กาย-ฮารุ เข้าแจ้งความหลังพบผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักนำภาพไปแอบอ้างขายสินค้า

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 25 เมษายน 2562 ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นายรัชชานนท์ หรือ กาย และ นางฮารุ สุประกอบ…

Home / NEWS / กาย-ฮารุ เข้าแจ้งความหลังพบผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักนำภาพไปแอบอ้างขายสินค้า

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 25 เมษายน 2562 ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นายรัชชานนท์ หรือ กาย และ นางฮารุ สุประกอบ ดารา นักแสดง เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. ในฐานะโฆษก ปอท. และ ร.ต.อ.ศตวรรฒ แวงแสน รอง สว.(สอบสวน)กก.3 บก.ปอท. เพื่อแจ้งความเอาผิดต่อเจ้าของผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักรายหนึ่ง หลังนำภาพตนเองไปแอบอ้าง ขายสินค้าผ่านเว็บไซต์จนมีผู้หลงเชื่อสั่งซื้อมาใช้ ทั้งที่ตนเองไม่ได้รู้จักหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมี พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง รอง ผบช.ภ.1 เป็นผู้ประสานนำผู้เสียหายเข้าแจ้งความ หลังไปร้องทุกข์ไว้กับตำรวจภูธรภาค 1

นายรัชชานนท์ กล่าวว่า มีบริษัทขายาหารเสริมรายหนึ่ง นำรูปฮารุ ภรรยาของตน ออกกำลังกายลดความอ้วนหลังจากคลอดบุตรคนที่ 3 พร้อมมีเนื้อหาระบุขั้นตอนการลดความอ้วนโดยละเอียด จากอินสตาแกรมที่เปิดสาธารณะ ใช้แอบอ้างขายสินค้าลดน้ำหนักดังกล่าว

นางฮารุ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เมื่อประมาณ 3-4 วันที่ผ่านมา มีคนรู้จักที่ออกกำลังกายด้วยกันที่ยิม ส่งภาพของตนจากเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งไม่ได้ระบุชื่อว่าเป็นใคร มาสอบถามตนว่าได้ใช้ผลิตภัณฑ์นี้จริงหรือไม่ เนื่องจากได้สั่งซื้อมาแล้ว 1 กล่องในราคาประมาณ 1,900 บาท ตนจึงปฏิเสธว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์จากบริษัทนี้แต่อย่างใด พร้อมไปตรวจสอบดูเว็บไซต์พบว่ายังมีภาพเปรียบเทียบก่อนและหลังลดความอ้วนของชาวไทยและต่างชาติอีกมาก แต่ไม่ทราบว่าทางบริษัทได้ขออนุญาตเจ้าของภาพมาแล้วหรือไม่ ทางตนจึงต้องมาแจ้งความไว้ก่อน เนื่องจากยังไม่ทราบว่าผลิตภัณฑ์นี้จะมีผลข้างเคียงหรือไม่ เกรงจะเป็นอันตราย

“เมื่อวานให้เลขาฯ ส่วนตัว โทรศัพท์ไปยังเบอร์ของบริษัทดังกล่าว ไปสอบถามข้อมูลว่า บุคคลในรูปเป็นผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์จริงหรือไม่ ทางปลายสายอ้างกลับมาว่าใช้จริง โดยตลอดการพูดคุยได้บันทึกเสียงไว้เป็นหลักฐานมาประกอบการแจ้งความด้วย ทั้งนี้ยังมีคนที่ติดตามชีวิตครอบครัวของเราอีกมาก อาจมีคนหลงเชื่อจริงๆ จึงอยากให้เคสนี้เป็นอุทาหรณ์ว่าให้ตรวจสอบข้อมูลสินค้าก่อนซื้อมาใช้”

เบื้องต้น พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า ต่อจากนี้เจ้าพนักงานจะเร่งตรวจสอบว่าใครเป็นผู้กระทำผิดครั้งนี้ ซึ่งเข้าข่ายลักษณะความผิด มาตรา14 (1) นำเข้าข้อมูลเท็จสู่ระบบฯ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์หรือไม่ก่อนขยายผลตรวจสอบว่าเข้าข่ายความผิดฉ้อโกงประชาชนหรือไม่

รู้จัก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1)

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1)ระบุว่า “ผู้ใด …. (1) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าท้ังหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” การเขียนกฎหมายเช่นนี้เป็นการเปิดให้ต้องตีความอยู่มาก ทำให้ลักษณะของความผิดที่ฟ้องร้องเป็นคดีความกันด้วยมาตรา 14(1) มีความหลากหลาย ดังต่อไปนี้

1.ความผิดต่อระบบ เช่น การปลอมแปลงไฟล์เพื่อแฝงตัวเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์
2.การหลอกลวง ฉ้อโกง เช่น การปลอมหน้าเว็บไซต์ว่าเป็นเว็บไซต์ของสถาบันการเงิน
3.การหมิ่นประมาท

โดยพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท