ส่องความเสียหายหลังพายุฤดูร้อนถล่มรอบ 2 หลายพื้นที่ เสาไฟฟ้าหัก-บ้านเรือนพังเสียหาย

วันที่ 27 เมษายน 2562 เกิดเหตุพายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำ รอบที่ 2 ในหลายพื้นที่ เสาไฟฟ้าหักโค่น กว่า 30 ต้น แรงลมส่งผลให้มีบ้านเรือนประชาขนเสียหายเพิ่มเติมอีกกว่า 150 หลังคาเรือน…

Home / NEWS / ส่องความเสียหายหลังพายุฤดูร้อนถล่มรอบ 2 หลายพื้นที่ เสาไฟฟ้าหัก-บ้านเรือนพังเสียหาย

วันที่ 27 เมษายน 2562 เกิดเหตุพายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำ รอบที่ 2 ในหลายพื้นที่ เสาไฟฟ้าหักโค่น กว่า 30 ต้น แรงลมส่งผลให้มีบ้านเรือนประชาขนเสียหายเพิ่มเติมอีกกว่า 150 หลังคาเรือน ที่จังหวัดลพบุรี ซึ่งถือว่าเกิดเหตุพายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำอย่างหนักอย่างรุนแรงเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 5 วัน

โดยเหตุเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเย็น และมีฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งคืนในวันที่ 26 เม.ย. 2562 ที่ผ่านมา ทั้งนี้คาดว่าเกิดจากผลกระทบ ซึ่งเกิดจากความร้อนของอุณหภูมิสูง 40 กว่าองศาต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายวัน กระทบกับมวลอากาศเย็นจนทำให้เกิดพายุฤดูร้อนอย่างรุนแรง ขณะที่บ้านบ้างหลัง ที่เสียหายจากครั้งก่อนยังซ่อมไม่แล้วเสร็จ และโดนถล่มซ้ำอีกรอบ เสียหายหนักกว่าเดิม

ล่าสุดสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี ได้รายงานผลกระทบซึ่งส่งผลให้บ้านประชาชนได้รับความเสียหาย เป็นรอบที่ 2 ในรอบ 5 วัน ที่ผ่านมา รวม 7 อำเภอ 16 ตำบล 37 หมู่บ้าน 152 หลังคาเรือน นอกจากนี้ยังมี เสาไฟฟ้าแสงสูง และ แรงต่ำ หักโค่นลงมา รวม 37 ต้น บางต้นหักโค่นล้มทับบ้านเรือนประชาชน และกระแสไฟฟ้าดับในหลายพื้นที่นานหลายชั่วโมง เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าต้องเร่งแก้ไขทำงานกันตลอดทั้งคืนโดยอำเภอที่ได้รับความเสียหนักสุด คือ อำเภอพัฒนานิคม บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายรวม 5 ตำบล 15 หมู่บ้าน 111 หลังคาเรือน

เบื้องต้น นายสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ได้สั่งการด่วน ให้แต่ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของแต่ละอำเภอทั้ง 7 อำเภอที่ได้รับผลกระทบ เร่งสำรวจความเสียหายที่แท้จริงในตลอดทั้งวันนี้อีกครั้ง เพื่อเร่งดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นการด่วน พร้อมทั้งแจ้งเตือนให้ประชาชนตรวจสอบสภาพความมั่งคงแข็งแรงของที่อยู่อาศัย และเฝ้าระวังติดตามประกาศเตือนของทางราชการ เนื่องจากอาจเกิดพายุฤดูฝน หรือพายุฤดูร้อนที่รุนแรงได้ในช่วง 1-2 วันนี้ ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้แจ้งเตือนไว้แล้ว อีกด้วย

ข้อควรรู้เกี่ยวกับพายุฤดูร้อน

  • สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน

สำหรับประเทศไทย พายุฤดูร้อนเกิดจากการที่ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคุลมประเทศไทย จึงทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทยและอากาศที่แห้งและเย็นจากประเทศจีน อากาศเย็นจะผลักให้อากาศร้อนชื้นลอยตัวขึ้นสู่ข้างบนอย่างรวดเร็ว จนเมื่อไอความชื้นขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จนก่อตัวเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นก้อนสีเทาเข้มสูงมากกว่า 10 กิโลเมตร หรือที่เรียกว่าเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบและฟ้าผ่าตามมา และหากอุณหภูมิบนยอดเมฆต่ำกว่า ลบ 60 ถึง ลบ 80 องศาเซลเซียส ก็สามารถทําให้เกิดลูกเห็บตกได้

  • สิ่งที่ควรทำในระหว่างเกิดพายุ

– อย่าตกใจ ปกป้องตนเองให้ปลอดภัยและช่วยเหลือผู้อื่น
– ปิดเตาขณะทำอาหารเมื่อไฟฟ้าดับและปิดอุปกรณ์ที่ใช้แก๊สทุกชนิด
– ถ้าท่านอยู่ในบ้านหรือในอาคาร จงเคลื่อนตัวให้ห่างหน้าต่างหรือวัตถุอื่นๆ ที่อาจหล่นลงมาโดนท่านและควรลงไปอยู่ชั้นล่างของบ้านหรือของอาคาร
– ถ้าท่านอยู่นอกบ้าน ควรเข้าไปอยู่ในบ้านหรืออาคาร หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สายไฟฟ้าที่ขาดเสาไฟฟ้าและต้นไม้
– ถ้าท่านกำลังขับขี่ ควรจอดรถ และหยุดในบริเวณที่ห่างจากต้นไม้ ถ้าเป็นไปได้จงวิ่งเข้าไปอยู่ในอาคารที่ปลอดภัย จงอยู่ห่างจากสะพานลอยเสาไฟฟ้าและสิ่งอันตรายอื่นๆ
– ควรรับฟังข่าวสารทางวิทยุเพื่อที่จะได้ปฏิบัติตาม

  • สิ่งที่ควรทำภายหลังพายุสงบ

– ตรวจสอบอาการบาดเจ็บของตัวท่านและบุคคลรอบข้าง
– อพยพจากอาคารที่ได้รับความเสียหายและห้ามเข้าไปในอาคารดังกล่าวจนกว่า ทางราชการจะประกาศรับรองความปลอดภัย
– โทรแจ้ง 191 เฉพาะกรณีฉุกเฉินที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
– ถ้าท่านได้กลิ่นแก๊สหรือได้ยินเสียงวัสดุเสียดสีกัน จงรีบปิดถังแก๊สและเปิดหน้าต่างแล้วหนีจาก อาคารโดยเร็ว ห้ามใช้ไม้ขีดไฟ จุดเทียน จุดไฟ หรือเปิดสวิตช์ไฟฟ้าในอาคาร
– ให้ความช่วยเหลือเพื่อนบ้านของท่าน โดยเฉพาะคนชราหรือคนพิการ
– พยายามติดต่อขอความช่วยเหลือโดยใช้ โทรศัพท์ทางไกลและหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ระดับพื้นที่
– คอยติดตามรับฟังข่าวสารทางวิทยุเพื่อปฏิบัติ ตามคำสั่งหรือรับแจ้งว่าพายุได้สงบลงแล้ว โดยปกติสถานีวิทยุจะแจ้งสถานที่หลบภัยฉุกเฉิน สถานที่ให้บริการด้านสุขอนามัยและรายงาน ความเสียหายที่เกิดขึ้น