Momo Challenge โมโม ชาเลนจ์

รู้จัก ‘โมโม ชาเลนจ์’ เกมฆ่าตัวตายออนไลน์ ภัยใกล้ตัวที่พ่อ-แม่ต้องสอดส่อง

ทำความรู้จัก ‘โมโม ชาเลนจ์’ เกมฆ่าตัวตายออนไลน์ ตัวการ์ตูนอันตรายระบาดโซเชียล ชักชวนเด็กทำร้ายร่างกายตัวเอง ต้นเหตุความวิตกของพ่อแม่ห่วงลูกเลียนแบบ จากกรณีที่เกิดความตื่นตัวอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ คลิป “Momo Challenge” ในเว็บไซต์ youtube และ youtube…

Home / NEWS / รู้จัก ‘โมโม ชาเลนจ์’ เกมฆ่าตัวตายออนไลน์ ภัยใกล้ตัวที่พ่อ-แม่ต้องสอดส่อง

ทำความรู้จัก ‘โมโม ชาเลนจ์’ เกมฆ่าตัวตายออนไลน์ ตัวการ์ตูนอันตรายระบาดโซเชียล ชักชวนเด็กทำร้ายร่างกายตัวเอง ต้นเหตุความวิตกของพ่อแม่ห่วงลูกเลียนแบบ

จากกรณีที่เกิดความตื่นตัวอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ คลิป “Momo Challenge” ในเว็บไซต์ youtube และ youtube kids เป็นคลิปชวนเด็กทำกิจกรรมต่างๆ เสี่ยงอันตราย ที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ หลังจากพบว่ากิจกรรมเชิญชวนดังกล่าวล้วนเป็นวิธีการของการฆ่าตัวตาย

ซึ่งนอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว “Momo Challenge” ยังรวมไปถึงการสอนให้เด็กไปทำร้ายร่างกายคนอื่น รวมทั้งขู่เด็กห้ามบอกใครว่าได้ดูคลิปดังกล่าว จนกลายเป็นปัญหาหวั่นวิตกของเหล่าบรรดาผู้ปกครองอยู่ในขณะนี้  ก่อนที่เวลาต่อมาบริษัทดังหลายแห่งถึงกับประกาศขอขั้นแบนไปซื้อโฆษณากับทาง Youtube หากยังไม่มีมาตรการเด็ดขาดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

วันนี้ MThai News จะพาไปทำความรู้จักกับ “Momo Challenge” กิจกรรมอันตราย เสี่ยงเล่นเลียนแบบถึงตาย ที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้กัน

Momo Challenge เป็นภาพรูปปั้นผู้หญิงครึ่งคนครึ่งนก ตาปูดโปน หน้าตาดูน่าเกลียดน่ากลัวในแกลเลอรีของประเทศญี่ปุ่น ภาพนี้ถูกนำมาใช้เป็นมีมในโมโมชาเลนจ์ โดยเจ้าของรูปปั้นไม่เกี่ยวอะไรด้วย เพื่อชักชวนให้คนบนโซเชียลทำอะไรเสี่ยงๆ รวมถึงทำร้ายผู้อื่นหรือตัวเอง และหากทำภารกิจไม่สำเร็จ หรือบอกเรื่องนี้กับผู้อื่นจะเกิดผลเสียตามมาต่อผู้ชมคลิป ซึ่งเนื้อหาอาจดัดแปลงไปตามมีมแต่ละอัน

Momo Challenge เริ่มแพร่หลายในปี 2018 และกลับมาอีกครั้งในขณะนี้ วิธีการคล้ายกับกรณีข้างบนคือ คลิปการ์ตูนที่ใช้ตัวละครดังๆ อย่าง Splatoon, Fortnite หรือ Peppa Pig ถูกดัดแปลงให้แทรกหน้าของ Momo เข้ามาในบางช่วง และบอกให้เด็กๆ ทำสิ่งที่อันตรายอย่าง เช่น  เข้าไปในครัว เปิดแก๊ส หรือหยิบมีดมาปาดคอตัวเอง

โดยขู่ว่าห้ามบอกพ่อแม่ มิฉะนั้นพ่อแม่จะเกิดอันตราย คล้ายกับคำสาปผ่านฟอร์เวิร์ดเมล์ในสังคมออนไลน์ยุคก่อน โดยมีกฎว่าจะต้องทำการประลองให้ครบทุกข้อ เพื่อหลีกหลีกการถูกสาปแช่งหลอกหลอนไปทั้งชีวิต มีการตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ใช้ปริศนาดังกล่าวต้องการเพียงแค่ลวงข้อมูลส่วนตัวของเด็กๆ เหล่านี้หรือไม่ ก่อนที่เรื่องดังกล่าวจะแดงขึ้นมาอีกครั้งจากการที่เกมดังกล่าวโผล่ขึ้นมาใน YouTube Kids

อย่างไรก็ดี องค์กรการกุศลเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย ของอังกฤษ หรือ สะมาริตันส์  จะออกมาระบุว่า ไม่มีหลักฐานยืนยันในอังกฤษและหลายประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำร้ายตัวเองเนื่องจากตัวการ์ตูน “โมโม” นอกจากนี้ เว็บไซต์ สนู๊ป ซึ่งตรวจสอบข่าวปลอม เผยว่า แม้โมโม ชาเลนจ์ จะเป็นข่าวปลอม แต่รายงานข่าวและคำเตือนที่ออกไปยังสร้างความวิตกต่อเด็กเป็นอย่างมาก

อย่างไรเสียแม้ว่าเหตุการณ์ลักษณะนี้ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่เด็กส่วนใหญ่ในเมืองไทยกลับมีการติดตามช่อง  YouTube Kids เป็นจำนวนมาก โดยแต่ละคลิปมีการเข้าชมหลายร้อยวิว ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ พ่อแม่ผู้ปกครองควรใช้โอกาสนี้เอาใจใส่ สอนบุตรหลานถึงความปลอดภัยในการเล่นโซเชียล

และเปิดใจพูดคุยถึงเนื้อหาต่างๆ ที่บุตรหลานกำลังเข้าถึงด้วย เพื่อความรู้เท่าทันและไม่ตกเป็นเยื่อของภัยคุกคามที่อาจเป็นอันตรายจากการท่องโลกออนไลน์ได้  แม้ว่า โฆษกของ YouTube ยืนยันว่าไม่พบคลิปเหล่านี้ในช่วงหลัง แต่ก็ย้ำว่าให้รีพอร์ตเพื่อให้ทีมงานของ YouTube สามารถลบคลิปได้ทันที

อนึ่งทาง Youtube  ได้มีข้อห้ามในก่อนการอัปคลิปวิดีโอผ่านเว็บไซต์ดังนี้

1.ไม่อนุญาตอัปโหลดวีดีโอภาพเปลือยหรือเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ

แม้จะเป็นวิดีโอเกี่ยวกับตัวคุณเองก็ตาม ก็ไม่อนุญาตโพสต์วิดีโอในลักษณะเช่นนี้ลงใน YouTube นอกจากนี้ Youtube ยังทำงานใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายและมีการรายงานเรื่องการล่วงละเมิดเด็กด้วย

2.ไม่อนุญาตโพสต์เนื้อหาที่เป็นอันตรายหรือให้โทษ

Youtube ได้จำกัดเนื้อหาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นการใช้ความรุนแรงหรือส่งเสริมกิจกรรมที่อันตรายหรือผิดกฎหมาย ซึ่งมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่อร่างกายอย่างรุนแรงหรือเสียชีวิต โดยวิดีโอที่ Youtube พิจารณาว่าอันตรายหรือผิดกฎหมาย ประกอบด้วย การสอนการทำระเบิด เกมตัดอ๊อกซิเจน การใช้ยาเสพย์ติดที่มีโทษรุนแรง หรือการกระทำอื่นที่อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรง

ทั้งนี้วิดีโอที่สื่อให้เห็นถึงการกระทำที่อันตรายอาจได้รับอนุญาต หากจุดประสงค์หลักคือเพื่อการศึกษา สารคดี งานทางวิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ (EDSA) และเป็นวิดีโอที่ไม่จำเป็นต้องมีภาพ ตัวอย่างเช่น ข่าวสารเกี่ยวกับอันตรายของโช้กกิ้งเกมถือว่ามีความเหมาะสม แต่การโพสต์คลิปที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของข่าวสารเดียวกันไม่สามารถทำได้

ทั้งนี้วิดีโอที่ส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำผิดด้วยความรุนแรงจะไม่ได้รับอนุญาตจาก YouTube ในทุกกรณี หากวิดีโอของคุณมีเนื้อหาส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำผิดด้วยความรุนแรงหรือคุกคามบุคคลใดด้วยการกระทำที่รุนแรงในขั้นร้ายแรง วิดีโอเหล่านั้นจะถูกลบออกจากเว็บไซต์ Youtube ในทันที

3.ไม่อนุญาตโพสต์เนื้อหาความเกลียดชัง

แม้ Youtube จะสามารถโพสต์วีดีโอแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี แต่ไม่สนับสนุนเนื้อหาที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนความรุนแรงต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอันเนื่องมาจากเชื้อชาติหรือถิ่นกำเนิด ศาสนา ความทุพพลภาพ เพศ สัญชาติ

สถานะทหารผ่านศึก หรือรสนิยมทางเพศ/อัตลักษณ์ทางเพศ หรือเนื้อหาที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความเกลียดชังโดยมีพื้นฐานจากลักษณะดังกล่าว หากวัตถุประสงค์หลักคือการโจมตีกลุ่มบุคคลที่ได้รับความคุ้มครอง จะถือว่าเนื้อหาดังกล่าวนั้นละเมิดกฎ

4.ห้ามโพสต์วีดีโอเนื้อหารุนแรง

Youtube ไม่ยอมรับการโพสต์เนื้อหาที่รุนแรงหรือนองเลือด เพื่อทำให้ตกใจ สะเทือนอารมณ์ หรือโดยไม่มีเหตุอันสมควร หากต้องการโพสต์เนื้อหาที่โจ่งแจ้งในบริบทของข่าวหรือสารคดี โปรดให้ข้อมูลที่เพียงพอเพื่อช่วยให้ผู้คนเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น อย่าส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำการรุนแรง

5.ไม่อนุญาตโพสต์วีดีโอและโพสต์ความเห็น บนวีดีโอที่ไม่เหมาะสม และการกลั่นแกล้งบนออนไลน์

Youtube ไม่อนุญาตโพสต์วิดีโอและความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสม หากพบมีการละเมิดอันมีเจตนาให้เกิดผลเสียหายแก่ผู้อื่น คุณสามารถรายงานมาที่ Youtube เพื่อทาง Youtube จะทำการนำวิดีโอออก ในบางกรณี ผู้ใช้อาจได้รับความรำคาญหรือเจอปัญหาเล็กน้อย และควรเพิกเฉยต่อปัญหาดังกล่าว

6. ห้ามสแปม ห้ามสแกม และห้ามใส่ข้อมูลเมตาที่ทำให้เข้าใจผิด

Youtube ออกเตือนว่าห้ามสแปม ดังนั้นห้ามสร้างคำอธิบาย แท็ก ชื่อ หรือภาพขนาดย่อที่ทำให้เข้าใจผิดเพื่อเพิ่มยอดดู และไม่ควรโพสต์เนื้อหาจำนวนมากที่ไม่กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ไม่เป็นที่ต้องการ หรือซ้ำซ้อน รวมถึงความคิดเห็นและข้อความส่วนตัวด้วย

7.ห้ามโพสต์วีดีโอหรือความเห็นเนื้อหาข่มขู่ คุกคาม

การกระทำบางอย่าง เช่น พฤติกรรมการขโมย การคุกคาม การขู่เข็ญ การล่วงละเมิด การข่มขู่ การล่วงล้ำความเป็นส่วนตัว การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น และการยั่วยุผู้อื่นให้กระทำความรุนแรงหรือละเมิดข้อกำหนดในการให้บริการจะถือเป็นความผิดร้ายแรง ผู้ที่ถูกจับได้ว่ากระทำการดังกล่าวอาจถูกแบนจากการใช้ YouTube อย่างถาวร

8. ห้ามสร้างวีดีโอเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น

Youtube ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ ดังนั้นคุณควรอัปโหลดเฉพาะวิดีโอที่คุณสร้างหรือได้รับอนุญาตให้ใช้เท่านั้น อย่าอัปโหลดวิดีโอที่คุณไม่ได้สร้างขึ้น หรือใช้วิดีโอที่บุคคลอื่นเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น แทร็กเพลง ข้อมูลโค้ดของโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ หรือวิดีโอที่สร้างโดยผู้ใช้รายอื่น

9.ข้อมูลส่วนบุคคล

หากมีผู้โพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลหรืออัปโหลดวิดีโอของคุณโดยไม่ได้รับการยินยอมจากคุณ คุณสามารถขอให้เรานำเนื้อหาออกได้ตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

10. ไม่แอบอ้างบุคคลอื่น

หากพบบัญชี Youtube ที่สร้างมาเพื่อแอบอ้างเป็นช่องหรือบุคคลอื่น อาจถูกนำออกจากระบบตามนโยบายการแอบอ้างบุคคลอื่น

11. ไม่อนุญาตโพสต์วีดีโอเนื้อหาการล่วงละเมิดเด็ก

บัญชีที่อัปโหลด แสดงความคิดเห็น หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศผู้เยาว์จะถูกยุติการใช้งานทันที ในกรณีที่วิดีโอมีภาพการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก โดยทีมงาน Youtube จะรายงานไปที่ NCMEC ซึ่งทำงานร่วมกับหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายทั่วโลก

12. ห้ามโพสต์วีดีโอหรือแสดงความเห็นเนื้อหาหยาบคาย

ภาษาหยาบคายที่ใช้บางครั้งอาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้ชมที่อายุน้อย การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมทางเพศหรือการดูหมิ่นอย่างรุนแรงในวิดีโอหรือข้อมูลเมตาที่เกี่ยวข้อง อาจนำไปสู่การจำกัดอายุการรับชมวิดีโอ

13. กรณีบัญชี Youtube ไม่ได้ใช้งานนานมาก

หากพบว่ามีบัญชีที่ไม่ใช้งานนานมาก YouTube จะทำการเรียกคืนบัญชีนั้นโดยไม่มีการแจ้งเตือน การไม่เข้าใช้งานใดๆ เลยอาจหมายถึง การไม่ลงชื่อเข้าใช้ไซต์เป็นเวลาอย่างน้อยหกเดือน , ไม่เคยอัปโหลดเนื้อหาวิดีโอเลย , ไม่เข้าร่วมดูหรือให้ความคิดเห็นต่อวิดีโอหรือช่อง ,

การสนับสนุนการละเมิดข้อกำหนดในการให้บริการ หากคุณโพสต์เนื้อหาที่สนับสนุนผู้ใช้อื่นในการละเมิดข้อกำหนดในการให้บริการ เนื้อหาเหล่านั้นอาจะถูกลบ บัญชีของคุณอาจถูกลงโทษ และในบางกรณีอาจถูกยุติการใช้งานได้

ดังนั้นหากไม่อยากให้วีดีโอของคุณถูกลบ ช่องของคุณถูกแบน หรือถูกลบบัญชีถาวร ก็ให้อ่านกฎและปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขการอยู่ร่วมกันของ Youtube ด้วย (ข้อมูลข่าวจาก it24hrs.com)

นอกจากนี้ยังมีวิธีการให้บุตรหลานชมคลิปวิดีโอผ่านทาง Youtube ก็สามารถทำได้ดังนี้คือ

1. เปิดโหมดความปลอดภัย
ด้วยการเลื่อนเว็บไซต์ลงมาล่างสุด จะพบปุ่มความปลอดภัยให้เลือก

2.เลือกกดล็อกโหมดความปลอดภัย
ซึ่งการเลือกโหมดนี้ไม่ได้บล็อกวิดีโอที่ไม่เหมาะสมทั้งหมด แต่บล็อกเฉพาะคนที่อัปโหลดวิดีโอที่แจ้งว่าเป็นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น

ขอบคุณข้อมูลจาก th.theasianparent.com