พ.ร.บ. e-Business พ.ร.บ.ทรัสต์ ภาษีลาภลอย

ผลักดันพ.ร.บ. e-Business พ.ร.บ.ทรัสต์ และภาษีลาภลอย เข้า สนช. แล้ว

กฎหมายสำคัญ 3 ฉบับ พ.ร.บ. e-Business พ.ร.บ.ทรัสต์ และภาษีลาภลอย ผลักดันเข้า สนช. แล้ว คาดไม่สามารถใช้ได้ทันรัฐบาลนี้ พร้อมระบุ กองทุน RMF มีความจำเป็น เพราะช่วยส่งเสริมการออมประชาชน นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุ ร่างกฎหมายที่ต้องนำเสนอเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขณะนี้กระทรวงการคลังได้ผลักดันเข้าสู่ สนช.แล้วทั้งหมด แต่ยังมีกฎหมายที่สำคัญอีก 3 ฉบับที่ยังติดค้างและคาดว่าจะไม่สามารถพิจารณานำมาใช้ได้ทันในรัฐบาลชุดนี้ ได้แก่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) จากต่างชาติ ร่าง พ.ร.บ.ทรัสต์ เพื่อการจัดการทรัพย์สินส่วนบุคคล และ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ (ภาษีลาภลอย) เนื่องจากใกล้วันเลือกตั้ง  สนช.จึงปิดรับการพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ในทุกฉบับ สำหรับมาตรการหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ซึ่งจะหมดอายุมาตรการในสิ้นปี 2562 นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ขณะนี้ตลาดทุนมีขนาดใหญ่กว่าจีดีพีประเทศ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอุ้ม แต่สิ่งที่ตลาดทุนจะต้องทำต่อจากนี้คือการพัฒนากองทุนในระยะยาว ส่วนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่สามารถนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท มองว่ายังมีความจำเป็นที่ต้องคงมาตรการนี้ไว้ เนื่องจากเป็นการส่งเสริมการออมเงินของประชาชนเพื่อให้มีเงินออมไว้ใช้ในช่วงวัยเกษียณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังกล่าวถึง กรณีที่แบงค์ชาติมีความกังวลต่อภาวะหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มของผู้มีรายได้น้อย ซึ่งอาจเกิดความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ ว่า สะท้อนให้เห็นว่าผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น โดยการก่อหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่เกิดจากสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นหนี้ที่มีคุณภาพและอีกส่วนคือเป็นหนี้นอกระบบ ที่ถูกแปลงเข้าสู่หนี้ในระบบ

Home / NEWS / ผลักดันพ.ร.บ. e-Business พ.ร.บ.ทรัสต์ และภาษีลาภลอย เข้า สนช. แล้ว

กฎหมายสำคัญ 3 ฉบับ พ.ร.บ. e-Business พ.ร.บ.ทรัสต์ และภาษีลาภลอย ผลักดันเข้า สนช. แล้ว คาดไม่สามารถใช้ได้ทันรัฐบาลนี้ พร้อมระบุ กองทุน RMF มีความจำเป็น เพราะช่วยส่งเสริมการออมประชาชน

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุ ร่างกฎหมายที่ต้องนำเสนอเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขณะนี้กระทรวงการคลังได้ผลักดันเข้าสู่ สนช.แล้วทั้งหมด แต่ยังมีกฎหมายที่สำคัญอีก 3 ฉบับที่ยังติดค้างและคาดว่าจะไม่สามารถพิจารณานำมาใช้ได้ทันในรัฐบาลชุดนี้ ได้แก่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) จากต่างชาติ ร่าง พ.ร.บ.ทรัสต์ เพื่อการจัดการทรัพย์สินส่วนบุคคล และ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ (ภาษีลาภลอย) เนื่องจากใกล้วันเลือกตั้ง  สนช.จึงปิดรับการพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ในทุกฉบับ

สำหรับมาตรการหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ซึ่งจะหมดอายุมาตรการในสิ้นปี 2562 นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ขณะนี้ตลาดทุนมีขนาดใหญ่กว่าจีดีพีประเทศ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอุ้ม แต่สิ่งที่ตลาดทุนจะต้องทำต่อจากนี้คือการพัฒนากองทุนในระยะยาว ส่วนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่สามารถนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท มองว่ายังมีความจำเป็นที่ต้องคงมาตรการนี้ไว้ เนื่องจากเป็นการส่งเสริมการออมเงินของประชาชนเพื่อให้มีเงินออมไว้ใช้ในช่วงวัยเกษียณ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังกล่าวถึง กรณีที่แบงค์ชาติมีความกังวลต่อภาวะหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มของผู้มีรายได้น้อย ซึ่งอาจเกิดความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ ว่า สะท้อนให้เห็นว่าผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น โดยการก่อหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่เกิดจากสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นหนี้ที่มีคุณภาพและอีกส่วนคือเป็นหนี้นอกระบบ ที่ถูกแปลงเข้าสู่หนี้ในระบบ