คดีเสือดำ เปรมชัย

‘คดีฆ่าเสือดำ’ จะเป็นอย่างไรต่อ หลังศาลสั่งจำคุก ‘เปรมชัย’ 16 เดือน

‘คดีฆ่าเสือดำ’ จะเป็นอย่างไรต่อ หลังศาลชั้นต้นสั่งจำคุก ‘เปรมชัย’ 16 เดือน ความคืบหน้าของ ‘คดีฆ่าเสือดำ’ ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เหตุเกิดเมื่อ 3 ก.พ. 61…

Home / NEWS / ‘คดีฆ่าเสือดำ’ จะเป็นอย่างไรต่อ หลังศาลสั่งจำคุก ‘เปรมชัย’ 16 เดือน

‘คดีฆ่าเสือดำ’ จะเป็นอย่างไรต่อ หลังศาลชั้นต้นสั่งจำคุก ‘เปรมชัย’ 16 เดือน

ความคืบหน้าของ ‘คดีฆ่าเสือดำ’ ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เหตุเกิดเมื่อ 3 ก.พ. 61 ล่าสุดวันนี้ (19 มี.ค.62) ศาลจังหวัดทองผาภูมิ ได้มีคำพิพากษาตัดสินจำคุกนายเปรมชัย กรรณสูตร จำเลยที่ 1 รวม 16 เดือน แบ่งเป็นข้อหาร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาติ จำคุก 6 เดือน ข้อหาเป็นผู้สนับสนุนให้ผู้อื่นล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำคุก 8 เดือน ข้อหาร่วมกันมีซากสัตว์ป่าคุ้มครอง (ไก่ฟ้าหลังเทา) ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 2 เดือน

ในส่วนจำเลยที่ 2 นางยงต์ โดดเครือ 13 เดือน ไม่รอลงอาญา ,จำเลยที่ 3 นางนที เรียมแสน จำคุก 4 เดือน ปรับ 1 หมื่นบาท รอลงอาญา ,จำเลยที่ 4 นายธานี ทุมมาช จำคุก 17 เดือน ไม่รอลงอาญา โดยจำเลยทั้งหมดร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 2 ล้านบาท

สำหรับแนวทางการต่อสู้คดีของนายเปรมชัย กรรณสูตร ภายหลังศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วนั้น ในเรื่องของการประกันตัว
จำเลยสามารถยื่นขอประกันตัวก่อนที่จะยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกาได้ โดยการขอประกันตัวดังกล่าวต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดี หรืออาจยื่นต่อศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาค หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้การประกันตัวในชั้นใดก็จะใช้ได้ในชั้นนั้น เมื่อชั้นของการของประกันตัวเปลี่ยนไปก็ต้องยื่นขอประกันตัวใหม่ (ล่าสุดศาลจังหวัดทองผาภูมิมีให้ประกันตัวนายเปรมชัย วงเงินประกัน 4 แสนบาท อ่านเพิ่มเติม>> ศาลให้ประกันตัว ‘เปรมชัย’ คดีเสือดำ 4 แสน สั่งห้ามออกนอกประเทศ )

การยื่นอุทธรณ์

เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว ถ้าเป็นคดีที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือต้องห้ามฎีกา โจทก์จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือฎีกาได้ โดยยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลชั้นต้น ภายในกำหนด 1 เดือน นับตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยการยื่นอุทธรณ์อาจทำได้ 2 กรณีคือ การขอยกฟ้อง หรือการขอลดโทษ เมื่อคดีเข้าสู่กระบวนการในชั้นอุทธรณ์ก็จะมีการนัดสืบพยานโจทก์ จำเลย เมื่อเสร็จสิ้นก็จะมีคำพิพากษา หากจำเลยประสงค์ที่จะต่อสู้คดีก็จะเข้าสู่ในชั้นฎีกาต่อไปตามขั้นต่อกระบวนการของศาล

มาตรา 198 การยื่นอุทธรณ์ ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่าน หรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง ให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน

ในกรณีที่ตามคำพิพากษาจำเลยต้องรับโทษจำคุกหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นและจำเลยไม่ได้ถูกคุมขัง จำเลยจะยื่นอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ มิฉะนั้น ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ทั้งนี้ ประธานศาลฎีกาอาจออกข้อบังคับกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแสดงตนของจำเลยก็ได้ ข้อบังคับนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

ความในวรรคสามมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่จำเลยได้รับการรอการลงโทษจำคุก หรือรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว