เช็กอัตราโทษสูงสุด ล่าสัตว์ป่า หรือมีซากสัตว์ป่าไว้ในครอบครอง

การล่าสัตว์หรือมีซากสัตว์ป่าไว้ในครอบครองครั้งนี้ ไม่ใช่กรณีแรกที่เกิดขึ้น เพราะก่อนหน้านี้เคยมีคดีโด่งดังของ “นายเปรมชัย” ผู้ต้องหาล่าเสือดำ มาแล้ว ซึ่งจะมีอัตราโทษมากน้อยแค่ไหนไปอ่านกันเลย ปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายหลักที่ใช้เพื่อดูแลการคุ้มครองสัตว์ป่า ได้แก่ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ซึ่งได้มีการแก้ไขมาแล้ว 2 ครั้ง…

Home / NEWS / เช็กอัตราโทษสูงสุด ล่าสัตว์ป่า หรือมีซากสัตว์ป่าไว้ในครอบครอง

การล่าสัตว์หรือมีซากสัตว์ป่าไว้ในครอบครองครั้งนี้ ไม่ใช่กรณีแรกที่เกิดขึ้น เพราะก่อนหน้านี้เคยมีคดีโด่งดังของ “นายเปรมชัย” ผู้ต้องหาล่าเสือดำ มาแล้ว ซึ่งจะมีอัตราโทษมากน้อยแค่ไหนไปอ่านกันเลย

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายหลักที่ใช้เพื่อดูแลการคุ้มครองสัตว์ป่า ได้แก่ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ซึ่งได้มีการแก้ไขมาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2546 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2557

โดยเฉพาะอัตราโทษสูงสุด ของการล่าสัตว์ป่าสงวน, สัตว์ป่าคุ้มครอง ตลอดจนมีสัตว์ป่าสงวน, สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือมีซากไว้ในครอบครอง จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีล่าสัตว์ป่าใดๆ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ขณะที่ประชาชนหลายราย มองว่าควรปรับอัตราโทษให้หนักขึ้น เพราะปัจจุบัน พฤติกรรมกลุ่มล่าสัตว์ป่า ท้าทายกฎหมายมากขึ้น

หากมองย้อนไปถึงคดี “ล่าสัตว์ป่า” ที่โด่งดังก่อนหน้านี้ คงหนีไม่พ้นคดีของนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) พร้อมพวกรวม 4 คน ที่ตกเป็นผู้ต้องหาร่วมกันล่าเสือดำ

และสัตว์ป่าอื่นๆ ในทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี ก่อนจะถูกพนักงานอัยการสั่งฟ้องไป 6 ข้อหา อาทิ ร่วมกันล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ร่วมกันครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือร่วมกันซ่อนเร้นซากของสัตว์ป่า