ปมที่น่าสนใจ
- ความเคลื่อนไหวครั้งใหม่ ของคิม ยอ จอง น้องสาวคิม จอง อึน มุ่งเป้าไปที่ประเด็นการหารือในความร่วมมือปลดอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ
- ท่าทีของเกาหลีเหนือในช่วงหลังจากเหตุระเบิดอาคารประสานงานเกาหลีเหนือ-ใต้ มีการเอ่ยถึงอาวุธนิวเคลียร์มากขึ้น
- คิม ยอ จองได้หายไปจากหน้าสื่อฯ ของเกาหลีเหนือพักใหญ่ หลังจากการระเบิดอาคารฯ เมื่อเดือนที่ผ่านมา
แถลงการณ์ฉบับล่าสุดของ คิม ยอ จอง ในฐานะรองผู้อำนวยการคณะกรรมการกลางของพรรคแรงงานเกาหลีเหนือ ผ่านเว็บไซต์ KCNA ว่า ยังคงเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของเธอ แต่สำหรับการประชุมสุดยอดระหว่างเกาหลีเหนือและสหรัฐฯ ก็น่าจะไม่ได้เกิดขึ้นอีกในปีนี้อย่างแน่นอน
การประชุมเป็นคงเป็นความต้องการของสหรัฐฯ ฝ่ายเดียว
คิม โย จอง ได้กล่าวถึงสาเหตุว่าการจัดประชุมร่วมในครั้งนี้มีเหตุผลอยู่ 3 คือ ประการแรกคือความจำเป็น การประชุมที่จะเกิดขึ้น หากมองว่าเป็นความจำเป็นแล้ว คงเป็นความจำเป็นของสหรัฐฯ เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น
ประการที่สอง การประชุมสุดยอดที่จะเกิดขึ้นนั้นน่าจะจบลงด้วยการเสียเวลาในการเจรจาพูดคุย และประการสุดท้าย ซึ่งยอมรับไม่ได้ เพราะคาดว่าจะเป็น จอห์น โบลตัน
เกี่ยวกับ จอห์น โบลตัน
จอห์น โบลตัน อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ ของสหรัฐฯ และ อดีตเอกอัครราชทูตสหประชาชาติ ซึ่งหลายคนระบุว่า โบลตัน เป็น “สายเหยี่ยว” ในด้านนโยบายการต่างประเทศตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าการไม่ยอมอ่อนข้อต่อเกาหลีเหนือ ต่อต้านและคัดค้านการเจรจากับอิหร่าน หรือหนึ่งในสิ่งที่โบลตันมีเอี่ยวก็คือบทบาทในการบุกอิรัก
ซึ่งในการประชุมสุดยอดระหว่างทรัมป์ – คิม จองอึน ที่ผ่านมา โบลตันได้ระบุว่า เป็นการประชุมที่ไร้แก่นสาร และเป็นเพียงการสร้างภาพ ที่ทรัมป์แยกไม่ออกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ของชาิต จนมีรายงานว่า ทรัมป์ โมโห โบลตันไม่น้อยทีเดียว
รวมถึงโบลตัน ยังพาดพิงไปยังเกาหลีใต้ ในฐานะผู้จัดการประชุมด้วยว่า “เป็นความพยายามในการรวมชาติของเกาหลีมากกว่า”
เปรียบเทียบ “การประชุมเป็นเพียงของขวัญวันคริสต์มาสในการเลือกตั้งสหรัฐฯ”
คิม โย จอง ยังได้ระบุว่า ในการประชุมที่เกิดขึ้น เป็นเพียงการพูดคุยจะเกิดขึ้นกับผู้นำเกาหลีเหนือ เพื่อซื้อเวลาและสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งเกาหลีเหนือไม่ได้อะไรจากการเจรจาที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด
ซึ่งสิ่งที่สหรัฐฯ ต้องการจริงๆ ในขณะนี้คือการซื้อเวลา และใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับเกาหลีเหนือเพื่อป้องกันวิกฤติทางการเมืองของสหรัฐฯ ในขณะที่เกาหลีเหนือไม่ได้ประโยน์ใดๆ นอกจากความเบื่อ หรือเผชิญกับภัยคุกคามทางเศรษฐกิจหรือทางทหาร ส่วนสหรัฐฯ หวังว่าการเจรจาที่เกิดขึ้นจะเป็นเหมือนของขวัญวันคริสมาสต์ในการเลือกตั้งสหรัฐฯ ซึ่งคงไม่ได้รับ
ซัดผลการประชุมเมื่อปี 2562 ไม่การันตีอะไร
จากการประชุมเมื่อ 30 มิถุนายน 2562, คิม โย จองได้ กล่าวถึงในประเด็นนี้ว่า ข้อตกลงแลกเปลี่ยนระหว่างการปลดอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือกับการยกเลิกการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ นั้น ไม่ได้การันตีใดๆ ว่าเกาหลีเหนือจะปลอดภัย หรือเศรษฐกิจจะดีขึ้นแต่อย่างใด แต่กลับทำให้เกาหลีเหนือกลายเป็นปมความเกลียดชัง และผลักดันให้เกาหลีเหนือต้องพึ่งพาตนเองในที่สุด
Editor Note :
จากประเด็นนี้การประชุมเมื่อปี 2562 นั้น มีรายงานว่า การเจราระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และคิม จอง อึน จบลงด้วยท่าทีที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากทั้งสองไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใดๆ ได้
ซึ่งมีรายงานว่า ทรัมป์ไม่พอใช้กับการที่คณะที่ปรึกษาของสหรัฐฯ (ที่มีจอห์น โบลตัน) ไม่น้อยทีเดียว จนได้ตั้งคำถามว่า “เรื่องไหนใหญ่กว่ากันระหว่างการทำข้อตกลงเล็กๆ น้อยกับการยกเลิกการเจรจา”
คิม โย จองยังได้กล่าวต่อในประเด็นนี้ว่า การเจรจายุติการพัฒนานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นได้สร้างความยุ่งยากในการเดินหน้าพัฒนานิวเคลียร์ในระยะยาวของเกาหลีเหนืออีกด้วย แต่ก็ไม่ใช่ว่า การปลดอาวุธนิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือจะเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่ยังไม่ใช่ในเวลานี้
ทิ้งท้าย อวยพรของให้ทรัมป์ ประสบความสำเร็จ
ในแถลงการดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นประเด็นว่าด้วยการประชุมสุดยอดระหว่างเกาหลีเหนือ-สหรัฐฯ ที่จะไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน ซึ่งก็เปิดช่องไว้สำหรับการเจรจาในอนาคต
ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง ทรัมป์ กับ คิม จอง อึนนั้น อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ในการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นเกาหลีเหนือเอง จำเป็นจะต้องป้องกันตัวเอง เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
และในช่วงท้ายของแถลงการณ์ ได้ระบุว่า คิม จอง อึน ได้อนุญาตให้เธอได้ดู DVD การฉลองวันชาติ สหรัฐฯ ที่เพิ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยได้กล่าวว่า
“ท่านประธานฯ ได้มอบหมายให้ดิฉันถ่ายทอดความปรารถนาดีไปยังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ – ขอให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน”
คิม ยอ จอง , 10 ก.ค. 2563 ผ่าน KCNA
Editor Note :
หลังจากที่มีเหตุการณ์การระเบิดอาคารประสานงานร่วมระหว่างเกาหลีเหนือ-ใต้ แถลงการณ์ที่ออกในชื่อของ คิม โย จอง เงียบหายไปจากหน้าสื่อของเกาหลีเหนือ จนกระทั่งเมื่อวานนี้ (10 ก.ค. 63)
แต่ในขณะเดียวกัน ทั้ง KCNA, Pyongyang Times มีกล่าวถึงประเด็นในเรื่องของอาวุธนิวเคลียร์มาขึ้น กว่าก่อนช่วง 2-3 เดือน ก่อนเกิดเหตุการณ์ระเบิดอาคาร รวมถึงการพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือและอิหร่านอีกด้วย