โฮปเวลล์

การรถไฟตั้งคณะทำงานหารือร่วมหาขอสรุปแนวทางจ่ายค่าเสียหาย ‘โฮปเวลล์’

การรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งคณะทำงานหารือร่วมกับทีมอัยการสูงสุด กรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณ หาขอสรุปแนวทางการจ่ายค่าเสียหายโฮปเวลล์ ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเผยถึงแนวทางการจ่ายค่าเสียหายให้บริษัทโฮปเวลล์ หลังศาลปกครองสูงสุด…

Home / NEWS / การรถไฟตั้งคณะทำงานหารือร่วมหาขอสรุปแนวทางจ่ายค่าเสียหาย ‘โฮปเวลล์’

การรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งคณะทำงานหารือร่วมกับทีมอัยการสูงสุด กรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณ หาขอสรุปแนวทางการจ่ายค่าเสียหายโฮปเวลล์ ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเผยถึงแนวทางการจ่ายค่าเสียหายให้บริษัทโฮปเวลล์ หลังศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาให้กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย คืนเงินชดเชยจากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม ว่า ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการ รฟท. เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา มีมติตั้งคณะทำงาน ขึ้นมา 1 ชุด ทำงานร่วมกับทีมอัยการสูงสุด กรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณ เพื่อสรุปแนวทางการจ่ายชดเชยและวงเงินที่ชัดเจนเนื่องจากขณะนี้ตัวเลขที่จะชดเชย ยังไม่ชัดเจน รัฐเสีหายน้อยที่สุด โดยคณะทำงานชุดดังกล่าวจะมีการประชุมร่วมกันในวันจันทร์ที่ 29 เมษายนนี้ เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบในวันอังคารที่ 30 เมษายนนี้

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า คำพิพากษาดังกล่าว ทำให้ รฟท.มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งกระทบต่อแผนฟื้นฟู รฟท.แน่นอน โดยจะรอตัวเลขมูลหนี้ค่าชดเชยที่ชัดเจนก่อน ซึ่งเบื้องต้นเห็นแล้วว่ามีหนี้ 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมดอกเบี้ย ซึ่งเรื่องดังกล่างถือเป็นวาระสำคัญ ระหว่างนี้จะติดตามงานทุกสัปดาห์ คาดว่าแนวทางการแก้ไขจะมีความชัดเจนมากขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี่ จากนั้นจะกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการ เพื่อให้ทันกับเวลา 180 วันตามคำสั่งศาล

ไทม์ไลน์ โครงการโฮปเวลล์

โครงการโฮปเวลล์ ถือเป็นหนึ่งในโครงการมหากาพย์แห่งไทยที่เกิดขึ้นมาในช่วงที่ถือได้ว่าเป็นวิกฤติทางการเมืองและเศรษฐกิจหลายๆ อย่าง ส่งผลให้โครงการถูกขนานนามเป็น “โฮปเลส” (Hopeless)

รัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัน (ปี 2532 – 2534)

  • 19 กันยายน 2532 – มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ โครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขต กทม.
  • 16 ตุลาคม 2532 – มีการประกาศเชิญชวนเอกชนมาร่วมโครงการ ซึ่งมีผู้เสนอตัวเพียงรายเดียวคือ บริษัท Hopewell Holdings Ltd. (Hong Kong)
  • 1 พฤษภาคม 2533 – มีมติให้เร่งรัดการก่อสร้าง
  • 9 พฤศจิกายน 2533 – ลงนามสัญญาสัมปทานฯ มีกำหนดเวลา 30 ปี คือ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2534 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยรบ.ไทย ไม่ต้องควักกระเป๋า “โฮปเวลล์” เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ในวงเงิน 8 หมื่นล้าน
  • 23 กุมภาพันธ์ 2534 – เกิดรัฐประหาร ปี 2534 โดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ รสช. นำโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์

รัฐบาล อานันท์ ปันยารชุน

  • 5 พฤศจิกายน 2534 – มีการเจรจาขอเลื่อนระยะเวลาสัมปทานออกไป ท่ามกลางข้อครหาในขณะนั้นถึงที่มาที่ไปของโครงการหลักหมื่นล้าน แต่เอกสารไม่ชัดเจน
  • 3 ธันวาคม 2534 – ครม. ให้นำข้อสังเกตของนายไพจิตร เอื้อทวีกุล ถึงปัญหาต่างๆ ในโครงการโฮปเวลล์ ไปพิจารณาโครงการใหม่อีกครั้ง
  • 3 มีนาคม 2535 – ให้มีการเจรจาแก้ปัญหาเรื่องการออกแบบโครงสร้าง บริเวณสี่แยกบางเขนและหลักสี่
  • 10 มีนาคม 2535 – ให้มีการเจรจาร่วมระหว่าง กรมทางหลวง การรถไฟแห่งประเทศไทย
    บริษัท ดอนเมือง โทล์ลเวย์จํากัด และบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จํากัด ในการแก้ปัญหาต่างๆ
  • 28 กรกฎาคม 2535 – รบ. ยืนยัน ห้ามทุบสะพานลอย บริเวณแยกสี่แยกบางเขน-หลักสี่ ตามมติเดิม

รัฐบาล นายชวน หลีกภัย (ชวน 1)

  • 30 มีนาคม 2536 – เร่งรัดโครงการฯ ด้วยระบบ Fast Track เพื่อความรวดเร็วของการทำงาน
  • 3 พฤษภาคม 2537 – ปัญหาเรื่องหลักเกณฑ์การออกแบบ การดำเนินการต่างๆ ยังคงตกลงกันมไม่ได้
  • 27 กันยายน 2537 – มติ ครม. ให้แก้ไขเส้นทางหลักของโครงการโฮปเวลล์
  • 17 ตุลาคม 2538 – ให้การรถไฟและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงความคืบหน้า ปัญหาต่างๆ โดย รฟท. ได้ชี้แจงว่า เหลือปัญหาเพียงจุดเดียว เชื่อว่า โครงการจะเสร็จทันเวลาตามสัญญาในปี 2542
  • 16 มกราคม 2539 – รายงานความก้าวหน้าโครงการนั้น คืบหน้าไปเพียง 3.1% จากแผนที่ควรจะคืบหน้า 63.4%
  • 16 เมษายน 2539 – ความคืบหน้าโครงการนั้นอยู่ที่ 5.03%

รัฐบาล พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

  • 25 กุมภาพันธ์ 2540 – รายงานของมติ ครม. ยังพบปัญหาของการเวนคืนที่ดินของประชาชน ให้กระทรวงมหาดไทยนัดเจรจรนอกรอบ
  • 11 มีนาคม 2540 – การก่อสร้างโครงการต่ำกว่าเป้าอย่างมาก
  • สิงหาคม พ.ศ. 2540 – โฮปเวลล์หยุดการก่อสร้าง
  • 30 กันยายน 2540 – มติครม. เห็นชอบให้บอกเลิกสัญญา

รัฐบาล นายชวน หลีกภัย (ชวน 2)

  • 20 มกราคม พ.ศ. 2541 – กระทรวงคมนาคมเบิกเลิกสัญญาอย่างเป็นทางการ

….

ที่มาจาก ประมวลข้อมูลมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร (โฮปเวลล์)  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง