กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 24 เมษายน 2562 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง และระวังอันตรายจากลมกระโชกแรง ควรอยู่ห่างจากต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่
ทั้งนี้ในช่วงวันที่ 26-28 เมษายน 2562 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ โดยจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในวันถัดไป ทั้งนี้เนื่องจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
-
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา
บริเวณความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนภาคใต้ลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุม ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่
-
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
-อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส
-อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
-
ภาคเหนือ
อากาศร้อนและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก
-อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
-อุณหภูมิสูงสุด 37-42 องศาเซลเซียส
ตอนบนของภาค ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ตอนล่างของภาค ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
-
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
-อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
-อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
-
ภาคกลาง
อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานีนครสวรรค์ และชัยนาท
-อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
-อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
-
ภาคตะวันออก
อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด
-อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส
-อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
-
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
-อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส
-อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
-
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ตรัง และสตูล
-อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
-อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ข้อควรรู้เกี่ยวกับพายุฤดูร้อน
-
สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน
สำหรับประเทศไทย พายุฤดูร้อนเกิดจากการที่ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคุลมประเทศไทย จึงทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทยและอากาศที่แห้งและเย็นจากประเทศจีน อากาศเย็นจะผลักให้อากาศร้อนชื้นลอยตัวขึ้นสู่ข้างบนอย่างรวดเร็ว จนเมื่อไอความชื้นขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จนก่อตัวเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นก้อนสีเทาเข้มสูงมากกว่า 10 กิโลเมตร หรือที่เรียกว่าเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบและฟ้าผ่าตามมา และหากอุณหภูมิบนยอดเมฆต่ำกว่า ลบ 60 ถึง ลบ 80 องศาเซลเซียส ก็สามารถทําให้เกิดลูกเห็บตกได้
-
สิ่งที่ควรทำในระหว่างเกิดพายุ
-อย่าตกใจ ปกป้องตนเองให้ปลอดภัยและช่วยเหลือผู้อื่น
– ปิดเตาขณะทำอาหารเมื่อไฟฟ้าดับและปิดอุปกรณ์ที่ใช้แก๊สทุกชนิด
– ถ้าท่านอยู่ในบ้านหรือในอาคาร จงเคลื่อนตัวให้ห่างหน้าต่างหรือวัตถุอื่นๆ ที่อาจหล่นลงมาโดนท่านและควรลงไปอยู่ชั้นล่างของบ้านหรือของอาคาร
– ถ้าท่านอยู่นอกบ้าน ควรเข้าไปอยู่ในบ้านหรืออาคาร หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สายไฟฟ้าที่ขาดเสาไฟฟ้าและต้นไม้
– ถ้าท่านกำลังขับขี่ ควรจอดรถ และหยุดในบริเวณที่ห่างจากต้นไม้ ถ้าเป็นไปได้จงวิ่งเข้าไปอยู่ในอาคารที่ปลอดภัย จงอยู่ห่างจากสะพานลอยเสาไฟฟ้าและสิ่งอันตรายอื่นๆ
– จงรับฟังข่าวสารทางวิทยุเพื่อที่จะได้ปฏิบัติตาม
-
สิ่งที่ควรทำภายหลังพายุสงบ
– ตรวจสอบอาการบาดเจ็บของตัวท่านและบุคคลรอบข้าง
– อพยพจากอาคารที่ได้รับความเสียหายและห้ามเข้าไปในอาคารดังกล่าวจนกว่า ทางราชการจะประกาศรับรองความปลอดภัย
– โทรแจ้ง 191 เฉพาะกรณีฉุกเฉินที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
– ถ้าท่านได้กลิ่นแก๊สหรือได้ยินเสียงวัสดุเสียดสีกัน จงรีบปิดถังแก๊สและเปิดหน้าต่างแล้วหนีจาก อาคารโดยเร็ว ห้ามใช้ไม้ขีดไฟ จุดเทียน จุดไฟ หรือเปิดสวิตช์ไฟฟ้าในอาคาร
– ให้ความช่วยเหลือเพื่อนบ้านของท่าน โดยเฉพาะคนชราหรือคนพิการ
– พยายามติดต่อขอความช่วยเหลือโดยใช้ โทรศัพท์ทางไกลและหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ระดับพื้นที่
– คอยติดตามรับฟังข่าวสารทางวิทยุเพื่อปฏิบัติ ตามคำสั่งหรือรับแจ้งว่าพายุได้สงบลงแล้ว โดยปกติสถานีวิทยุจะแจ้งสถานที่หลบภัยฉุกเฉิน สถานที่ให้บริการด้านสุขอนามัยและรายงาน ความเสียหายที่เกิดขึ้น