ชญาดา ตระกูลรุ่งโรจน์ ธ.ก.ส. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ศาลมีคำสั่งกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น กรณี ‘ชญาดา’ ฟ้องผู้บริหาร ธ.ก.ส

ศาลมีคำสั่งกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ไตร่สวนมูลฟ้อง กรณี ‘ชญาดา’ ฟ้องผู้บริหาร ธ.ก.ส. ปมความผิดปกติทางบัญชีในโครงการรับจำนำข้าว วันที่ 6 มี.ค. 2562 เวลา 10.00 น. ศาลศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง…

Home / NEWS / ศาลมีคำสั่งกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น กรณี ‘ชญาดา’ ฟ้องผู้บริหาร ธ.ก.ส

ศาลมีคำสั่งกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ไตร่สวนมูลฟ้อง กรณี ‘ชญาดา’ ฟ้องผู้บริหาร ธ.ก.ส. ปมความผิดปกติทางบัญชีในโครงการรับจำนำข้าว

วันที่ 6 มี.ค. 2562 เวลา 10.00 น. ศาลศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์กรณี นางสาวชญาดา ตระกูลรุ่งโรจน์ อดีตพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ฟ้องดำเนินคดี นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (อดีตผู้จัดการ ธ.ก.ส.) จำเลยที่ 1 และผู้บริหาร ธ.ก.ส. กรณีความผิดปกติทางบัญชีในโครงการรับจำนำข้าว

ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องโดยที่ยังไม่มีการไตร่สวนพยาน น.ส.ชญาดาจึงได้ยื่นอุทธรณ์ขอความเป็นธรรมเพื่อขอโอกาสได้พิสูจน์ข้อเท็จจริง โดยในวันนี้ศาลมีคำสั่งกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ชี้คดีมีมูลและให้ศาลชั้นต้นไตร่สวนมูลฟ้อง

น.ส.ชญาดา กล่าวว่า ช่วงที่ตนเองได้มารับหน้าที่ทำเอกสารที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีโครงการจำนำข้าวของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งศาลได้มีการขอหลักฐานเพิ่มเติม โดยการตรวจสอบเอกสารตนเองเห็นได้ชัดเจนว่าธนาคาร ธกส. แจ้งหนี้ไปยังองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร หรือ อตก. และองค์การคลังสินค้า หรือ อคส. ไม่ถูกต้อง และยังพบวงเงินโอนออกผิดปกติ นั่นหมายความว่าส่อทุจริตชัดเจน ตนเองจึงได้โต้แย้งผู้บังคับบัญชาและคัดค้านการแจ้งหนี้ดังกล่าว จากนั้นตนได้อยู่แขวนตำแหน่ง 3 ปีโดยทันที และถูกเลิกจ้างในภายหลัง

นอกจากนั้นยังถูกกล่าวหาว่ามีอาการป่วยทางจิตและมีกระบวนการพาตนเองไปอยู่จิตเวชเป็นขั้นเป็นตอน อีกทั้งยังมีการดิสเครดิตเบนประเด็นำไปเป็นเรื่องชู้สาวเพื่อลดความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยังมีการข่มขู่คุกคามทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งทุกอย่างตนมีหลักฐานชัดเจน

ทั้งนี้การที่ตนเองต้องการของความเป็นธรรมนอกจาก ธ.ก.ส. มีการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแล้ว จำเลยทั้ง 4 ยังมีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจากการปกปิดความไม่ชอบมาพากล ดังนั้นต้องมาชี้กันว่าคำสั่งแขวนตำแหน่งมีความเป็นธรรมหรือไม่ จากนั้นจะชี้เป็นเจตนาว่าการที่เลิกจ้างนั้นมีเจตนาเพื่อที่จะปกปิดความทุจริตหรือไม่

อย่างไรก็ตามในขณะนี้นหากตนเองไม่ลุกขึ้นมาโต้แย้ง ก็จะถือเป็น 1 ในผู้ร่วมกระทำผิด ดังนั้นการคัดค้านดังกล่าวเพื่อไม่ยอมกระทำความผิดด้วย