้นมาด้วยความเท็จ โดยมีอัยการอยู่ในกระบวนการนี้ด้วย

คณะกรรมการจึงมีความเห็นตรงกันว่า คดีดังกล่าวทำสำนวนในลักษณะเป็นการสมยอม ไม่สุจริต ตามทฤษฎีสมคบคิด ทำให้สำนวนเสียไป จึงควรสอบสวนพยานหลักฐานใหม่ทั้งหมด คือต้องนับหนึ่งใหม่ บางข้อหายุติเพราะขาดอายุความ ดังนั้นกรรมการจึงเสนอแนะให้แก้ไขกฎหมายให้อายุความหยุดลงเมื่อผู้ต้องหาหลบหนี แบบเดียวกับคดีทุจริต ที่จะเริ่มนับอายุความจรกว่าจะได้ตัวมา อายุความจึงจะนับต่อ” นายวิชา กล่าวและว่า สำหรับบุคคลในตำแหน่งระดับสูง เราอาจไม่สามารถดำเนินการทางอาญา และวินัย แต่ทางจริยธรรมโดย ป.ป.ช.ซึ่งอาจต้องฟ้องศาลฎีกาเพื่อให้พ้นจากตำแหน่ง

นายวิชา ยังยอมรับว่า กรณีดังกล่าวเชื่อมโยงกับการเมืองโดยเฉพาะผู้เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองทางภาคเหนือ ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์นายจารุชาติ มาดทอง พยานปากเอก ที่ขณะนี้ตำรวจภูธรภาค5 กำลังตรวจสอบถึงสาเหตุการทำลายโทรศัพท์มือถือของนายจารุชาติ

อย่างไรก็ตาม ในการตอบคำถามหลังแถลง นายวิชา ยอมรับว่าจะต้องมีผู้เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการ10คนขึ้นไป ซึ่งรวมถึงอัยการและตำรวจ และยอมรับว่าในผลการสอบเกี่ยวโยงถึงกรรมาธิการบางคน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการแถลงทางคณะกรรมการฯยังได้แจกเอกสารประกอบฉบับย่อ ที่ระบุถึงข้อเสนอประกอบด้วย

  1. การยกคดีขึ้นดำเนินการใหม่ โดยเฉพาะคดีที่ยังไม่ขาดอายุความ
  2. ดำเนินคดีทางวินัยและอาญาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
  3. ในเรื่องที่ยังไม่มีความชัดเจนว่ามีความผิดหรือไม่ จะต้องมีตรวจสอบพฤติการณ์ทางจริยธรรม
  4. ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการมอบอำนาจของผู้บังคับบัญชา
  5. การปรับแก้ไข/เพิ่มติมกฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง

วางระเบียบในการมอบอำนาจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้เป็นไปตามมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฯ และในกรณีที่สั่งไม่ฟ้องตามความเห็นของพนักงานอัยการ ให้รายงานต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทราบทุกครั้ง และแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องอายุความ ในทำนองเดียวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 กล่าวคือ ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีในระหว่างถูกดำเนินคดีอาญา และให้ฟ้องคดีโดยไม่ต้อง มีตัวผู้ต้องหาได้และมิให้นับระยะเวลาที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ

ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินการของคณะกรรมการมีระยะเวลาที่จำกัด ประกอบกับมีพยานหลักฐานซึ่งเป็นพยานบุคคลและพยานเอกสารเป็นจำนวนมาก จึงเห็นควรที่จะเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการให้ส่งเรื่องนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการ ป.ป.ช.คณะกรรมการ ป.ป.ท. คณะกรรมการ ป.ป.ง. คณะกรรมการอัยการ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ สภาทนายความ เพื่อให้ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป กับเห็นสมควรดำเนินการให้คดีอาญาในเรื่องนี้เป็นคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ