ปทุมธานีฝนตกหนัก ฟ้าผ่าลงมาอย่างแรงจนทำให้รถจักรยานพังเสียหาย 7 คัน เหตุเกิดบริเวณหอพักแถว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
วันที่ 23 เม.ย. 62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเฟซบุ๊กชื่อ ‘ใต้เตียงมธ.’ ได้โพสต์ภาพไฟไหม้รถจักรยานยนต์บริเวณลานจอดรถจักรยานยนต์ตรงข้ามหอพักทียูโดม ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีข้อความว่า
“เห็นไอจีสตอรี่เพื่อนแบงค์ ว่ามีไฟไหม้แถวสะพานลอย TUDome ฝั่งมอแถวๆที่จอดรถ นี่ก็ตกใจแรงมากถึงแม้จะผ่านมาแล้ว 3 ชม.ก็เหอะ(ดีเลย์xx) เพราะนี่จอดรถไว้ตรงนี้ตลอด เลยวิ่งเลิ่กลั่กลงไปดูว่ารถเป็นอะไรมั้ย สรุปคือไฟมันไหม้ที่จอดรถจริงๆ รถมอไซที่ไหม้คือเหลือแต่ซาก ซากจริงๆเกือบดูไม่ออกว่ามีกี่คัน นี่ไปถามยามที่เข้ากะอยู่ เขาบอกตอนฝนตกหนักๆช่วงเที่ยงคืน ฟ้าผ่าลงมาที่รถไฟลุกท่วมผสมกับลมพายุที่แรงมากทำให้ไฟลามต่อไปอีก รถทั้งหมดเป็นรถที่เจ้าของ ตอนนี้เท่าที่รู้คือมีคนเดียวที่ทราบว่าตัวเองเป็นผู้โชคร้ายไปแล้วส่วนรถอีนี่จอดอยู่อีกฝั่งปลอดภัยดี 🙏🏻”#มิตรสหายใต้เตียงมธ.ท่านหนึ่ง”
ผู้สื่อข่าว จ.ปทุมธานีไ ด้ลงพื้นที่ตรวจสอบที่เกิดเหตุพบว่า บริเวณดังกล่าวเป็นลานจอดรถจักรยานยนต์ตรงข้ามหอพักทียูโดม ซึ่งจะมีสะพานลอยให้ประชาชนเดินข้ามได้ จากการสอบถามนักศึกษาที่อยู่บริเวณดังกล่าวบอกว่า เมื่อคืนนี้ประมาณเที่ยงคืนตนเองได้ขับรถผ่านถนนเชียงราก-บางขันธ์ ก็พบว่ามีฝนตกและฟ้าได้ผ่าลงมาแรงมาก ส่วนเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตบอกว่า ส่วนมากรถที่ถูกฟ้าผ่าเสียหายไปนั้นจำนวน 7คันเป็นของพยาบาลและนักศึกษาของมหาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
การเกิดฟ้าผ่า
ฟ้าผ่า นั้น เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายใต้ก้อนเมฆฝนฟ้าคะนองหรือที่นักอุตุนิยมวิทยาเรียกกันว่าเมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) ซึ่งจะเป็นเมฆที่มีลักษณะเป็นก้อนขนาดใหญ่มหึมาบริเวณฐานของเมฆ (ขอบล่าง) นั้นจะสูงจากพื้นราว ๆ 2 กิโลเมตรและที่ส่วนของยอดเมฆ (ขอบบน) นั้นอาจจะสูงถึง 20 กิโลเมตร และเมื่อก้อนเมฆนั้นเคลื่อนที่ก็จะมีลมเข้าไปยังภายในก้อนเมฆและจะเกิดการไหลเวียนของกระแสอากาศภายในอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนน้ำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้าและพบว่าประจุบวกมักจะรวมตัวกันอยู่บริเวณยอดเมฆ
ส่วนประจุลบจะอยู่บริเวณฐานเมฆ ทั้งนี้ ประจุลบที่ฐานเมฆอาจจะเหนี่ยวนำทำให้พื้นผิวของโลกที่อยู่ “ใต้เงา” ของมันมีประจุเป็นบวก เป็นผลทำใหัเกิด สนามไฟฟ้าระหว่างกลุ่มประจุเหล่านั้น เมื่อประจุ มีการสะสมจำนวนมาก ทำให้ความเครียดของสนามไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นจนเกินค่าความคงทน ของอากาศต่อแรงดันไฟฟ้า จนทำให้เกิดการคายประจุขึ้น อัน เป็นจุดกำเนิดของการเกิด ฟ้าผ่าขึ้น การคายประจุ อาจเกิดขึ้น ระหว่างก้อนเมฆ หรือ ระหว่าง ก้อนเมฆ กับ พื้นโลก ซึ่งเรียก ปรากฏการณ์ นี้ว่า “ฟ้าผ่า”