l

สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระดำริให้วัดตั้งโรงทาน ช่วยเหลือประชาชน ในห้วงไวรัสโควิด-19 ระบาด

รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (23 มี.ค. 2563) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้ทำหนังสือ ที่ สสร.164/2563 ถึง ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรื่อง ประทานดำริให้วัดจัดตั้งโรงทานช่วยเหลือผู้ประสบความยากลำบาก ในสถานการณ์โรคระบาด…

Home / NEWS / สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระดำริให้วัดตั้งโรงทาน ช่วยเหลือประชาชน ในห้วงไวรัสโควิด-19 ระบาด

ประเด็นน่าสนใจ

  • ทั้งนี้ไม่ใช่การบังคับ แต่เป็นการประสานความร่วมมือไปยังวัดต่างๆ
  • ส่วนการแจกจ่ายนั้น ต้องไม่ใช่การรวมกันของคนหมู่บ้าน
  • เล็งประสานบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุขในการอำนวยความสะดวก

รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (23 มี.ค. 2563) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้ทำหนังสือ ที่ สสร.164/2563 ถึง ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรื่อง ประทานดำริให้วัดจัดตั้งโรงทานช่วยเหลือผู้ประสบความยากลำบาก ในสถานการณ์โรคระบาด

โดยมีความว่า “ด้วย เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นอย่างกว้างขวาง

ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย การประกอบอาชีพ การดำเนินชีวิตประจำวัน และฐานะทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความยากลำบากในหมู่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย หรือตกอยู่ในภาวะที่ต้องปรับรูปแบบการดำรงชีวิตอย่างกะทันหัน…

“พร้อมทั้งทรงพระดำริว่า วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนคู่กับสังคมไทยมานับแต่โบราณตราบจนปัจจุบัน วัดไม่เพียงแต่เป็นที่พำนักของพระภิกษุสามเณร แต่ยังเป็นสถานสาธารณสงเคราะห์ของชุมชนด้วย จึงสมควรที่จะให้วัดมีศักยภาพเพียงพอที่จะอนุเคราะห์ประชาชนผู้ประสบความยากลำบาก ดำเนินภารกิจตามบทบาทหน้าที่ ที่ดำรงอยู่นับแต่อดีตกาล”

“การนี้ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช มีพระบัญชาโปรดให้ท่าน พิจารณาสั่งการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้ประสานกับวัดทั่วราชอาณาจักรซึ่งมีศักยภาพเพียงพอ จัดตั้งโรงทาน ช่วยเหลือผู้ประสบความยากลำบากในสถานการณ์โรคระบาด

ทั้งนี้ มิใช่การบังคับ แต่เป็นการกำหนดแนวทางประสาน ความร่วมมือ โดยให้คำนึงถึงความพร้อมของแต่ละวัด ประกอบกับการสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในชุมชนนั้นๆ เป็นสำคัญ”

อนึ่ง ขอให้สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประสานภารกิจร่วมกับทุกหน่วยงานและบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข ซึ่งมีประจำอยู่ในแต่ละพื้นที่ ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงทาน และการแจกจ่าย ให้เป็นไปตามหลักสุขอนามัย

โดยต้องไม่มีการจัดพิธีการ พิธีกรรม กิจกรรม หรือการบริการจัดการใดๆ ที่ต้องให้บุคคลจำนวนมากมารวมตัวกัน กับทั้งให้ปฏิบัติตามคำสั่ง มาตรการ และคำแนะนำของทางราชการอย่างเคร่งครัด