นายกฯ ประชุม Belt and Road Forum ประชุมที่จีน สี จิ้นผิง

กต. ชี้แจงหลังมีข้อสงสัย คณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมที่จีนจำนวนมาก

กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจง หลังมีกระแสทำไมคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุม Belt and Road Forum ครั้งที่ 2 ที่จีนเป็นจำนวนมาก อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงว่า การประชุมข้อริเริ่มสายแถบหนึ่งเส้นทาง จัดขึ้นระหว่างวันที่…

Home / NEWS / กต. ชี้แจงหลังมีข้อสงสัย คณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมที่จีนจำนวนมาก

กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจง หลังมีกระแสทำไมคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุม Belt and Road Forum ครั้งที่ 2 ที่จีนเป็นจำนวนมาก

อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงว่า การประชุมข้อริเริ่มสายแถบหนึ่งเส้นทาง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 27 เม.ย. 2562 ตั้งแต่การประชุมระดับผู้เชี่ยวชาญ/ระดับสูง จำนวน 12 เวที ในลักษณะเวทีการหารือกลุ่มย่อย (Thematic Forum) ครอบคลุมประเด็นความเชื่อมโยงในทุกมิติ ตั้งแต่ด้านนโยบาย โครงสร้างพื้นฐาน การค้าการลงทุน เทคโนโลยีและนวัตกรรม ดิจิทัล จนถึงด้านการศึกษาและประชาชน

โดยมีผู้แทนจาก 150 ประเทศ องค์การระหว่างประเทศ 29 องค์การ และภาควิชาการเอกชนจำนวนมาก ชาวต่างประเทศที่มาเข้าร่วมกว่า 5,000 คน สำหรับประเทศไทย ฝ่ายจีนได้เชิญรัฐมนตรีของไทยเข้าร่วมในเวทีต่างๆ ด้วย ได้แก่ รมว. กต. (เข้าร่วมเวที ความเชื่อมโยงด้านนโยบาย) รมว. คค. (เข้าร่วมเวทีการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน)

รมว. ดศ. (เข้าร่วมเวทีดิจิทัล) เลขาธิการ ป.ป.ช. (เข้าร่วมเวทีเกี่ยวกับการต่อต้านคอรัปชั่น) เลขาธิการ BOI (เข้าร่วมเวทีส่งเสริมการค้าการลงทุน) รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานอื่นๆ ที่ได้รับเชิญเข้าร่วม อาทิ เวทีความเชื่อมโยงด้านนวัตกรรม การศึกษาและด้านประชาชน นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนภาคประชาสังคมและภาคเอกชนไทยจำนวนมากได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมด้วย

ในการประชุมระดับผู้นำ นรม. ได้รับเชิญจาก ปธน. สี จิ้นผิง (สปป. จีน) เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำระหว่างวันที่ 26 – 27 เมษายน 2562 ประกอบด้วยการประชุมระดับสูง (High Level) และการประชุมผู้นำโต๊ะกลม (Roundtable) โดยในการประชุมครั้งนี้ มีผู้นำเข้าร่วมทั้งหมด 38 ประเทศ จากทุกทวีป รวมทั้งอาเซียน 10 ประเทศ

เพื่อติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือและโครงการต่างๆ ภายใต้ข้อริเริ่มฯ และเพื่อหารือถึงทิศทางความร่วมมือในอนาคต ไทยให้ความสำคัญกับข้อริเริ่มฯ โดยถือเป็นยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา โดยเฉพาะความเชื่อมโยง การพัฒนาอย่างยั่งยืน และการเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาของไทยที่ไทยผลักดันมาโดยตลอด

โดยจีนถือเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันในทุกระดับ และในการเข้าร่วมครั้งนี้ นอกเหนือจากการแสดงถึงบทบาทของไทยในฐานะสะพานเชื่อมระหว่างภูมิภาครวมถึง BRI แล้ว ยังแสดงถึงบทบาทไทยในฐานะประธานอาเซียนด้วย