ยุบพรรค สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ ไทยรักษาชาติ

สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ จัดเสวนา ‘กรณียุบพรรคไทยรักษาชาติ’

สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ จัดเสวนา “กรณียุบพรรคไทยรักษาชาติ กับหลักนิติกรรมและสิทธิทางการเมือง” เวลา 13:00 น. วันที่ 1 มีนาคม 2562 ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) ชั้น P…

Home / NEWS / สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ จัดเสวนา ‘กรณียุบพรรคไทยรักษาชาติ’

สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ จัดเสวนา “กรณียุบพรรคไทยรักษาชาติ กับหลักนิติกรรมและสิทธิทางการเมือง”

เวลา 13:00 น. วันที่ 1 มีนาคม 2562 ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) ชั้น P อาคารมณียา ถ.เพลินจิต สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ จัดเสวนา “กรณียุบพรรคไทยรักษาชาติ กับหลักนิติกรรมและสิทธิทางการเมือง” โดยมี นายวิญญัติ ชาติมนตรี สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ ,รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง ,ผศ.สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ HUman Rights Watch ร่วมเสวนา ซึ่งมีผู้ดำเนินรายการคุณณัฏฐา มหัทธนา นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง

ในการเสวนาดังกล่าว รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง ได้กล่าวถึงกรณียุบพรรคไทยรักษาชาติ ระบุว่า การเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นแล้ว เพราะจากกรณียุบพรรคไทยรักษาชาตินั้น ทำให้พรรคลำบากมากขึ้น และเหนื่อยมากขึ้น แรงสนับสนุนภายนอกต่าง ๆ นั้นแผ่วลง ในขณะที่พรรคอื่น ๆ สามารถหาเสียงได้อย่างเต็มที่

ในมิติทางด้านกฎหมาย ผศ.สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวถึงประเด็นที่มีพระราชองค์การจากในหลวงรัชกาลที่ 10 ในช่วงเดียวกันกับว่าที่ได้มีการประกาศชื่อแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคไทยรักษาชาติ ในทางกฎหมายถือว่าไม่มีผลทางกฎหมายในทางรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบของพระราชดำริ ส่วนพระองค์ หรือคำบอกกล่าวว่าทรงคิเห็นอย่างไร ซึ่งหลังจากนั้นขึ้นอยู่กับว่านักกฎหมายที่มีบทบาทหน้าที่ในเรื่องนี้ จะยึดมั่นในอุดมการทางการเมืองไปในทิศทางใด ? ศาลจะรับพระราชองค์การมาตีความหรือไม่ ?

ส่วนทางด้าน รศ.สมชัย กล่าวถึงประเด็นเดียวกันว่า ตนคือว่าพระรางองค์การคือคำสั่ง ออกมาแล้ว ทุกอย่างต้องสิ้นสุด ทั้งบทบาทการเป็นแคนดิเดตนายกฯ ของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ต้องสิ้นสุดลง

ทางด้านนายวิญญัติ ชาติมนตรี ระบุว่า ในกรณีการพิจารณาการยุบพรรคไทยรักษาชาตินั้น ควรให้เป็นไปตามกฎหมายมาตรา 14 ที่ชี้ว่า หากการเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ หากเป็นการไม่ชอบนั้นให้ถือว่าไม่มีการเสนอชื่อ หากในข้อเท็จจริงที่ปัจจุบันมีการถอนชื่อแคนดิเดตนายกฯ ของไทยรักษาชาติไปแล้ว ก็ควรจบที่ตรงนั้น หากมีการเอาผิดกันต่อในทางอาญา อาจจะร้ายแรงเกินไป

นอกจากนี้นายสุณัย ผาสุข HUman Rights Watch ระบุว่า การยึดหลักนิติรัฐ นั้นย่อมเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน แต่กระนั้นได้มีการตั้งคำถามว่า กรณีการยุบพรรคไทยรักษาชาติ มีกระบวนการที่ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาได้โต้แย้งหรือไม่ เพราะอาจมีผลต่อท่าทีของเวทีนานาชาติที่มีต่อไทย ว่ากระบวนการต่าง ๆ มีความโปร่งใสหรือไม่ นอกจากนี้อาจจะมีผลต่อการฟื้นฟูความสัมพันธ์ หลังจากที่ไทยเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร ที่นานาชาติมองว่าเป็นสถานะที่ไม่เป็นปกติ ทั้งไทยยังถูกลดระดับความสัมพันธ์ลง

ย้อนเหตุกรณียุบพรรคไทยรักษาชาติ สืบเนื่องจากวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา พวกเขาเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นนายกฯ ในบัญชีของพรรค ในเวลาเพียง 13 ชั่วโมงหลังจากนั้นในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชโองการระบุว่า “พระมหากษัตริย์และพระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ ทรงดำรงสถานะอยู่เหนือการเมือง” นำมาสู่มติคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ “ยุบพรรค” โดยอ้างถึงพระราชโองการ

ทั้งนี้ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2562 ศาลปกครองกลางไม่รับฟ้องคดีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ กกต. ที่ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักษาชาติ โดยเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้นำคำสั่งจากที่ประชุมศาลรัฐธรรรมนูญ แจ้งพรรคไทยรักษาชาติ ว่า ให้พรรคไทยรักษาชาติ มาฟังคำวินิจฉัย กรณียุบพรรค วันที่ 7 มี.ค.ที่จะถึงนี้