ช้างป่า

พบซากช้างป่ากุยบุรี คาดพลาดท่าตกเขา หลังเกิดการต่อสู้กัน

พบซากช้างป่า อยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี คาดเกิดการต่อสู้กับช้างตัวอื่น และเกิดพลาดจึงเกิดตก เนื่องจากพื้นที่มีความสูงชัน วันที่ 4 มีนาคม 2562 นายทัศเนศวร์ เพชรคง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี รับแจ้งจากนายศรีสวัสดิ์ บุญมา กำนันตำบลหาดขาม ว่าพบซากช้างป่ากุยบุรี…

Home / NEWS / พบซากช้างป่ากุยบุรี คาดพลาดท่าตกเขา หลังเกิดการต่อสู้กัน

พบซากช้างป่า อยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี คาดเกิดการต่อสู้กับช้างตัวอื่น และเกิดพลาดจึงเกิดตก เนื่องจากพื้นที่มีความสูงชัน

วันที่ 4 มีนาคม 2562 นายทัศเนศวร์ เพชรคง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี รับแจ้งจากนายศรีสวัสดิ์ บุญมา กำนันตำบลหาดขาม ว่าพบซากช้างป่ากุยบุรี ขนาดใหญ่มีงายาว นอนตายอยู่กลางป่าในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เหนืออ่างเก็บน้ำบ้านย่านซื่อ หมู่ 9 ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาได้รับทราบ

ต่อมา นายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี ,นายวัฒนา พรประเสริฐ ผอ.ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี พร้อมด้วยสัตวแพทย์หญิงกชพร พิมพ์สิน นายสัตวแพทย์สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมเจ้าหน้าที่ทั้ง พ.ต.อ.สมฤกษ์ ชัยสุกัญญา ผกก.สภ.บ้านยางชุม ,พ.อ.เฉลิม สังข์ต้อง รองผู้บังคับหน่วย ฉก.จงอางศึก กองกำลังสุรสีห์ ,ร.ท.จตุรัตน์ สอนพรม หน.ชุดพัฒนาสัมพันธ์มวลชนที่1240 ภาค 1 ส่วนแยก 2 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 1 จ.กาญจนบุรี

และ จ.ส.อ. อภิเชษ ชาแสน หน.ชุด หมวด รส.2 พื้นที่อำเภอกุยบุรี และ ตชด.1451 กก.ตชด.14 ค่ายพระมงกุฎเกล้า ตำรวจ สภ.บ้านยางชุม.ตำรวจพิสูจน์หลักฐานประจวบคีรีขันธ์ ฝ่ายปกครองอำเภอกุยบุรี เดินทางไปร่วมยังตรวจสอบยังจุดที่พบซากช้างป่านอนตายอยู่ในป่าห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติกุยบุรี กว่า 1 กิโลเมตร โดยต้องเดินเท้าข้าไปในป่าประมาณ 300 เมตร

โดยนายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี พร้อมด้วยสัตวแพทย์หญิงกชพร พิมพ์สิน พร้อมทีมสัตว์สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย ได้ตรวจสอบพื้นที่อย่างละเอียดพบว่า ช้างป่าเพศผู้ซึ่งมีงาคู่ยาวประมาณ 1 เมตร เป็นงางอนสวยงาม เพศผู้อายุประมาณ 35 ปี ตายมาแล้วประมาณ 2 วัน ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากช้างป่าตัวนี้สู้กับช้างตัวอื่นๆ บริเวณด่านช้างด้านบนภูเขา และเกิดพลาดจึงเกิดตกลงมาเนื่องจากพื้นที่มีความสูงชัน ลงมาบริเวณชายเขาด้านล่าง

เนื่องจากตรวจของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดพบร่องรอยการต่อสู่ และมีร่องรอยต้นไม้หักโค่นลงมา ประกอบกับช่วงที่ตกลงมาด้านล่างมีความสูงประมาณ 22-30 เมตรและเป็นพื้นที่มีความชัน แต่อาจจะยังไม่ตายทันทีก็ได้ สภาพทั้งขาหลังทั้งคู่ซึ่งขวางติดกับต้นไม้ และมีบริเวณส่วนหัวนั้นอยู่ติดกับต้นไม้ ทำให้ช้างป่าที่ตกลงมาซึ่งอาจมีอาการบาดเจ็บอยู่แล้วไม่สามารถพยุงตัวลุกขึ้นได้ จึงตายในเวลาต่อมา

ขณะเดียวกันในส่วนของงวงที่มีแผลขนาดใหญ่นั้นเกิดจากสัตว์ที่เข้ามาแทะกัดกินเป็นไปได้ทั้งหมาใน ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งทั้งหมดการสันนิฐานทั้งจากการที่ชาวบ้านที่เข้าไปพบ และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้ยินเสียช้างป่าร้องในช่วง2 คืนที่ผ่านมา ในขณะที่ตำรวจพิสูจน์หลักฐานก็ใช้เครื่องแสกนโลหะแล้วไม่พบหัวกระสุน และไม่ร่องรอยบาดแผลจากการถูกทำร้ายจากมนุษย์แต่อย่างใด

นายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี ได้ให้ทางสัตวแพทย์หญิงกชพร พิมพ์สิน พร้อมทีมสัตว์สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย ได้ทำการผ่าพิสูจน์อีกครั้งโพยพบว่ามีร่องรอบถูกงานแทงเข้าที่ใบ หู และบริเวณลำคอ ทำให้เลือกตกใน พร้อมเก็บเนื้อชิ้นส่วนอวัยวะไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการคณะสัตว์แพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้ง

โดยให้ถอดงาทั้งคู่มีความยาวประมาณ 1 เมตร 20 เซนติเมตร เป็นงางอนสวยงาม ลงบันทึกประจำวันที่ สภ.บ้านยางชุม ไว้เป็นหลักฐาน และให้เจ้าหน้าที่นำมาเก็บรักษาไว้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติกุยบุรี หลังผ่าเสร็จแล้วให้ใช้วิธีดำเนินการกลบฝัง และไม่ใช้การเผาซากช้างป่าโดยเด็ดขาดเนื่องจากจะเป็นผลพิษ อีกทั้งบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าสมบูรณ์เป็นแหล่งไม้จันทน์หอม ที่สำคัญโดยก่อนการฝังนั้นจะมีการนิมนต์พระภิกษุมาสวดบังสกุลตามความเชื่อของชาวบ้านที่เคยปฏิบัติกันมา